กล้องวงจรปิดติดตั้งเอง

กล้องวงจรปิดติดตั้งเอง กับบทบาทผู้ควบคุมงาน

ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในที่อับอากาศ

  • นายจ้าง   ผู้ประกอบกิจการหรือดำเนินธุรกิจเป็นบุคคลแรกที่มีหน้าที่เพื่อสร้างความมั่นใจให้พนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้องทำงานอย่างปลอดภัยในที่อับอากาศและไม่สัมผัสกับปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอันตราย

  • ผู้ออกแบบ  ผู้ผลิต  ผู้จำหน่าย  เจ้าของโรงงาน  ผู้ก่อสร้างที่อับอากาศ   ปัจจัยแรกที่จะต้องคำนึงถึงในการออกแบบโครงสร้างที่อับอากาศ 

    การยึดหลักการทำงานโดยการหลีกเลี่ยงการเข้าไปในที่อับอากาศ  การคำนึงถึงวิธีการกำจัดปัจจัยเสี่ยงในการเข้าไปทำงานในที่อับอากาศ 

    ต้องมั่นใจถึงความปลอดภัยในการเข้าออกจากที่อับอากาศและการลดความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้ทำงานและคนอื่นๆ  ที่เกี่ยวข้องที่เข้าไปในที่อับอากาศ

  • เจ้าหน้าที่ระดับบริหาร  มีหน้าที่ในการจัดการให้มีการฝึกซ้อมที่เพียงพอและเหมาะสมเพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรมีการทำตามกฏหมาย 

    รวมทั้งมีการเตรียมทรัพยากรและกระบวนการที่จำเป็นและเหมาะสมในการกำจัดและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเข้าไปทำงานในที่อับอากาศ

  • ลูกจ้างที่ทำงานจะต้องใส่ใจในสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของตนเอง และใส่ใจในงานที่ทำต้องไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองและคนอื่นๆ  

    ต้องทำตามคำแนะนำที่เกี่ยวข้องในการเข้าไปทำงานในที่อับอากาศ ในการทำงานแต่ละครั้งจะต้องมีผู้ที่ทำงานไม่น้อยกว่า 4  คน ในที่อับอากาศ 

    และจะต้องทำหน้าที่ในตำแหน่งที่กำหนด  ผู้อนุญาต   ผู้ควบคุมงาน  ผู้ช่วยเหลือ  และผู้ที่ทำงานในที่อับอากาศ

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

กล้องวงจรปิดติดตั้งเอง

Hikvision cctv

                    ในการบริหารและจักการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม   กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน ในการทำงานในที่อับอากาศ   กำหนดบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการทำงานไว้ดังนี้

  • ผู้ปฏิบัติงาน  ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหรือบุคคลใดเข้าไปในที่อับอากาศ   เว้นแต่นายจ้างได้ดำเนินการให้มีความปลอดภัยตามกฎกระทรวงนี้แล้ว 

    และลูกจ้างหรือบุคคลนั้นได้รับอนุญาตจากผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาตและเป็นผู้ผ่านการอบรม

  • ผู้ควบคุมงาน   นายจ้างที่ให้ลูกจ้างทำงานในที่อับอากาศจะต้องแต่งตั้งลูกจ้างที่มีความรู้ความสามารถและได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ   ให้เป็นผู้ควบคุมงานตามความจำเป็นเพื่อทำหน้าที่  

  • ผู้ช่วยเหลือ   พร้อมมทั้งอุปกรณ์การช่วยเหลือและช่วยชีวิตที่เหมาะสมกับลักษณะงาน  คอยเฝ้าดูแลบริเวณทางเข้าออกที่อับอากาศให้สามารถติดต่อสื่อสารกับผู้ที่ทำงานในที่อับอากาศได้ตลอดเวลา   

  •  ผู้อนุญาต  ผู้ทำหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาตให้ลูกจ้าทำงานในที่อับอากาศ  มอบหมายเป็นหนังสือให้ลูกจ้างซึ่งได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัยทำงานในที่อับอากาศตามความจำเป็นเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาตแทนก็ได้

                    ในการบริหารการจัดการด้านความปลอดภัย   อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ   ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานและได้กำหนดบทาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของนายจ้างไว้  ดังนี้

  • จัดให้มีการตรวจวัด  บันทึกผลการตรวจวัด  และประเมินสภาพอากาศในที่อับอากาศว่ามีบรรยากาศอันตรายหรือไม่ ให้ดำเนินการทั้งก่อนให้ลูกจ้างเข้าไปทำงานและในระหว่างที่ทำงานในที่อับอากาศ

  • ถ้าตรวจบพบบรรยากาศอันตรายให้นายจ้างนำลูกจ้างและคนอื่นออกจากบริเวณที่อันอากาศนั้นทันที  ประเมินและค้นหาว่าบรรยากาศอันตรายเกิดจากสาเหตุใด  ดำเนินการเพื่อทำให้สภาพอากาศในที่อับอากาศนั้นไม่มีบรรยากาศอันตราย

  • จัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล   อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตที่เหมาะสมกับลักษณะงานและดูแลให้มีการสวมใส่หรือใช้อุปกรณ์

  • จัดเก็บบันทึกผลการตรวจวัด  การประเมินสภาพอากาศ  และการดำเนินการเพื่อให้สภาพอากาศในที่อับอากาศไม่มีบรรยากาศอันตรายพร้อมที่จะให้พนักงานตรวจสอบได้

  • ปิดสำเนาหนังสืออนุญาตที่บริเวณทางเข้าที่อับอากาศให้เห็นชัดเจนตลอดเวลาที่มีผู้ทำงาน

  • จัดให้ลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ   ได้รับการฝึกอบรมก่อนที่เข้าปฏิบัติหน้าที่

  • จัดให้มีสิ่งปิดกั้นมิให้บุคคลใดเข้าไปหรือตกลงไปในที่อับอากาศที่มีลักษณะเป็นช่อง  โพรง  หลุม  ถังเปิด  หรือมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน

  • ปิดกั้นหรือกระทำโดยวิธีการอื่นใดที่มีผลในการป้องกันมิให้พลังงานสารหรือสิ่งที่เป็นอันตรายเข้าบริเวณที่อับอากาศในระหว่างที่ลูกจ้างกำลังปฏิบัติงาน

  • จัดบริเวณทางเดินหรือทางเข้าออกที่อับอากาศให้มีความสะดวกและปลอดภัย

  • ปิดประกาศไว้ทางเข้าออกที่อับอากาศ   ห้ามผู้ปฏิบัติงานสูบบุหรี่   หรือพกพาอุปกรณ์สำหรับจุดไฟหรือที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานเข้าไปในที่อับอากาศ

  • จัดให้มีอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เหมาะสมในการใช้งานในที่อับอากาศ   และตรสจสอบให้มีสภาพสมบูรณ์และปลอดภัยพร้อมใช้งาน

  • ที่อับอากาศมีบรรยากาศที่ไวไฟหรือระเบิดได้  อุปกรณ์ไฟฟ้าต้องเป็นชนิดที่ป้องกันไม่ให้ติดไฟหรือระเบิดได้

  • การทำงานที่อาจก่อให้เกิดการลุกไหม้  ต้องจัดเครื่องดับเพลิงที่มาประสิทธิภาพและเพียงพอที่จะใช้ได้ทันที

  • ห้ามให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานที่ก่อให้เกิดความร้อนหรือมีประกายไฟที่อับอากาศ    เว้นแต่จะได้จัดให้มีมาตรการความปลอดภัยที่เหมาะสม

  • ห้ามให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานที่ใช้สารระเหยง่าย สารพิษ  สารไวไฟในที่อับอากาศ   เว้นแต่จะได้จัดให้มีมาตรการความปลอดภัยที่เหมาะสม

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

ผู้มีหน้าที่อนุญาต

                    การกำหนดมาตรฐานของกฎกระทรวงในการบบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ 

กำหนดให้นายจ้างเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบการอนุญาตให้ลูกจ้างเข้าทำงานในที่อับอากาศ ในการนี้นายจ้างจะมอบหมายเป็นหนังสือให้ลูกจ้าง 

ซึ่งได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ  เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบการอนุญาตแทนก็ได้

คุณสมบัติของผู้อนุญาต

  1. ผู้ที่ทำงานได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัยในที่ทำงานที่อับอากาศ

  2. ผู้ที่ได้รับการมอบหมายเป็นหนังสือให้มีอำนาจในการพิจารณาออกใบอนุญาตในการทำงานในที่อับอากาศ

  3. จะต้องรู้อันตราย  รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับการเข้าสู่ร่างกายของสารพิษ    อาการ   และอาการแสดงและผลกระทบต่อร่างกายที่เกิดขึ้นเมื่อมีการสัมผัสสาร   อันตรายระหว่างการทำงานในที่อับอากาศ

  4. จะต้องรู้ข้อมูลตามรายการในหนังสืออนุญาต

หน้าที่ของผู้อนุญาต

  1. ผู้พิจารณาร่วมกับผู้ขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศเพื่อวางแผนการปฏิบัติงานและกำหนดมาตรการป้องกันอันตราย

  2. ผู้เตรียมการในการตัดแยกระบบทุกระบบที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในที่อับอากาศ

  3. รับผิดชอบในการสื่อสารไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในองค์กรรับทราบถึงการทำงาน

  4. ต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่ามีการเตรียมการทำงานให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในหนังสืออนุญาต    ก่อนที่จะเซ็นอนุญาตให้เข้าทำงาน

  5. ต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่าผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องที่ทำงานในที่อับอากาศได้ทำตามมาตรการด้านความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด

  6. ตรวจสอบความเรียบร้อยของพื้นที่ทำงานภายหลังงานเสร็จสมบูรณ์

  7. ผู้เซ็นอนุมัติการสิ้นสุดการทำงานในพื้นที่อับอากาศที่กำหนดไว้ในหนังสืออนุญาต

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

 

ผู้มีหน้าที่ควบคุมงาน   

                    นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในที่อับอากาศให้นายจ้างแต่งตั้งลูกจ้างที่มีความรู้ความสามารถและได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ   ให้เป็นผู้ควบคุมงานตามความจำเป็นเพื่อทำหน้าที่จะคนหนึ่งหรือหลายคน

ตามกฎกระทรวงผู้ควบคุมงาน      คือ

  1. ลูกจ้างที่นายจ้างแต่งตั้งให้ทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมงาน

  2. ลูกจ้างที่มีความรู้ความสามารถและได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ

                      พนักงานในระดับหัวหน้างานหรือพนักงานที่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาให้เป็นผู้ที่มีหน้าที่ในการ  “ขออนุญาตทำงาน”  ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถเพื่อเข้าทำงานในที่อับอากาศ   

การทำหน้าที่ประสานงานกับเจ้าของพื้นที่หรือผู้อนุญาต    เมื่อได้รับอนุญาตแล้วผู้ควบคุมงานจะต้องอยู่ในพื้นที่ทำงานในที่อับอากาศตลอดเวลา    

เพื่อทำหน้าที่ในการควบคุมและการทำงานจนกว่างานจะแล้วเสร็จ    และมีอำนาจตัดสินใจเมื่อมีสถานการณ์ต่าง  ๆ   เกิดขึ้น

                    การกำหนดมาตรฐานตามกฎกระทรวงในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย    อาชีวอนามัย   และสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศได้

กำหนดบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ควบคุมงาน      นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในที่อับอากาศจะต้องแต่งตั้งลูกจ้างที่มีความรู้ความสามารถและได้รับ

 

กล้องวงจรปิดในทีทำงาน

การฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานได้เป็นผู้ควบคุมตามความจำเป็นเพื่อทำหหน้าที่   ดังนี้

  1. วางแผนการทำงานและการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานและปิดประกาศหรือแจ้งให้ลูกจ้างรู้กเป็นลายลักษณ์อักษร

  2. ชี้แจงและซักซ้อมหน้าที่ความรับผิดชอบ  วิธีการทำงานและวิธีการป้องกันอันตรายให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้

  3. ควบคุมดูแลให้ลูกจ้างใช้เครื่องป้องกันอันตรายและอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและให้ตรวจตราอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

  4. สั่งให้หยุดทำงานไว้ชั่วคราว  ถ้ามีเหตุซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อลูกจ้างจนกว่าอันตรายนั้นจะหมดไป   และหากจำเป็นขอให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาตยกเลิกการอนุญาตนั้นเสียก็ได้

คุณสมบัติอื่นๆ  ที่จำเป็นสำหรับผู้ควบคุมงานได้แก่

  1. มีสุขภาพดี ไม่เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรคหัวใจ หรือโรคอื่นใดที่ซึ่งแพทย์เห็นว่าการเข้าไปในที่อับอากาศอาจเป็นอันตราย  ห้ามนายจ้างอนุญาตให้ลูกจ้างหรือผู้อื่นเข้าไปในที่อับอากาศถ้าคนเหล่านั้นเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ

  2. ผู้ทำงานที่ได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัยในที่ทำงานอับอากาศ   นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในที่อับอากาศให้นายจ้างแต่งตั้งลูกจ้างที่มีความรู้ความสามารถและได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานให้เป็นผู้ควบคุมงานหนึ่งคนหรือหลายคนตามความจำเป็น

  3. ต้องรู้ถึงอันตราย   รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับการเข้าสู่ร่างกายของสารพิษ  อาการ  และอาการแสดงและผลกระทบต่อร่างกายที่เกิดขึ้นเมื่อมีการสัมผัสสาร  อันตรายระหว่างการทำงานในที่อับอากาศ

  4. ต้องตรวจสอบแผนฉุกเฉิน   สภาพการณ์เข้าไปทำงานในที่อับอากาศ   การอนุญาต  การตรวจวัด  บรรยากาศ  ขั้นตอนการทำงาน   และอุปกรณ์เครื่องมือก่อนเข้าไปทำงานในที่อับอากาศ

  5. มีความสามารถในการใช้เครื่องตรวจวัด    และประเมินบรรยากาศอันตราย

  6. ยุติการเข้าไปทำงานในที่อับอากาศและยกเลิกการอนุญาตให้เข้าไปทำงานในที่อับอากาศเมื่อการทำงานสิ้นสุดลงหรือมีสภาพบรรยากาศในที่อับอากาศเปลี่ยนแปลงไป

  7. ต้องมั่นใจว่าในที่อับอากาศจะมีผู้ที่เกี่ยวข้องที่ได้รับอนุญาตแล้วเท่านั้น และใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้ที่ทำงานที่ไม่ได้รับอนุญาตออกจากที่อับอากาศ

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

 

ผู้มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือ

                     นายจ้างจัดให้ลูกจ้างซึ่งได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศหนึ่งคนหรือหลายคนตามความจำเป็น   เป็นผู้ช่วยเหลือ 

พร้อมทั้งอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตที่เหมาะสมกับลักษณะงาน    ดูแลบริเวณทางเข้าออกที่อับอากาศโดยให้สามารถติดต่อสื่อสารกับลูกจ้างที่ทำงานในที่อับอากาศได้ตลอดเวลา    เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างออกจากที่อับอากาศ

ตามกฎกระทรวงผู้ช่วยเหลือ   คือ

  1. ลูกจ้างที่นายจ้างมอบหมายให้เป็นผู้ทำหน้าที่ในการช่วยเหลือ

  2. เป็นผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ

คุณสมบัติของลูกจ้างที่นายจ้างจะมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือ

  1. สุขภาพดี   ไม่เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ  โรคหัวใจ  หรือโรคอื่นใดที่ซึ่งแพทย์เห็นว่าการเข้าไปในที่อับอากาศอาจเป็นอันตราย

  2. ต้องมีสมรรถนะในการให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในที่อับอากาศ

  3. เป็นผู้ที่มีความชำนาญในการใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือ

  4. ได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับขั้นตอนการทำงานที่ปลอดภัย    รวมถึงการฝึกอบรมในการใช้อุปกรณ์ในการทำงานภายนอกที่อับอากาศ

หน้าที่ของผู้ช่วยเหลือ

  1. ทำหน้าที่อยู่ภายนอกที่อับอากาศและเฝ้าระวังผู้ที่ทำงานในที่อับอกากาศ

  2. การเฝ้าดูแลทางเข้าออกที่อับอากาศโดยให้สามารถติดต่อสื่อสารกับลูกจ้างที่ทำงานในที่อับอากาศได้ตลอดเวลา

  3. การฝึกซ้อมการสื่อสาร   การให้สัญญาณทั้งในสถานการณ์ปกติและในสถานการณ์ฉุกเฉินร่วมกับผู้ทำงาน

  4. ต้องคอยควบคุมดูแลมิให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในที่อับอากาศ   และอนุญาตเฉพาะผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นให้เข้าออกที่อับอากาศได้

  5. ช่วยเหลือลูกจ้างออกจากที่อับอากาศโดยผู้ช่วยเหลือจะมีหนึ่งคนหรือหลายคนได้ตามความจำเป็นในแต่ละครั้ง

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

 

ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ

                    ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหรือบุคคลใดเข้าไปในที่อับอากาศ    เว้นอต่นายจ้างได้ดำเนินการให้มีความปลอดภัยตามกฏกระทรวงนั้นแล้ว   และลูกจ้างหรือบุคคลนั้นได้รับอนุญาตจากผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาตและเป็นผู้อ่านการอบรม

ตามกกกระทรวงผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ    คือ

  1. ลูกจ้างที่ได้รับอนุญาตจากนายจ้างหรือผู้อนุญาตให้เข้าทำงานในที่อับอากาศ

  2. เป็นผู้ที่ได้ผ่านการอบรมหลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ

คุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ

  1. เป็นผู้มีสุขภาพดี   ไม่เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ   โรคหัวใจ  หรือโรคอื่นใดที่แพทย์เห็นว่าการเข้าไปในที่อับอากาศอาจเป็นอันตราย

  2. เป็นผู้ที่ได้ผ่านการอบรมหลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ

หน้าที่ของผู้ปฏิบัติงาน

  1. ไม่ทำงานที่ก่อให้เกิดความร้อน  /  ประกายไฟ 

  2. ไม่ใช้สารระเหยง่าย  สารพิษ  สารไวไฟ  เว้นแต่จะจัดให้มีมาตรการความปลอดภัย

  3. ทำงานในที่อับอากาศตามที่ได้รับอนุญาตจากนายจ้างเพื่อให้เกิดความปลอดภัย

  4. ต้องทราบและตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติ

  5. สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามลักษณะอันตรายที่นายจ้างได้จัดไว้ให้

  6. ต้องเข้าใจและซักซ้อมวิธีการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย    การใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ปฏิบัติ   วิธีการสื่อสาร   การขอความช่วยเหลือ   การช่วยเหลือตนเองในกรณีฉุกเฉิน


 

Related link : ระบบตรวจสอบรั้วไฟฟ้ากันขโมย    สัญญาณกันขโมยไร้สาย

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *