ช่างกล้องวงจรปิด

ช่างกล้องวงจรปิด กับการปฐมพยาบาลเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

ความเสี่ยงในการทำงานในแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน แต่เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นเราควรมีวิธีการการปฐมพยาบาล การให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือผู้ป่วยในชั้นแรก  

ที่ต้องทำในทันทีทันใดหรือในสถานที่เกิดเหตุ   โดยการใช้อุปกรณ์เท่าที่จะหาได้และความรู้ในการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บเพื่อลดอันตรายก่อนที่ผู้บาดเจ็บจะถึงมือแพทย์  หรือขณะที่ไปยังโรงพยาบาล

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

ช่างกล้องวงจรปิด

วัตถุประสงค์ของการปฐมพยาบาล

  1. เพื่อช่วยชีวิต

  2. เพื่อลดความรุนแรงของการบาดเจ็บ  หรือเจ็บป่วย

  3. เพื่อลดความเจ็บปวด

  4. เพื่อป้องกันความมพิการที่จะเกิดขึ้น

หลักปฏิบัติโดยทั่วไป

  1.  หาสถานที่ที่เหมาะสมและมีอากาศถ่ายเทได้สะดวกบริเวณใกล้  ๆ  ที่เกิดเหตุ  และห้ามบุคคลอื่นอย่าให้มามุงดู

  2. ผู้บาดเจ็บยังมีสติพูดได้อยู่   ให้สอบถามอาการและสาเหตุ หรือถามจากผู้พบเห็นเหตุการณ์   ควรตรวจดูให้แน่ว่าได้รับอาการบาดเจ็บมากน้อยเพียงใด

  3. เมื่อรู้ตำแหน่งบาดแผลของผู้บาดเจ็บแล้วให้รีบแก้ไขอาการที่หนักและเป็นอันตรายต่อชีวิตมากที่สุดก่อนอื่น

  4. ห้ามทำการเคลื่อนย้ายผู้ที่ได้รับบาดเจ็บสาหัส   นอกจากจำเป็นต้องทำเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเพิ่มอีก    การเคลื่อนย้ายผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสให้ใช้วิธีการเคลื่อย้ายผู้ป่วยให้เหมาะสมกับลักษณะอาการ

  5. ห้ามให้น้ำหรือเครื่องดื่มอื่นใดแก่ผู้ได้รับการบาดเจ็บที่ยังไม่รู้สึกตัว   หรือรู้สึกตัวบ้างเล็กน้อย

  6. พยายามทำให้ผู้บาดเจ็บสบายที่สุดเท่าที่จะทำได้    ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย  และให้กำลังใจแก่ผู้บาดเเจ็บ   อย่าพูดถึงความร้ายแรงของบาดแผลหรือเหตุที่เกิดขึ้น

  7. รีบหายานพาหนะนำผู้ที่ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

 

กรณีที่เป็นลมหมดสติ

 โดยการรีบนำตัวผู้ป่วยออกมาจากสถานที่อับอากาศโดยเร็ว   และทำการปฐมพยาบาลตามขั้นตอนและชนิดของการเป็นลมหมดสติดังนี้

 การเป็นลมหน้าซีด   อาจเกิดจาก

  • เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ
  • สมองถูกกระทบกระเทือน
  • ทำงานหนักเกินไป
  • หิวจัด
  • ร้อนจัด
  • อ่อนเพลียจากโรคอื่น   ๆ
  • ตกใจมาก

การให้ความช่วยเหลือ

  • ให้นำผู้ป่วยพาเข้าร่ม  และอย่าให้มีคนมุง
  • ให้นอนราบ  และยกเท้าให้สูง
  • คลายเสื้อผ้าของผู้ป่วยออกให้หลวม
  • พักให้เย็น  หรืออาจช่วยเช็ดตัวด้วยน้ำแข็ง
  • ให้ดมยาแอมโมเนีย  หรือให้ดื่มน้ำเย็นถ้าเกิดจากความร้อนให้ดื่มน้ำที่ผสมเกลือ
  • ถ้าผู้ป่วยมีอาการอาเจียนด้วยต้องรีบคอยเช็ด
  • ถ้าผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวให้จับนอนตะแคงศรีษะเงยหน้าไปข้างหลังเล็กน้อย
  • ถ้าผู้ป่วยไม่หายใจให้ช่วยทำการหายใจได้ทันที
  • รีบนำตัวผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที

กล้องวงจรปิดในทีทำงาน

ผู้ป่วยเป็นลมหน้าเขียวคล้ำ   เกิดจาก

  • อากาศหายใจไม่เพียงพอ
  • โรคลมบ้าหมู
  • ทางเดินหายใจถูกอุดตัน  จากสิ่งของเข้าไปอุด   สำลักอาหาร

             อาการของผู้ป่วยจะมีอาการแน่นหน้าอก ไอ  หายใจหอบถี่แรง  เหงื่อออกมาก   ผิวหนัง  ริมฝีปาก  เล็บมือเป็นสีคล้ำ  หายใจมีเสียงครืดคราด

การให้ความช่วยเหลือ

  • ให้ผู้ป่วยนอนราบ
  • คลายเสื้อผ้าของผู้ป่วยให้หลวม
  • อย่าให้คนมุง
  • ตามแพทย์และรถพยาบาลด่วน

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

 

กรณีที่ผู้บาดเจ็บมีเลือดออก

                 เมื่อผู้บาดเจ็บได้รับอันตรายจากการเสียเลือดนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนเลือดที่เสียไป   และระยะเวลา    ถ้าออกมากและเร็วก็อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้อย่างรวดเร็ว

อาการของการเสียเลือด

               ถ้ามีเลือดออกเพียงเล็กน้อยอาจไม่มีอาการใดๆ เลย แต่ถ้าเลือดออกมากจะมีอาการตามลำดับ   ดังนี้

  • เวียนศรีษะ
  • เหนื่อย
  • กระหายน้ำ
  • ซีด
  • กระวนกระวาย
  • เหงื่อออก   ตัวเย็น ซึ่งอาการเหล่านี้แสดงว่าผู้ป่วยช็อค
  • หายใจหอบ      ซึ่งอาการเหล่านี้แสดงว่าผู้ป่วยช็อค
  • คลื่นไส้  อาเจียน    ซึ่งอาการเหล่านี้แสดงว่าผู้ป่วยช็อค
  • ชีพจรเบา  เร็วหรือคลำหาชีพจรไม่ได้    อาการเหล่านี้แสดงว่าผู้ป่วยช็อค

การให้ความช่วยเหลือ

                ถ้าผู้บาดเจ็บมีเลือดออกมากและเร็ว  จำเป็นต้องให้การช่วยเหลือทนที โดยให้ผู้ป่วยนอนราบ

การปฐมพยาบาลบาดแผล  ชนิดของบาดแผล

  • แผลถูกแทงที่ท้อง
  • แผลถูกแทงที่หน้าอก
  • บาดแผลมีวัสดุปักคา
  • บาดแผลถูกยิง
  • บาดแผลที่อวัยวะส่วนปลายถูกตัดขาด

หลักการปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บที่ถูกแทง

  • ถ้ามีวัสดุหักคาอยู่  ห้ามดึงออกเด็ดขาก
  • ให้ผู้บาดเจ็บงดน้ำ  งดอาหาร
  • ถ้ามีอวัยวะภายในโผล่ออกมา   ห้ามจับใส่เข้าไป  ให้ใช้ผ้าสะอาดปิดแผลไว้
  • ให้รีบนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลทันที

บาดแผลที่มีอวัยวะส่วนปลายถูกตัดขาด

  • ให้ทำการห้ามเลือด  ตามหลักการห้ามเลือด
  • เก็บชิ้นส่วนที่ถูกตัดขาด  ตามวิธี  เช่น  กด  และยกส่วนที่บาดเจ็บให้สูงขึ้น,  นำอวัยวะที่ถูกตัดขาด ใส่ถุงพลาสติกที่แห้งและสะอาด 

    ปิดปากถุงพลาสติกให้แน่นแล้วนำถุงพลาสติกแช่ลงในน้ำแข็งหรือน้ำเย็น, ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว  พร้อมอวัยวะที่ขาด

 การห้ามเลือด

  • ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของตนเอง  เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • ใช้ผ้าสะอาดพับหนาๆ กดบนบาดแผล
  • ใช้ผ้ายืดพันทับบนผ้าที่กดบาดแผลไว้
  • ถ้าเลือดออกมาก ให้ใช้มือกดบนบาดแผล แล้วยกส่วนนั้นให้สูงเหนือระดับหัว
  • ระวังอากาช็อค จากการเสียเลือด

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

 

การปฐมพยาบาลจากแผลไหม้และน้ำร้อนลวก

  • สาเหตุของการเสียชีวิตจากแผลไหม้นั้นเกิดจากทางเดินหายใจได้รับอันตราย, เสียน้ำ และน้ำเหลืองจำนวนมาก, ช็อค จากการเสียน้ำและของเหลว, เกิดจากการติดเชื้อ

  • ต้องหยุดยั้งความร้อน

  • การดับไฟโดยการใช้น้ำราด หรือใช้ผ้าหนาๆ  ชุบน้ำคลุมตัว

  • ถอดเสื้อผ้าที่ไหม้ไฟ  หรือถูกน้ำร้อนลวก พร้อมทั้งเครื่องประดับออกจากร่างกายและสำรวจผู้ป่วยตามวิธีการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน, ถ้ามีบาดแผลเลือดออก ต้องห้ามเลือด, ถ้ามีกระดูกหัดต้องเข้าเฝือก

แผลไหม้จากสารเคมี

  • สารเคมีที่เป็นน้ำหกรดราดผิวหนังหรือลำตัว ให้ใช้น้ำล้าง โดยตักราด  หรือเปิดให้น้ำไหลผ่านตัว นาน 10 นาที,  ถอดเสื้อผ้าเครื่องประดับที่เปื้อนสารเคมีออกให้หมด, 

    ตรวจดูร่างกายทั่วไปเกี่ยวกับการหายใจ  หรือบาดแผลอื่นๆ  ถ้ามีความผิดปกติต้องรีบให้การช่วยเหลือทีนที,  และรีบนำส่งโรงพยาบาลสำหรับผู้ที่มีอาการบาดเจ็บสาหัส

  • สารเคมีที่เป็นผง ให้ปัดสารเคมีออกจากเสื้อผ้าให้หมดก่อน,  ล้างออกด้วยน้ำ,  ผู้ช่วยเหลือต้องระวังไม่ให้สัมผัสกับสารเคมีนั้นด้วย

ข้อควรพึงระวังในการดูแลแผลไหม่

             สิ่งที่ควรปฏิบัติ  

  • ใช้ความเย็นจากน้ำ  นำมาระบายความร้อน ,  ปิดด้วยผ้าแห้งและสะอาด ,  ดูแลไม่ให้เกิดภาวะช็อค

             สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติ    

  • ห้ามใช้น้ำแข็ง   หรือน้ำที่เย็นจัดนำมาประคบ
  • ห้ามใช้สิ่งต่าง  ๆ  ปิดแผล  ยกเว้นผ้าสะอาด
  • ห้ามดึงชิ้นส่วนของเสื่อผ้าที่ติดหนังออก
  • ห้ามระบายความร้อนแผลไหม้ที่ลึกกว่า  ชั้นผิวหนัง
  • ห้ามเจาะถุงน้ำ
  • ห้ามใช้ขี้ผึ้ง  ครีม  ที่ทำให้เกิดความร้อน

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

 

สารเคมีเข้าตา  ควรปฏิบัติดังนี้

  • ล้างตาด้วยน้ำสะอาด  นานประมาณ  20  นาที
  • ระวังอย่าให้น้ำกระเด็นเข้าตาอีกข้างหนึ่ง
  • ปิดตาด้วยผ้าสะอาด
  • รีบนำส่งโรงพยาบาล

สิ่งแปลกปลอมเข้าตา

  • ห้ามขยี้ตา
  • เปิดเปลือกตา  เขี่ยผงออก
  • ถ้าผงไม่ออก  ลืมตาในน้ำกรอกตาไปมา
  • ถ้ายังไม่ออกให้รีบไปพบแพทย์

สิ่งแปลกปลอมเข้าหู

  • ถ้าเป็นแมลงเข้าหู    ให้หยอดด้วยน้ำมันมะกอก
  • วัตถุเข้าหู    ให้ตะแคงหูข้างนั้นลง   ถ้าไม่ออกให้รีบไปพบแพทย์

ภาวะช็อคจะมีอาการ

  • เหงื่อออก
  • ตัวเย็น
  • กระสับกระส่าย
  • หายใจเร็ว
  • ชีพจรเบาและเร็ว
  • ไม่รู้สึกตัว   และเสียชีวิต

การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและกระดูก

  • ข้อเคล็ด  จะมีอาการ เจ็บปวดมาก  บวม และร้อน  อาจมีเลือดออกบริเวณข้อ  เคลื่อนไหวไม่ถนัด  หากมีอาการชาบริเวณข้อเคล็ด   แสดงว่าเส้นประสารที่การฉีกขาด

การปฐมพยาบาล       

              พักข้อนิ่งๆ  ยกมือ  หรือเท้าขึ้นสูง   หรือใช้ผ้าคล้องแขนไว้  ประคบเย็น  24      ชั่วโมง  หลังจากนั้น ให้ประคบร้อน พันด้วยผ้ายืด  ภายใน 7 วัน ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้รีบไปพบแพทย์

  • ข้อเคลื่อน  จะมีอาการ  ปวด  บวม  บริเวณข้อ   เคลื่อนไหวไม่ได้

ช่างติดตั้งกล้องวงจรปิด

การปฐมพยาบาล

               พักข้อนิ่งๆ ประคบเย็น ใช้ผ้าพัน  หรือเข้าเฝือกชั่วคราว  นำส่งโรงพยาบาล   พร้อมงดน้ำ  งดอาหาร 

  • กระดูกหัก  จะมีอาการ  ปวด  บวม  ร้อน  บริเวณที่หัก   ถ้าจับกระดูกนั้นจะโยก  หรือบิดเล็กน้อย  จะมีเสียงดังกรอบแกรบ  การเคลื่อนไหวผิดปกติ  รูปร่างของกระดูกผิดปกติ  อาจมีบาดแผลและพบปลายกระดูกโผล่ออกมา

การปฐมพยาบาล

             จัดกระดูกที่หักให้อยู่กับที่   หากมีกระดูกโผล่ออกมา   ห้ามดันกลับ   ให้ห้ามเลือดและปิดแผลไว้   ถอดเสื้อผ้าผู้บาดเจ็บ   โดยวิธีการใช้กรรไกรตัด   การหักของกระดูกชิ้นสำคัญ   เช่น   กระดูกเชิงกราน   กระดูกสันหลัง   ต้องการการรักษาที่ถูกต้อง

การเข้าเฝือก

                  การใช้วัสดุต่างๆ  พยุง หรือห่อหุ้มอวัยวะส่วนที่กระดูกหักให้อยู่นิ่ง  เฝือกมี   3  ชนิด  คือ  เฝือกจริงหรือถาวร  เฝือกชั่วคราว  เฝือกธรรมชาติ    แต่ในการปฐมพยาบาลจะให้ใช้เฝือกชั่วคราว

การเข้าเฝือกชั่วคราว

                 วัสดุที่ใช้ดาม  ต้องยาวกว่าอวัยวะส่วนที่หัก ไม่วางเฝือกลงบนบริเวณที่กระดูกหักโดยตรง  ควรมีสิ่งอื่นรองรับ มัดเฝือกกับอวัยวะที่หักให้แน่นพอควร

กระดูกปลายแขนหัก

               การปฐมพยาบาล ให้ใช้เฝือกยาวตั้งแต่ปลายนิ้วถึงข้อศอก  พันด้วยเชือกหรือผ้าให้กระชับ ใช้ผ้าคล้องคอห้อยแขน

กระดูกต้นแขน  หรือไหปลาร้าหัก

                การปฐมพยาบาล ให้ใช้ผ้าคล้องแจนแล้วผูกกับคอ  พันรัดแขนที่หักให้ติดกับลำตัวด้วยผ้าอีกผืนตามแขนในแนวตรง

กระดูกท่อนขาล่างหัก

                การปฐมพยาบาล  ดามด้วยเฝือก  2 อันยาวตั้งแต่ส้นเท้าถึงเหนือเข่าใช้ผ้าผูกติดกันเป็นเปราะๆ  จัดปลายเท้าตั้งฉากเสมอ   อย่าให้ผ้าที่รัดแน่นจนเกินไป

กระดูกต้นขาหัก

               การปฐมพยาบาล  ดามด้วยเฝือก 2  อัน  อันแรกยาวตั้งแต่ส้นเท้าถึงใต้รักแร้   อีกอันยาวตั้งแต่ส้นเท้าถึงโคนขา ใช้ผ้าผูกติดกัน  หากมีบาดแผลให้ปิดแผลห้ามเลือดก่อนเข้าเฝือก 

กระดูกเชิงกรานหัก

                  การปฐมพยาบาล  อย่าให้บริเวณกระดูกเชิงกรานเคลื่อนไหว  ผูกขา 2  ข้างติดกัน โดยสอดผ้าไว้ใต้สะโพก  และเชิงกราน   และผูกปมตรงกลาง  วางผ้าระหว่าง  ขา  2  ข้าง  ผูกติดกันด้วยผ้าสามเหลี่ยม และผูกผ้ารอบเข่า 2   ข้าง

กระดูกสันหลังหัก

               การปฐมพยาบาล   การเคลื่อนย้ายต้องทำด้วยความระมัดระวัง ไม่เคลื่อนย้ายผู้ป่วยเอง  แจ้งขอความช่วยเหลือจากหน่วยแพทย์  หรือผู้ที่มีความรู้   หากจำเป็นต้องเคลื่อนย้าย ให้ดามคอและหลังก่อน

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

 

             การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างถูกวิธี

  1. ดูว่าสถานการณ์รอบข้างปลอดภัยหรือไม่
  2. ตรวจสอบจำนวนผู้บาดเจ็บที่ต้องการให้การช่วยเหลือ  และกำลังของผู้ช่วยเหลือ
  3. ขอความช่วยเหลือ   หากผู้ช้วยเหลือไม่เพียงพอ
  4. ถ้ามีบาดแผล  ต้องห้ามเลือดก่อน
  5. ขณะเคลื่อนย้าย   ต้องตรึงผู้ป่วยให้แน่น
  6. ต้องรู้จุดหมายปลายทางที่จะยกผู้ป่วยไป

หลักการเมื่อเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

  • อย่าเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยไม่จำเป็น
  • ห้ามเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง
  • ห้ามเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยยังไม่ได้แก้ไขส่วนที่บาดเจ็บ
  • ห้ามทิ้งผู้ป่วยที่หมดสติอยู่ตามลำพัง
  • ห้ามทำให้ผู้ป่วยบาดเจ็บมากขึ้น
  • ห้ามทำในสิ่งที่ไม่รู้   หรือไม่แน่ใจ

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

 

การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บเล็กน้อย  และ/หรือ  ไม่รู้สึกตัว

                ผู้ช่วยเหลือมี 1 คน ให้ใช้ในท่าประคองเดินใช้สำหรับผู้ป่วยที่รู้สึกตัวดี  และช่วยเหลือตนเองได้ ไม่มีกระดูกหัก และผู้ป่วยตัวพอๆ  กับผู้ช่วยเหลือ 

ส่วนการอุ้ม ใช้สำหรับผู้ป่วยตัวเล็กกว่าผู้ช่วยเหลือมากๆ   และไม่มีกระดูกหัก  แต่ถ้าผู้ป่วยตัวใหญ่และไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ อาจใช้วิธียกโดยคนหลายๆ  คน

               ผู้ช่วยเหลือมี  2  คน  การประคองเดิน ใช้สำหรับผู้ป่วยที่พอช่วยเหลือตนเองได้   ไม่มีกระดูกหัก  กรณีที่ผู้ป่วยตัวใหญ่มาก  อุ้มคนเดียวไม่ไหวและไม่มีกระดูกหัก 

การอุ้มคนละข้างของผู้ป่วย  สำหรับผู้ป่วยที่รู้สึกตัวดีให้ผู้ป่วยโอบบ่าของผู้ช่วยเหลือทั้งสอง  การอุ้มคนหนึ่งอยู่ด้านหน้า  อีกคนอยู่ด้านหลัง โดยต้องพยุงผู้ป่วยขึ้นมาอยู่ในท่านั่ง 

ผู้ช่วยคนที่  1  ประคองด้านหลังของผู้ป่วย   ด้านหน้า  ผู้ช่วยอีกคนสอดแขนข้างใต้ข้อพับเข่าและลุกขึ้นพร้อมกัน

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังหัก

  • จัดผู้ป่วยนอนราบบนไม้กระดานแผ่นเดียว
  • ขณะยกผู้ป่วยต้องยกให้ตัวตรงเป็นท่อนไม้
  • มัดตัวผู้ป่วยติดกับกระดานไม่ให้แน่น
  • ยึดศรีษะไม่ให้เคลื่อนไหว โดยนำวัสดุที่แข็ง  2  ชิ้นมาประกอบที่ศรีษะทั้ง  2  ข้าง

การช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยอันตรายช่วยออกมานั้นหมดสติไม่รู้สึกตัว

               การปฐมพยาบาล  ทำการช่วยเหลือผู้ประสบอันตรายมาได้แล้ว  หากปรากฏว่าผู้เคราะห์ร้ายที่ช่วยออกมาหมดสติไม่รู้สึกตัว   หัวใจหยุดเต้นและไม่หายใจโดยสังเกตได้จากอาการที่เกิดขึ้น 

ริมฝีปากเขียว  สีหน้าซีดและเขียวคล้ำ  ทรวงอกเคลื่อนไหวน้อยมาก  หรือไม่เคลื่อนไหว  ชีพจรบริเวณคอเต้นช้าและเบามาก ถ้าหัวใจหยุดเต้นและคำชีพจรไม่พบ  

ม่านตาขยายค้างไม่หดเล็กลง  หมดสติไม่รู้สึกตัว ต้องรีบทำการปฐมพยาบาลทันที  เพื่อให้ปอดและหัวใจทำงาน

                การปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน  การช่วยเหลืออย่างรีบด่วนในภาวะฉุกเฉินทั้งระบบหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิตโดยไม่อาศัยเครื่องมือใดๆ  

การปฏิบัติการช่วยชีวิต มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือ และสามารถลดอัตราการตายของผู้บาดเจ็บได้ ถ้าทำอย่างถูกต้องและทันท่วงที

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

 

               อาการของผู้บาดเจ็บที่ต้องช่วยโดยการทำ CPR อาการที่ผู้บาดเจ็บไม่รู้สึกตัว    ไม่หายใจ หรือหัวใจหยุดเต้น

หลักการปฏิบัติการช่วยชีวิต

  1. เปิดทางเดินหายใจ
  2. ช่วยการหายใจ
  3. ช่วยการไหลเวียนโลหิต

ขั้นตอนการปฏิบัติการช่วยชีวิต

  • ประเมินความรู้สึกตัว โดยการเรียก  ปลุก  และเขย่าตัว
  • ขอความช่วยเหลือ  ถ้าไม่มีการตอบสนอง   ถ้าในผู้ใหญ่  ควรโทรศัพท์ขอความช่วยเหลือก่อนเพราะสิ่งที่ต้องการเพื่อช่วยชีวิตคือ   เครื่องกระตุ้นหัวใจ
  • เปิดทางเดินหายใจ โดยใช้สันมือกดหน้าผาก  และ  2  นิ้วเชยขากรรไกรขึ้นให้หน้าแหงน   วิธีการนี้ใช้ได้กับผู้ได้รับบาดเจ็บทุกกรณี
  • ตรวจการหายใจ  เพื่อดูว่ามีการหายใจปกติหรือไม่ โดยใช้  ตาดู  หูฟัง  แก้มสัมผัส
  • ช่วยหายใจ  ถ้าไม่หายใจ  ให้การช่วยหายใจโดยการเป่าปาก  2  ครั้ง    การเป่าปากต้องเห็นทรวงอกกระเพื่อมขึ้นทุกครั้ง  ถ้าไม่กระเพื่อมขึ้นในการเป่าปากครั้งที่  1  ให้แก้ไขโดยการเปิดทางเดินหายใจใหม่แล้วจึงเป่าปากครั้งที่  2
  • ช่วยการไหลเวียนโลหิต  กดหน้าอก ตำแหน่งวางมือ  เหนือกระดูกลิ้นปี่  2  นิ้วมือ   ส่งที่ใช้กด  สันทือ  2  ข้างซ้อนกัน  จำนวนครั้งที่ใช้กด  30  ครั้ง   ความลึกของแรงกด  1.5  –  2  นิ้วฟุต   ความเร็วในการกด   100  ครั้ง/นาที

สิ่งที่แสดงว่าการช่วยชีวิตได้ผล

  1. เริ่มรู้สึกตัว  ส่ายหน้า  ขยับแขน  ขา
  2. มีการหายใจ
  3. เริ่มมีการกลืน  การไอ
  4. สีผิวหนังเปลี่ยนแปลงดีขึ้น

ผู้ช่วยเหลือจะหยุดทำการช่วยชีวิต  เมื่อ

  1. เมื่อผู้บาดเจ็บมีการหายใจและมีชีพจร
  2. เมื่อมีบุคลากรทางการแพทย์มารับช่วงต่อ

 

Related link : สัญญาณกันขโมย    รั้วไฟฟ้ากันขโมยราคาถูก

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *