กล้องวงจรปิดราคาถูกที่สุด

กล้องวงจรปิดราคาถูกที่สุด กับลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ (Software Copyright) คือ สิทธิ์ในการใช้งานซอฟต์แวร์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทุกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีการใช้งานต้องมีลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์เสมอ

ประเทศไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 เพื่อใช้บังคับแทน พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 21 มีนาคม 2538 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองต่อโปรแกรมคอมพิวเตอร์

โดยจัดให้ เป็นผลงานทางวรรณกรรมประเภทหนึ่ง โดยมีรายละเอียดดังนี้

“พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ให้ความคุ้มครองงานสร้างสรรค์ 9 ประเภท คือ งานวรรณกรรม นาฏกรรม กรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ และงานอื่นใดในแผนกวรรณคดี

แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์จะได้รับความคุ้มครองทันทีโดยไม่ต้องทําการจดทะเบียน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายถึง คําสั่ง ชุดคําสั่ง

หรือสิ่งอื่นใดที่นําไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทํางาน หรือเพื่อให้ได้รับผลอย่างหนึ่งอย่างใด ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในลักษณะใด

กรณีซอฟต์แวร์ (Software) โปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทวรรณกรรม และได้รับความคุ้มครองโดยทันที่ที่มีการสร้างสรรค์ ผลงานโดยไม่ต้องทําการจดทะเบียนแต่อย่างใด และเจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทําการใดๆ

ดังนี้ คือ ทําซ้ำหรือดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน ให้เช่าต้นฉบับหรือสําเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น”

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

กล้องวงจรปิดราคาถูกที่สุด

ติดตั้งกล้องวงจรปิด

การละเมิดลิขสิทธิ์

การละเมิดลิขสิทธิ์นี้สามารถกระทําได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. การละเมิดลิขสิทธิ์ทางตรง คือ การทําซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ซอฟต์แวร์แก่สาธารณชน รวมทั้งการนําต้นฉบับ หรือสําเนางานดังกล่าวออกให้เช่า โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์

2. การละเมิดลิขสิทธิ์ทางอ้อม คือ การกระทําทางการค้า หรือการกระทําที่มีส่วนสนับสนุนให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวข้างต้น โดยผู้กระทํารู้อยู่แล้ว ว่างานใดได้ทําขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น

แต่ก็ยังกระทํา เพื่อหากําไรจากงานนั้น ได้แก่ การขาย มีไว้เพื่อขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ เสนอให้เช่าซื้อ เผยแพร่ ต่อสาธารณชน แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของลิขสิทธิ์ และนําหรือสั่งเข้ามาใน ราชอาณาจักร

บททําหนดโทษ

สําหรับการกําหนดโทษของผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. การละเมิดลิขสิทธิ์ทางตรง มีโทษปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท หากเป็นการกระทําเพื่อการค้ามีโทษจําคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 4 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 บาท ถึง 800,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

2. การละเมิดลิขสิทธิ์ทางอ้อม มีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาท หากเป็นการกระทําเพื่อการค้ามีโทษจําคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 2 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 บาท ถึง 400,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

ผู้ใดกระทําความผิดต้องระวางโทษตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฉบับนี้ เมื่อพ้นโทษแล้วยังไม่ครบกําหนดห้าปี กระทําความผิดต่อพระราชบัญญัตินี้อีกจะต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่กําหนดไว้สําหรับความผิดนั้น

กรณีที่นิติบุคคลกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่ากรรมการหรือผู้จัดการทุกคนของนิติบุคคลนั้นเป็น ผู้ร่วมกระทําความผิดกับนิติบุคคลนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย

ค่าปรับที่ได้มีการชําระตามคําพิพากษานั้น ครึ่งหนึ่งจะตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ อย่างไรก็ดีการได้รับค่าปรับ ดังกล่าว ไม่กระทบต่อสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายในทางแพ่งสําหรับส่วนที่เกินจํานวนเงินค่าปะ ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ได้รับไว้แล้วนั้น

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

 

แก้ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์โดยใช้รอฟต์แวร์ที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

ซอฟต์แวร์ที่สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

– แชร์แวร์ (Shareware) เป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถใช้งานได้ฟรีภายใต้เงื่อนไขต่างๆ คือ ให้ทดลองใช้ก่อนถ้าผู้ใช้งานถูกใจก็ค่อย จ่ายเงิน แล้วจะได้ใช้งานฟังก์ชันอื่นได้ครบถ้วน ข้อจํากัดของการใช้งานแชร์แวร์ ได้แก่

จํากัดจํานวนครั้งของ การใช้งาน จํากัดระยะเวลาการใช้งาน ใช้ได้บางฟังก์ชันงานเท่านั้น ถ้าต้องการใช้ทั้งหมดก็ต้องซื้อซอฟต์แวร์ ตัวจริงมาใช้ ตามปกติซอฟต์แวร์ลักษณะนี้ราคาไม่แพง

– ฟรีแวร์ (Freeware) เป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้สร้างมีความประสงค์จะให้ใช้งานโปรแกรมที่ตนเองได้พัฒนาขึ้นโดยไม่คิดมูลค่า และทําการ เผยแพร่ให้แก่ผู้ใช้ผ่านทางอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้จะต้องดาวน์โหลดมาจัดเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทําการ ติดตั้งและใช้งานต่อไป แต่ทั้งนี้จะไม่มีการเปิดเผย Source Code ที่ใช้ในการพัฒนา

– โอเพนซอร์ส (Open Source)

เป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถนําไปใช้งาน ศึกษา พัฒนาต่อ และเผยแพร่ได้อย่างเสรีภายใต้เงื่อนไขที่กําหนด เป็นซอฟต์แวร์ที่เปิดเผย Source Code ให้ผู้อื่นนําไปพัฒนาต่อได้ ทําให้เกิดการร่วมมือกันทํางานอย่างไร้พรมแดนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

ปัจจุบันได้มีหลายๆ องค์กรที่พัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นเพื่อให้บุคคลทั่วไปได้ใช้งานโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์กล้องวงจรปิดด้วย เช่น Linux TLE, Pladao Office, Office TLE, Apache, Opera, MySQL, Epi 1 Gimp เป็นต้น

 
 

Related link :  ติดตั้งรั้วไฟฟ้ากันขโมย     ออกแบบติดตั้งสัญญาณกันขโมยไร้สาย

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *