บันทึก IP Camera

บันทึก IP Camera กรมขนส่งฯจัดหนักติดกล้องวงจรปิดหน้าห้างดังจับผู้ทำผิดหวังแก้ปัญหาจราจร

บันทึก IP Camera กรมขนส่งฯจัดหนักติด กล้องวงจรปิดหน้าห้าง ดังจับผู้ทำผิดหวังแก้ปัญหาจราจร

บันทึก IP Camera จะโยนหินถามทาง หรือ พูดโดยคิดพิจารณาให้รอบคอบของรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาลคนใหม่ (ผบช.น.) ที่มีไอเดียจะแก้ปัญหาการจราจรโดยการห้ามรถที่มีอายุการใช้งาน 7-10 ปีวิ่งในพื้นที่กรุงเทพฯ หรือ หากรถเสีย หรือ เกิดอุบัติเหตุบนถนนจะเสียค่าปรับนาทีละ 100 ถูกวิจารณ์กันเละทั้งในสังคมออนไลน์ และ บทวิเคราะห์วิจารณ์ในคอลัมนิสต์ของหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ ทำให้กรมขนส่งฯ ต้องติด กล้องวงจรปิดหน้าห้าง

ปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯเป็นปัญหาโลกแตกที่หลายฝ่ายต่างมีส่วนร่วมในการทำให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดในหลายพื้นที่ ทั้งรถมือสอง และ นโยบายรถคันแรกซึ่งเป็นรถยนต์ส่วนบุคคล และ รถสาธารณะที่เป็นรถตู้ รถเมล์ รถแท็กซี่ รวมไปถึงผู้ค้าขายแผงลอย และ เทศกิจ ตำรวจบางส่วนที่ต่าง ไม่บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดกับผู้ทำผิด ขณะที่ผู้ใช้รถก็มีความมักง่าย ยิ่งได้ใจ และ ไม่ยอมเคารพ หรือ ทำตามกฎการจราจรเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

บันทึก IP Camera กรมขนส่งฯจัดหนักติดกล้องวงจรปิดหน้าห้างดังจับผู้ทำผิดหวังแก้ปัญหาจราจร

หลายหน่วยงานที่มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาการจราจรก็พยายามที่จะออกนโยบายเท่าที่กฎหมายให้อำนาจมาช่วยปัญหาการจราจรเช่นเดียวกับหน่วยงาน ผบช.น .ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือ กทม. แต่ยังไม่มีหน่วยงานระดับนโยบายจริง ๆ ที่สั่งการได้ออกมาพูดถึงเรื่องนี้ อย่างคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ที่มีนายกรัฐมนตรี หรือ รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน คจร.ซึ่งสามารถสั่งงาน หรือ มอบหมายให้ปลัดกระทรวงต่าง ๆ นำนโยบาย หรือ แนวทางแก้ไขปัญหาจราจรให้หน่วยงานในสังกัดรับไปปฏิบัติในลักษณะบูรณาการร่วมกัน

แต่น่าเสียดายที่หน่วยงานที่จะรันงานต่อภายใต้กำกับของ คจร.คือ สำนักงานคณะกรรมจัดระบบการจราจรทางบก (สจร.) ถูกยุบทิ้งไปเพื่อไปตั้งหน่วยงานใหม่อย่างสำนักงานนโยบาย และ แผนการขนส่ง และ จราจร (สนข.) ในสังกัดกระทรวงคมนาคม 10 กว่าปีที่ผ่านมาแทบจะไม่มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาการจราจรอีกเลย งานการแก้ไขปัญหาการจราจรจึงเป็นปัญหา “ดินพอกหางหมู” ที่ไม่มีใครอยากแก้ไข

บันทึก IP Camera กรมขนส่งฯจัดหนักติดกล้องวงจรปิดหน้าห้างดังจับผู้ทำผิดหวังแก้ปัญหาจราจร

ในสังคมไทยยุครัตนโกสินทร์ก็ยังไม่สิ้นคนดี ล่าสุดปลัดกระทรวงคมนาคมคนใหม่ที่พึ่งรับตำแหน่งเมื่อต้นเดือนตุลาคมคือ นายสมชัย ศิริวัฒนโชค ได้อาสาเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรอีกคน โดยเปิดเผยภายหลังการประชุมมอบนโยบายหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมว่า กระทรวงคมนาคมได้มอบนโยบายเร่งด่วนให้ยกระดับบริการ และ ความปลอดภัยด้านการขนส่งทางบกติดตั้ง “กล้องวงจรปิด” (CCTV) บนถนน 40 ตัว

เพื่อบันทึกพฤติกรรมผู้ขับขี่โดยสารสาธารณะ รถตู้ และ รถแท็กซี่ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ขณะอยู่ระหว่างรอการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (กปถ.) จำนวน 16 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถติดตั้งได้แล้วเสร็จภายในปีนี้ และ ในปี 2558 จะรอจัดสรรงบกลางจัดซื้อกล้องวงจรปิดเพิ่มเติมอีก 100 ตัว เพื่อให้การปัญหาครอบคลุมในทุกพื้นที่

สำหรับพื้นที่เป้าหมายที่ให้กรมขนส่งทางบกเตรียมนำ กล้องวงจรปิด ติดตั้ง เช่น ถนนหน้าห้างมาบุญครอง, ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต, เซ็นทรัลเวิล์ด, สถานีขนส่งหมอชิต, สถานีขนส่งสายใต้ใหม่, สถานีขนส่งเอกมัย และ สถานีรถไฟหัวลำโพง ซึ่งจะช่วยให้สามารถกำกับดูแลรถตู้โดยสารสารธารณะ รถเมล์ และ รถแท็กซี่ ได้อย่างประสิทธิภาพ เพราะกล้องจะบันทึกพฤติกรรมที่ผิดกฎหมายเก็บไว้เป็นหลักฐาน ไม่ว่าจะเป็นการขับชิดขวา ไม่จอดป้าย จอดรถแช่ป้าย จอดรถกีดขวางพื้นที่จราจร การปฏิเสธผู้โดยสารของแท็กซี่ ตลอดจนเรียกเก็บค่าโดยสารนอกมิเตอร์

กระทรวงคมนาคมจะร่วมกับหน่วยงานภายนอก ไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพมหานคร (กทม.) ตำรวจจราจรติดกล้องเพื่อแก้ปัญหาการจราจร 10 สายทางในกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะมีมาตรการต่าง ๆ เช่น การยกรถที่จอดผิดกฎหมายออกจากผิวจราจรแทนการล็อกล้อ การจัดระเบียบรถโดยสารสาธารณะ การดูแลไม่ให้หาบแร่แผงลอยใช้ผิวจราจร โดยเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคมนี้

บันทึก IP Camera กรมขนส่งฯจัดหนักติดกล้องวงจรปิดหน้าห้างดังจับผู้ทำผิดหวังแก้ปัญหาจราจร

ส่วนการยกระดับบริการในส่วนขอบผู้ประกอบการรถร่วมบริการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และ รถร่วมบริษัทขนส่ง จำกัด (บขส.)นั้น จะเพิ่มความเข้มงวดการบังคับให้ปฏิบัติตามกฎหมาย 2 ส่วนคือ 1.ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หรือ สัญญาเดินรถที่กรมขนส่งทางบกทำไว้กับ ขสมก. และ บขส. และ 2.กฎหมายที่กรมขนส่งทางบกเป็นผู้กำกับดูแล หากพบมีการฝ่าฝืนจะต้องดำเนินการตามกฎหมายทันที ซึ่งมีทั้งปรับ เพิกถอนใบอนุญาต รวมไปถึงสั่งให้หยุดเดินรถ

ในเบื้องต้นได้ให้เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาปัญหา และ แนวทางแก้ไขในแต่ละพื้นที่ว่ามีปัญหาอะไรบ้าง เช่น หากมีปัญหาสัญญาณจราจรก็ต้องให้หน่วยงานในพื้นที่ เช่น กทม.เข้าไปปรับปรุงแก้ไขให้แล้วเสร็จก่อนจะถึงระยะเวลาที่กำหนด หากถนนเป็นของกรมทางหลวงชนบท (ทช.) หรือ กรมทางหลวงชำรุดก็ต้องไปซ่อมแซมให้แล้วเสร็จ เพื่อไม่ให้มีปัญหากระทบกับการจราจร

สุดท้ายแล้วนโยบาย ผบช.น. และ ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมที่รับแผนไปปฏิบัติโดยเฉพาะกรมขนส่งทางบก และ สนข. จะต้องประสานอย่างเข้มข้นกับ กทม. ในฐานะเจ้าของพื้นที่ ไม่ใช่มีการประสานงากันเหมือนกับกรณีที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ขอสร้างรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯกว่าจะเจรจาตกลงกันได้ก็ล่าช้ากระทบต่อการจราจรเป็นปี ๆ และ ที่สำคัญผู้ขับขี่รถทุกคนนั่นแหละจะช่วยแก้ปัญหาการจราจรในเมืองกรุงได้มากที่สุดหากเคารพกฎเหมือนคนในประเทศพัฒนาแล้ว

Related link :กล้องราคา 10000 กับงานติดตั้งที่บ้านลูกค้า สาย 2

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *