รับติดกล้องวงจรปิด

รับติดกล้องวงจรปิด กับการสั่งให้หยุดทำงานชั่วคราว

ผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจสั่งให้หยุดการทำงานชั่วคราวได้เพื่อนำผู้ที่ทำงานออกมาจากพื้นที่เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและทำการปรับปรุงสภาพต่างๆ ให้ปลอดภัยแล้วจึงอนุญาตให้ทำงานได้ใหม่ 

จะต้องมีการตรวจวัดสภาพอากาศและความปลอดภัยต่างๆ  ใหม่อีกรอบก่อนที่จะให้ผู้ทำงานเข้าไปทำงาน

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

รับติดกล้องวงจรปิด

กล้องวงจรปิดยูนิวิว

ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่สั่งให้หยุดงานชั่วคราว

                  ในการกำหนดมาตรฐานตามกฎกระทรวงการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย  ด้านอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่อับอากาศ ได้กำหนดบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ควบคุมงาน

กรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในที่อับอากาศให้นายจ้างแต่งตั้งลูกจ้างที่มีความรู้ความสามารถและได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานให้เป็นผู้ควบคุมงาน  คนหนึ่งหรือหลายคนตามความจำเป็นเพื่อทำหน้าที่   ดังนี้

  1. วางแผนการปฏิบัติงานและการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานและปิดประกาศ  หรือแจ้งให้ลูกจ้างทราบเป็นลายลักษณ์อักษร

  2. ชี้แจงและซักซ้อมหน้าที่ความรับผิดชอบ วิธีการปฏิบัติงานและวิธีการป้องกันอันตรายให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้

  3. ควบคุมดูแลให้ลูกจ้างใช้เครื่องป้องกันอันตราย และอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล และให้ตรวจตราอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งาน

  4. สั่งให้หยุดทำงานไว้ชั่วคราวในกรณีที่มีเหตุซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อลูกจ้างจนกว่าอันตรายนั้นจะหมดไป และหากจำเป็นจะขอให้มีผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาตยกเลิกการอนุญาตนั้นเสียก็ได้

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

 

สถานการณ์ที่ทำให้ต้องสั่งให้หยุดงานการทำงานชั่วคราวได้แก่

  1. บรรยากาศอันตราย  อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ในที่อับอากาศเพราะว่าขาดการหมุนเวียนของอากาศตามธรรมชาติ   ลักษณะบรรยากาศแบบนี้จะทำให้ที่อับอากาศ   

    ขาดออกซิเจน, บรรยากาศมีสารปนเปื้อนที่ติดไฟหรือระเบิดได้, และบรรยากาศเป็นพิษ

  2. สภาวะอื่นๆ ที่เป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น อุณหภูมิที่ร้อนจัด  เย็นจัด, อันตรายจากการพื้นผิวปฏิบัติงานลื่น,  เสียงดังมากเนื่องจากกระบวนการทำงาน, 

    อันตรายจากการยุบตัวของพื้นผิว,  และผู้ปฏิบัติงานได้รับบาดเจ็บ  เป็นลม  หมดสติ  เป็นต้น

การสั่งให้หยุดงานชั่วคราว

                      กำหนดมาตรฐานตามกฎกระทรวงในการ บริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ

ได้กำหนดบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ควบคุมงานให้มีอำนาจและหน้าที่ในการ  “สั่งให้หยุดทำงานไว้ชั่วคราว”  กรณีที่มีเหตุซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อลูกจ้างจนกว่าอันตรายนั้นจะหมดไป 

และหากจำเป็นจะขอให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาตยกเลิกการอนุญาตนนั้นเสียก็ได้

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

 

                       การสั่งให้หยุดงานชั่วคราวแล้ว  การจะกลับเข้าไปทำงานในที่อับอับอากาศได้ต่อไปจะต้องขจัดสภาพการณ์ที่เป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อผู้ทำงาน 

กฏหมายได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของนายจ้างในการดำเนินการแก้ไขสภาพที่ก่อให้เกิดอันตรายและกำหนดมาตรการป้องกันไว้  ดังนี้

  1. จัดให้มีตรวจวัด  บันทึกผลการตรวจวัด  และประเมินสภาพอากาศในที่อับอากาศว่ามีบรรยากาศอันตรายหรือไม่โดยให้ดำเนินการทั้งก่อนให้ลูกจ้างเข้าไปทำงานและในระหว่างที่ลูกจ้างทำงานในที่อับอากาศ

  2. ถ้านายจ้างตรวจพบบรรยากาศอันตรายให้นายจ้าง นำลูกจ้างและบุคคลที่อยู่ในที่อากาศออกจากบริเวณนั้นทันที  ประเมินและค้นหาว่าบรรยากาศอันตรายเกิดจากสาเหตุใด  ดำเนินการเพื่อทำให้สภาพอากาศในที่อับอากาศนั้นไม่มีบรรยากาศอันตราย

  3. จัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตที่เหมาะสมกับลักษณะงานและดูแลให้มีการสวมใส่หรือใช้อุปกรณ์ดังกล่าว

  4. จัดเก็บบันทึกผลการตรวจวัด  การประเมินสภาพอากาศ  และการดำเนินการเพื่อให้สภาพอากาศในที่อับอากาศไม่มีบรรยากาศอันตรายไว้พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจสอบได้

  5. ปิดสำเนาหนังสืออนุญาตไว้ที่บริเวณทางเข้าที่อับอากาศให้เห็นชัดเจนตลอดเวลาที่ผู้ทำงานกำลังทำงานอยู่

  6. จัดให้ลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศได้รับการฝึกอบรมก่อนการปฏิบัติหน้าที่

  7. จัดให้มีสิ่งปิดกั้นไม่ให้บุคคลใดเข้าไปหรือตกลงไปในที่อับอากาศที่มีลักษณะเป็นช่อง  โพรง  หลุม หรือมีลักษณะคล้ายคลึงกัน

  8. ปิดกั้นหรือกระทำโดยวิธีการอื่นใดที่มีผลในการป้องกันไม่ให้พลังงานหรือสิ่งที่เป็นอันตรายเข้าบริเวณที่อับอากาศในระหว่างที่ลูกจ้างกำลังทำงาน

  9. จัดบริเวณทางเดินเข้าออกที่อับอากาศให้มีความสะดวกและปลอดภัยใน

  10. ปิดประกาศไว้บริเวณทางเข้าออกที่อับอากาศ ห้ามผู้ที่ทำงานสูบบุหรี่  หรืออุปกรณ์สำหรับจุดไฟหรือติดไฟเข้าไปทำงานในที่อับอากาศ

  11. จัดให้มีอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เหมาะสมในการใช้งานในที่อับอากาศ และตรวจสอบให้มีสภาพสมบูรณ์และปลอดภัยพร้อมใช้งาน

  12. ถ้าที่อับอากาศมีบรรยากาศที่ไวไฟหรือระเบิดได้  อุปกรณ์ไฟฟ้าต้องเป็นชนิดที่ป้องไม่ให้ติดไฟหรือระเบิดได้

  13. การทำงานที่อาจก่อให้เกิดการลุกไหม้ ต้องจัดเครื่องดับเพลิงที่มีประสิทธิภาพและเพียงพอที่จะใช้ได้ทันที

  14. ห้ามให้ผู้ทำงานที่ก่อให้เกิดความร้อนหรือมีประกายไฟในที่อับอากาศ  เว้นแต่จะได้จัดให้มีมาตรการความปลอดภัยที่เหมาะสม

  15. ห้ามให้ผู้ทำงานที่ใช้สารระเหยง่าย  สารพิษ  สารไวไฟ  ในที่อับอากาศ   เว้นแต่จะได้จัดให้มีมาตรการความปลอดภัยที่เหมาะสม

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

 

                      หน้าที่ของผู้ควบคุมงานในการแก้ไขสภาพการณ์  เพื่อให้สามารถทำงานในที่อับอากาศได้ต่อไปโดยกฏหมายได้กำหนดบทบาทและหน้าที่รับผิดชอบของผู้ควบคุม   ดังนี้

  1. วางแผนการทำงานและการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานและปิดประกาศหรือแจ้งให้ลูกจ้างรู้เป็นลายลักษณ์อักษร

  2. ชี้แจงและซักซ้อมหน้าที่ความรับผิดชอบ วิธีการทำงานและวิธีการป้องกันอันตรายให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้

  3. ควบคุมดูแลให้ลูกจ้างใช้เครื่องป้องกันอันตราย  และอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล  และให้ตรวจตราอุปกรณ์ดังกล่าวให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งาน

การกลับเข้าทำงานใหม่

                   การกำหนดมาตรฐานตามกฎกระทรวงในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศได้กำหนดดังนี้

  1. การที่จะอนุญาตให้ลูกจ้างหรือบุคคลใดกลับเข้าไปทำงานใหม่ได้นั้น  นายจ้างจะต้องดำเนินการให้มีความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศซึ่งมาตรการการดำเนินการให้เกิดความปลอดภัยได้นั้น นายจ้างจะต้องทำตามกฏของกระทรวงตามมาตรการความปลอดภัย

  2. อำนาจหน้าที่ของการอนุฐาตให้เข้าทำงานใหม่ได้นั้นเป็นอำนาจหน้าที่ของนายจ้างหรือผู้ซึ่งนายจ้างได้มอบหมายให้ทำหน้าที่แทนนายจ้างตามกฏกระทรวง

  3. ให้นายจ้างแต่งตั้งลูกจ้างที่มีความรู้ความสามารถและได้รับการฝึกอบรมให้เป็นผู้ควบคุมงาน

  4. ผู้ควบคุมงานสั่งให้หยุดการทำงานไว้ชั่วคราว กรณีที่มีเหตุที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อลูกจ้างจนกว่าเหตุนั้นจะหมดไป  และหากจำเป็นจะขอให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาต  ยกเลิกการอนุญาตนั้นเสียก็ได้

                          การสั่งให้หยุดการทำงานชั่วคราว มีเหตุซึ่งก่อให้เกิดอันตรายไม่รุนแรงต่อผู้ทำงานและสามารถควบคุมให้ผู้ทำงานอยู่ในภาวะที่ปลอดภัยและอันตรายที่เกิดขึ้นได้รับการแก้ไขแล้ว 

ผู้ควบคุมงานมีดุลยพินิจในการสังการให้ผู้ทำงานกลับเข้าไปทำงานใหม่ได้

                         ผู้ควบคุมงานมีอำนาจหน้าที่ในการสั่งให้หยุดงานได้ชั่วคราว มีเหตุอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ทำงาน แต่ถ้าเหตุซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายนั้นมีความรุนแรงถึงขั้นที่จะต้องขอยกเลิกการอนุญาต

ผู้ควบคุมงานทำการเสนอให้ผู้อนุญาตยกเลิกการอนุญาตให้ทำงานนั้นเสียก็ได้  เมื่อมีการยกเลิกการอนุญาตแล้ว   

การจะกลับเข้าไปทำงานใหม่ได้นั้นจะต้องดำเนินการขออนุญาตเข้าทำงานโดยการได้รับอนุญาตจากผู้ที่มีความรับผิดชอบในการอนุญาต  ซึ่งการจะอนุญาตให้เข้าไปทำงาน

ในที่อับอากาศได้อีกนั้นจะต้องมีมาตรการความปลอดภัยตามกฏหมายที่กำหนดของกฏกระทรวง

 

 

Related link : ตรวจเช็คระบบรั้วไฟฟ้า      ตรวจเช็คระบบสัญญาณกันขโมย

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *