กล้องวงจรปิดเล็กที่สุด

กล้องวงจรปิดเล็กที่สุด ตำรวจ-ผู้ขับขี่รถยนต์แห่ใช้กล้องเป็นหลักฐานเด็ดจับผิดซึ่งกันและกัน

กล้องวงจรปิดเล็กที่สุด ตำรวจ-ผู้ขับขี่รถยนต์แห่ใช้ กล้องเป็นหลักฐาน เด็ดจับผิดซึ่งกันและกัน

กล้องวงจรปิดเล็กที่สุด กล้องเป็นหลักฐาน ชิ้นสำคัญที่จะใช้จับผิดผู้ไม่ประสงค์ดีหรือผู้ร้ายในปัจจุบันที่ได้รับความนิยมสูงสุดในขณะนี้ยังเป็น “กล้องวงจรปิด” (CCTV) ซึ่งทุกสถานประกอบการ และ ทุกอาชีพรู้จักดีถึงคุณประโยชน์ โดยเฉพาะอาชีพตำรวจเริ่มใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการจับผู้กระทำผิดมากขึ้น รวมทั้งเอาไว้ใช้ป้องกันตัวเองเมื่อเจอกับผู้ต้องหาประเภท “หัวหมอ”

โดยเฉพาะในปี 2556 ตำรวจจราจรในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาลบางสถานีเริ่มมีการติดตั้งกล้องทุกชนิดทั้ง แว่นติดกล้อง, ปากกาติดกล้อง และ กล้องกระดุมไว้ประจำเครื่องแบบเพื่อจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมทั้งใช้เป็นหลักฐานมัดตัวผู้ให้สินบนเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรที่กระทำตามหน้าที่ ซึ่งสามารถเห็นภาพ และ เสียงอย่างชัดเจน

กล้องวงจรปิดเล็กที่สุด ตำรวจ-ผู้ขับขี่รถยนต์แห่ใช้กล้องเป็นหลักฐานเด็ดจับผิดซึ่งกันและกัน

อุปกรณ์เกี่ยวกับทั้งหมดที่กล่าวมา ต้องสรรเสริญเจ้าหน้าที่ตำรวจที่จัดซื้อกันเอง โดยไม่ใช้งบประมาณของแผ่นดิน หรือ งบหลวง

สำหรับตัวอย่างคดีที่เกิดขึ้นไม่นาน ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ใช้กล้องเป็นวัตถุพยานคือ กรณีที่มีการเผยแพร่คลิปวีดิโอชายคนหนึ่งกระทำผิดกฎจราจร บริเวณใต้ทางด่วนถนนลาดพร้าว

ชายคนนี้ได้ยื่นเงิน 100 บาทให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร แต่ทางด้านตำรวจก็มีกล้องขนาดเล็กติดอยู่ที่เครื่องแบบ พยายามแจ้งให้ทราบว่าเป็นการทำผิดกฎหมาย ในข้อหาให้สินบนเจ้าพนักงาน สุดท้ายชายดังกล่าวถูกนำตัวไปดำเนินคดี และ ส่งฟ้องศาล

“ในทางกลับกัน ถ้าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ประพฤติชั่ว และ ถูกถ่ายภาพมาจาก กล้องวงจรปิด ของพลเมืองดี หรือ นักข่าวที่แอบซุ่มถ่ายภาพตำรวจเรียกเงินจากรถบรรทุกสิบล้อ ซึ่งหากตำรวจมีความผิดจริงอาจจะถูกลงโทษไล่ออกจากราชการ และ ดำเนินคดีอาญาสถานหนักเช่นกัน”

อย่างเหตุการณ์จริงในปีนี้ซึ่งมีการเผยแพร่คลิปใน YouTube ด้วยคือ กรณีเหตุการณ์ระหว่างที่ผู้ขับขี่รถยนต์รายหนึ่งขับรถอยู่บนถนนพระราม 9 โดยระหว่างที่ผู้ขับขี่เลี้ยวยูเทิร์นเข้าทางขนานตามปกติ กลับมีเจ้าหน้าที่ตำรวจโบกให้จอดรถ โดยระบุว่า ผู้ขับขี่รถคันดังกล่าว “ฝ่าไฟเหลือง”

กล้องวงจรปิดเล็กที่สุด ตำรวจ-ผู้ขับขี่รถยนต์แห่ใช้กล้องเป็นหลักฐานเด็ดจับผิดซึ่งกันและกัน

ตำรวจรายนี้พูดว่า “ทำไมไม่หยุดล่ะครับผม สัญญาณไฟขึ้นแล้วต้องหยุดแล้ว” เจ้าหน้าที่คนดังกล่าวบอกกับผู้ขับขี่รถยนต์ ก่อนที่เจ้าของรถ และ ผู้ที่นั่งมาด้วยยืนยันว่าระหว่างที่ตนเลี้ยวรถยังเป็นไฟเขียวอยู่ แต่เจ้าหน้าที่กลับบอกอีกว่า “เดี๋ยวเมื่อโดนปรับแล้วให้ไปดูเอาเอง”

เจ้าของรถยนต์สวนกลับว่า “ดูกล้องไหม สีเขียว สีเขียว ยังไม่ได้ขึ้นเหลืองด้วย” ซึ่งผู้ขับขี่รถคันดังกล่าว และ ผู้โดยสารที่นั่งมาด้วยกันกล่าวยืนยันอย่างหนักแน่น โดยเมื่อผู้ขับขี่บอกว่าจะดูกล้องไหม ตนมีกล้องติดอยู่ที่หน้ารถ โดยจะเปิดวิดีโอที่บันทึกอยู่ให้ดู ณ ที่เกิดเหตุโดยไม่ไปที่ไหนทั้งนั้น พร้อมทั้งบอกว่า “ทำไมผมจะไม่รู้ ผมขับตรงนี้ทุกวัน แล้วผมก็รู้ว่าคุณดักตรงนี้ทุกวัน และ แล้วเรียกผมทำไม ผมก็ไม่ผิด เพราะไม่มีเหลือง เขียว” ท้ายที่สุดตำรวจรายนี้ก็จนมุมแล้วบอกว่า “งั้นผมยอมพี่”

จึงเป็นเหตุการณ์จริงที่ถือเป็นอุทาหรณ์ให้ทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติงานเลิกคิดที่ทำผิดเอาเปรียบผู้ขับขี่ที่ถูกกฎจราจรได้แล้ว ควรมุ่งไปเอาผิดผู้ฝ่าฝืนกฎจราจรจริงที่มีอยู่เต็มบ้านเต็มเมือง และ ผู้ขับขี่รถยนต์เองก็ได้เห็นประโยชน์จริง ๆว่า การติดกล้องวงจรเพียงไม่กี่พันบาทสามารถป้องกันการถูกกดขดขี่จากเจ้าหน้าที่ที่ไม่ดีได้ ซึ่งน่าจะมีส่วนทำให้ ธุรกิจกล้องวงจรปิด ได้รับการตอบรับดียิ่งขึ้นอีก

กล้องวงจรปิดเล็กที่สุด ตำรวจ-ผู้ขับขี่รถยนต์แห่ใช้กล้องเป็นหลักฐานเด็ดจับผิดซึ่งกันและกัน

ยังอยู่กับข่าวคราวของเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่เป็นระดับนโยบาย และ สถิติคดีการปล้นกันบ้างกับข่าวที่ พ.ต.อ.อนุชา รมยะนันท์ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เปิดเผยถึงสถิติคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ธนาคาร ร้านสะดวกซื้อในรอบปี 2556 ว่า ในรอบปีที่ผ่านมาเกิดคดีปล้นทรัพย์ และ ชิงทรัพย์ธนาคาร 30 คดีจากธนาคารทั่วประเทศ 6,875 แห่ง มีแนวโน้มเกิดคดีสูงขึ้น แต่ตำรวจมีผลการจับกุมสูงขึ้นเช่นกัน สามารถจับกุม และ ออกหมายจับแล้ว 22 ราย หรือ คิดเป็น 73.33% เทียบกับปี 2555 ที่เกิด 24 คดี จับกุม และ ออกหมายจับ 19 คดี ซึ่งถือว่าสถิติการเกิดคดีมีเพิ่มขึ้น

คดีประทุษร้ายต่อร้านสะดวกซื้อ 156 คดี (ปี 2555 เกิด 63 คดี) จากสาขา 10,000 กว่าแห่งทั่วประเทศ เหตุเกิดเพิ่มขึ้น 93 คดี แบ่งเป็นร้านเซเว่นอีเลฟเว่น 7,111 สาขา ปีนี้ก็มีแนวโน้มเกิดคดีสูงขึ้น แต่สามารถออกหมายจับแล้ว 117 คดี หรือ 75%

คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ร้านทองปีนี้เกิด 20 คดี (ปี 2555 เกิด 49 คดี) จากร้านทองทั่วประเทศ 7,858 แห่ง เหตุลดลงจากปี 2555 จำนวน 29 คดี โดยตำรวจสามารถติดตามจับกุม และ ออกหมายจับแล้ว 16 คดี หรือ คิดเป็น 80%

ในด้านมาตรการป้องกันนั้น พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร.บอกว่า ได้ประชุมร่วมกับผู้ประกอบการธนาคาร 16 แห่ง และ บริษัทขนรถเงิน เพื่อวางแผนในเชิงระบบในการป้องกันเหตุ และ นำข้อเสนอแนะไปปรับปรุงแก้ไข เช่น การปรับปรุงสถานที่บริเวณเคาน์เตอร์ให้สูงขึ้น ยากแก่การเข้าถึงตัวพนักงานธนาคาร การติดตั้งสัญญาณเตือนภัย

กล้องวงจรปิดเล็กที่สุด ตำรวจ-ผู้ขับขี่รถยนต์แห่ใช้กล้องเป็นหลักฐานเด็ดจับผิดซึ่งกันและกัน

นอกจากนี้ผู้ประกอบการต้องเพิ่มกล้องวงจรปิดให้ครอบคลุมถึงบริเวณที่จอดรถลูกค้า และ ปรับมุมกล้องที่เคาน์เตอร์ให้สามารถจับใบหน้าลูกค้า หรือ คนร้ายได้ชัดเจนมากขึ้น รวมทั้งการติดตั้งกระจกประตู 2 ชั้น เพื่อไม่ให้คนร้ายที่เข้ามาก่อเหตุสามารถหลบหนีได้อย่างสะดวก

แน่นอนว่าสมัยนี้คงไม่มีสถานประกอบการไหนที่คิดจะไม่ลงทุนในเรื่องระบบป้องกันความภัย แต่การติดกล้องวงจรปิดเพียง 1-2 ตัวแล้วจะจับโจรได้ยังเป็นเรื่องยาก อาจจะต้องติดตั้งมากกว่านั้น เพราะประเภทที่อยู่อาศัยยังติด 4 ตัวเป็นอย่างต่ำ เพื่อให้เห็นมุมที่หลากหลาย และ ชัดขึ้น ที่สำคัญต้องเลือกระบบที่ตรวจสอบง่าย และ สะดวกด้วยจึงจะได้อุ่นใจเมื่อท่านไม่ได้อยู่ที่บ้าน

Related link :ร้านขายกล้องวงจรปิดกรุงเทพ ผบช.น.จ่อติดเรดไลท์ คาเมลล่าตรวจจับความผิดอีก 60 แยกทั่วกรุง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *