กล้อง DVR

กล้อง DVR กับเส้นใยนำแสง Fiber Optic และ กล้องวงจรปิด (ตอนที่ 1)

กล้อง DVR กับเส้นใยนำแสง Fiber Optic และ กล้องวงจรปิด

(ตอนที่ 1)
สาระสำคัญ

กล้อง DVR กับจากการเจริญเติบโตของสังคมมนุษย์และการพัฒนาเทคโนโลยีทำให้มีการแลกเปลี่ยน ข้อมูลข่าวสารกันมากขึ้นเป็นผลทำให้ปริมาณการส่งข้อมูลมีอย่างมหาศาลผ่าน เส้นใยนำแสง Fiber Optic ระบบ กล้องวงจรปิด เองก็เช่นกัน ดังนั้นระบบโทรคมนาคม ที่ใช้จะต้องมีความสามารถรองรับและตอบสนองความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับอัตราเร็วของการส่งข้อมูลสูงรวมทั้งมีความถูกต้องแม่นยำ และความปลอดภัยของข้อมูลที่ดี ระบบดังกล่าว คือ การสื่อสารด้วยเส้นใยนำแสงเทคโนโลยีของระบบสื่อสารด้วยเส้นใยนำแสงนี้ได้ถูก พัฒนามากขึ้นมาตามลำดับและมีการใช้งานแพร่หลาย ได้แก่ โครงข่ายการส่งข้อมูลความเร็วสูง ระบบเอสดีเอช (SDH) หรือระบบโซเน็ท (SONET) หรือระบบเส้นใยนำแสงสู่บ้าน (Fiber To The Home: FTTH) เป็นต้น

การสื่อสารผ่านใยแก้วนำแสงเป็นระบบการสื่อสารที่ใช้แสงผสมกับข้อมูลที่ต้องการ ส่งในรูปแอนาลอกหรือแบบดิจิตอลแล้วจึงส่งผ่านตัวกลางคือใยแก้ว เส้นผ่านศูนย์กลางขนาดเล็กมากมีเส้นผ่าศูนย์กลางเป็นไมครอนซึ่งมีขนาดเล็กมากทำให้สายเคเบิล 1 เส้น สามารถรวมเอาสายสัญญาณหลายเส้นเข้าด้วยกันแสงจะถูกส่งผ่านไปยังตัวรับคือโฟโตดีเทคเตอร์เพื่อแปรผลค่าสัญญาณ

กล้อง DVR กับเส้นใยนำแสง Fiber Optic และ กล้องวงจรปิด (ตอนที่ 1)

จากแสงเป็น สัญญาณไฟฟ้า แล้วใช้ ระบบอิเล็กทรอนิกส์แปรผลเป็นข้อมูลอีกครั้งหนึ่ง การสื่อสารผ่านเส้นใยนำแสงมีจุดเด่นคือสามารถส่งสัญญาณหลายๆ ช่องไปได้พร้อมๆ กัน โดยใช้เทคนิคการผสมสัญญาณ ( Multiplexing ) ที่นิยมใช้คือการทำ WDM ( Wavelength Divison Multiplexing) เป็นการส่งสัญญาณแต่ละช่องด้วยแสงที่มีความยาวคลื่นต่างกันทำให้สามารถส่งข้อมูลได้มากมหาศาลเมื่อเทียบกับการสื่อสารผ่านสายทองแดงแบบเดิมให้พิจารณาเป็นเบื้องต้น ดังนี้

  1. ใช้ส่งข้อมูลข้ามทวีปผ่านเคเบิลใยแก้วใต้น้ำ เนื่องจากมีการสูญเสียสัญญาณต่ำกว่า สัญญาณไฟฟ้าทำให้ใช้ตัวทวนสัญญาณน้อย ส่งสัญญาณได้ระยะทางไกล ความคุ้มค่าสูง
  2. ส่งข้อมูลได้มหาศาลในเวลาเดียวกันเมื่อเทียบกับการสื่อสารผ่านสายทองแดง เนื่องจากเทคโนโลยีการสื่อสารแสงมีความผิดเพี้ยนของสัญญาณต่ำเมื่อทำการรวมกันของข้อมูลหลายๆ ช่องสัญญาณ
  3. ไม่มีผลกระทบจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถติดตั้งได้ในบริเวณที่มีไฟฟ้าแรงสูง หรือฟ้าผ่าเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
  4. ข้อมูลรั่วไหลได้ยากการลักลอบขโมยสัญญาณจากระบบใยนำแสงทำได้ยาก

การสื่อสารผ่านใยแก้วนาแสงของประเทศไทยในปัจจุบันประเทศไทยมีบริษัทเอกชนที่รับผลิตอุปกรณ์สื่อสารใยแก้วนำแสงเพื่อการส่งออกไปยังส่วนต่างๆของโลกโดยเฉพาะ เป็นผู้ผลิตราย ใหญ่ที่ส่งอุปกรณ์เข้าสู่ประเทศจีนในช่วงปีพ.ศ. 2549- พ.ศ.2250 เพื่อใช้ในในงานกีฬาโอลิมปิกที่ปักกิ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2551 นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีสถานีเชื่อมต่อเครือข่ายเส้นใยนำแสงใต้น้ำเพื่อเชื่อมต่อ ข้อมูลระหว่างทวีปเข้าสู่เครือข่ายภายในประเทศ โดยมีสถานีดูแลเคเบิลใต้น้ำเส้นใยนำแสง 4 สถานี เป็นผู้ดูแลคือ ชลี 1-เพชรบุรี ชลี 2-สงขลา ชลี 3-ศรีราชา และชลี 4-ปากบารา สตูล

สำหรับการใช้งาน การสื่อสารภายในประเทศก็ เริ่มปรับเปลี่ยนจุดเชื่อมต่อเป็นระบบเส้นใยนำแสงทั้งหมดแล้วเช่นกัน และปัจจุบันก็นิยมนำระบบ Fiber Optic มาให้ร่วมกับการติดตั้งกล้องวงจรปิด ความรวดเร็วและความเสถียรของสัญญาณ Internet ทำให้การดูภาพจากกล้องวงจรปิดผ่านเน็ตค่อนข้างนิ่ง ไม่มีปัญหาติดๆดับๆอีกต่อไป

Related link :IP Camera PC กล้องวงจรปิด CCTV ชนิด IP Camera

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *