ราคาติดกล้องวงจรปิด

ราคาติดกล้องวงจรปิด กับกำลังซื้อผู้บริโภค

พฤติกรรมผู้บริโภค การดำเนินงานการสื่อสารการตลาด เจ้าของสินค้าและบริการ กล้องวงจรปิด ต้องทำการสื่อสารข้อมูลข่าวสารไปยังผู้บริโภค เช่น  เพื่อให้ผู้บริโภคเป้าหมายเกิดการตอบสนองตามต้องการ การศึกษาพฤติกรรมจึงเป็นประเด็นที่มีความสำคัญมากสำหรับนักสื่อสารการตลาด

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

ราคาติดกล้องวงจรปิด

กล้องวงจรปิดอพาร์ทเม้น

 

ในปัจจุบันธุรกิจใดก็ตามที่ต้องการจะประสบความสำเร็จ ต้องดำเนินงานบนพื้นฐานความต้องการของผู้บริโภคเป้าหมายเป็นหลักสำคัญ

โดยการทำให้มีความพึงพอใจในสินค้าและบริการของตนให้มากที่สุด ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค กระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค และกระบวนการเลือกกลุ่มเป้าหมายการสื่อสารการตลาด มีรายละเอียดดังนี้

ความหมายของพฤติกรรมผู้บริโภค

พฤติกรรมของผู้บริโภค การแสดงออกของผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับการให้ได้มา การบริโภครวมถึงการบริการ และการกำจัดทิ้งซึ่งสินค้าและบริการ

โดยที่พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้หมายถึงกิจกรรมที่แสดงออกทางร่างกายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของผู้บริโภคด้วย

ราคากล้องวงจรปิด กล้อง Cctv และพฤติกรรมผู้บริโภค

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค

ปัจจัยที่มีอิทธิพลสามารถแบ่งได้เป็น 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ปัจจัยภายใน ลักษณะทาจิตวิทยาที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคได้แก่ แรงจูงใจ การรับรู้ การเรียนรู้ ทัศนคติ บุคลิกภาพ และ

รูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภค อาจจะมีลักษณะที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล และปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยด้านภาวะแวดล้อม สภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค ได้แก่ ชนชั้นทางสังคม ครอบครัว

กลุ่มอ้างอิง และวัฒนธรรม ที่ล้วนมีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคได้เป็นอย่างมาก จึงจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงปัจจัยหลักทั้งสองประการ ปัจจัยภายใน และ ปัจจัยภายนอก

ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเพื่อที่จะนำมาวางแผนกลยุทธ์ทางการสื่อสารการตลาดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

 

ปัจจัยภายในที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค มีดังนี้

  1. แรงจูงใจ พลังผลักดันภายในตัวบุคคล เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของบุคคลนั้น เกิดจากความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองจะนำไปสู่ความเครียด

    จะทำให้เกิดพลังผลักดันภายในนำไปสู่พฤติกรรมได้ในที่สุด โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ และกระบวนการรับรู้ เมื่อเกิดพฤติกรรมแล้วย่อมได้รับการตอบสนอง ความเครียดก็จะลดลง กระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

    ไม่ได้เกิดขึ้นและจบลงเพียงครั้งเดียว ในความเป็นจริง คนเราจะมีความต้องการที่ไม่สิ้นสุด แรงจูงใจต่าง ๆ จึงเกิดขึ้นในลักษณะนี้เป็นวัฏจักรเรื่อยไป

    จึงควรเข้าใจทฤษฎีด้านความต้องการของมนุษย์ ลำดับความสำคัญไว้ 5 ขั้นตอนดังนี้

    1. ความต้องการทางกายภาพ เป็นความต้องการที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น อาหาร น้ำ อากาศ เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโภค เป็นต้น

    2. ความต้องการความปลอดภัย เป็นความต้องการความมั่นคงและความปลอดภัยในชีวิต จิตใจ และทรัพย์สิน

    3. ความต้องการทางสังคม เป็นความต้องการความรักความผูกพันจากเพื่อนฝูง ครอบครัว และ บุคคลรอบตัว

    4. ความต้องการทางเกียรติยศชื่อเสียง เป็นความต้องการได้รับการยกย่องจากสังคม หน้าที่การงานที่ดี มีเกียรติ มีชื่อเสียง และเป็นที่รู้จักในสังคม

    5. ความต้องการประจักษ์ในตนเอง เป็นความต้องขั้นสูงสุดของมนุษย์ เป็นความต้องที่จะต้องประสบความสำเร็จตามที่ตนปรารถนา เป็นการได้ใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่

  2. การรับรู้ กระบวนการที่บุคคลทำการเลือกสรร จัดระเบียบ และการแปลความหมายสิ่งเร้าที่มากระทบประสาทสัมผัสทั้งห้า ออกมาเป็นภาพที่มีความหมายต่อบุคคลนั้นซึ่งอาจจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละบุคคล

    ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของสิ่งเร้าและลักษณะของผู้รับสารด้วยเช่นกัน กระบวนการรับรู้สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอนคือ การเลือกสรร การจัดระเบียบ การแปลความหมายสิ่งเร้า

  3. การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างถาวรจากประสบการณ์ในอดีตที่ผ่านมา หรือเกิดจากการลงมือกระทำจริง เราไม่สามารถที่จะเรียนรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ หากไม่ได้รับรู้และตีความเกี่ยวกับสิ่งนั้น

    กระบวนการเรียนรู้จะเกิดขึ้นนับแต่ช่วงแรกของชีวิตและดำเนินต่อเนื่องมาจนตลอดชีวิตของคนเรา การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ย่อมจะทำให้

    สามารถออกแบบสารโฆษณาที่ทำให้  ผู้บริโภคเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับสินค้าและบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    ทฤษฏีการเรียนรู้ที่สำคัญแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้


    1. ทฤษฏีการเรียนรู้เชิงพฤติกรรม

    2. ทฤษฏีการเรียนรู้ด้วยความรู้ความเข้าใจ


      สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

      Line: @cctvbangkok.com
      ติดต่อทางเมลส์
      ติดต่อเฟสบุค
      ติดต่อยูทูป

      HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542



  4. ทัศนคติ ความโน้มเอียงทางความรู้สึกในทางบวกหรือทางลบต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเกิดจากการเรียนรู้และสามารถนำไปสู่พฤติกรรมของผู้รับสารได้

    ซึ่งอาจจะได้รับมาจากประสบการณ์โดยตรงหรือเป็นข้อมูลที่ได้รับมาจากตัวบุคคลอื่น เช่น เพื่อนและสมาชิกในครอบครัว หรืออาจจะมาจากการเปิดรับสารโฆษณาต่าง ๆ เป็นต้น

    จากความสำคัญของประสบการณ์ตรงซึ่งนับว่ามีอิทธิพลต่อทัศนคติ จึงทำให้นักสื่อสารการตลาดพยายามกระตุ้นให้ผู้บริโภคได้ทดลองใช้สินค้าที่ผู้บริโภคยังไม่คุ้นเคยดีพอเพื่อโน้มน้าวใจให้ผู้บริโภคใช้สินค้า

    ซึ่งหากสินค้านั้นตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี ก็มีแนวโน้มที่ผู้บริโภคจะเกิดทัศนคติที่ดีต่อตราสินค้านั้นและนำไปสู่พฤติกรรมการซื้อตราสินค้านั้นซ้ำอีกในอนาคต

  5. บุคลิกภาพ ลักษณะทางจิตวิทยาที่อยู่ภายในตัวบุคคลซึ่งจะเป็นตัวกำหนดและกระทบถึงวิธีการที่บุคคลแสดงออกต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัว

    รวมถึงลักษณะที่มองเห็นได้และไม่ได้ ได้แก่ กิริยาท่าทาง การเดิน การนั่ง สี การพูด นิสัย น้ำเสียง ลักษณะการแสดงออก อารมณ์ แนวโน้มความผิดปกติทางจิต การแต่งกาย และทัศนคติ เป็นต้น จิตของมนุษย์สามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ สัญชาตญาณพื้นฐาน

    จิตสำนึกบุคคล และมาตรฐานทางจริยธรรมของสังคม ในการหล่อหลอมให้คนมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกันออกไป สังเกตเห็นได้จากการวัด

    ในกลุ่มทฤษฏีนี้มักจะเกี่ยวข้องกับการสร้างมาตรวัดลักษณะทางบุคลิกภาพเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการวัดบุคลิกภาพของผู้บริโภค

    นอกจากนี้นักวิจัยในกลุ่มทฤษฏีนี้มักจะเชื่อว่าคุณลักษณะทางบุคลิกภาพขอผู้บริโภคในแต่ละคุณลักษณะจะส่งผลต่อการใช้สินค้าและบริการที่แตกต่างกันด้วย

  6. รูปแบบการดำเนินชีวิต การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้บริโภคที่แสดงถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคล นับว่ามีความเกี่ยวข้องกับลักษณะของบุคลิกภาพ แรงจูงใจ ครอบครัว กุล่มอ้างอิง

    ชนชั้นทางสังคม วัฒนธรรมหลัก และวัฒนธรรมย่อย นอกจากนี้ยังเป็นลักษณะความเป็นอยู่ที่แสดงถึงการใช้เวลาว่างของแต่ละบุคคล การให้ความสนใจกับสภาพแวดล้อมรอบตัว

    และความคิดเห็นที่มีต่อตัวเองและสิ่งรอบข้าง นักสื่อสารการตลาดจะนิยมทำการศึกษา 3 ด้าน คือ ด้านกิจกรรม ด้านความสนใจ และด้านความคิดเห็น

    โดยการวัดนั้นจะเป็นการคิดคำบรรยายที่พัฒนาขึ้นจากกิจกรรม ความสนใจและความคิดเห็นของผู้บริโภค อาจจะเป็นการบรรยายโดยกว้างหรือเฉพาะเจาะจงก็ได้

    โดยให้ผู้บริโภคเลือกตอบในลักษณะมาตรประมาณค่า ตั้งแต่ เห็นด้วย เห็นด้วยอย่างยิ่ง หรือไม่เห็นด้วย แล้วนำมาทำการวิเคราะห์ปัจจัย เป็นต้น

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

 

กระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค

นักสื่อสารการตลาดสามารถเข้าใจในพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้นนำไปสู่การวางแผนการสื่อสารทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในปัจจุบันได้แบ่งกระบวนการตัดสินใจของผู้บริโภคออกเป็น 5 ขั้นตอนคือ

  1. การตระหนักถึงปัญหา
  2. การแสวงหาข้อมูล
  3. การประเมินทางเลือก
  4. การตัดสินใจซื้อ
  5. พฤติกรรมหลังการซื้อ

การตระหนักถึงปัญหา สามารถเกิดขึ้นได้หลายแนวทาง เช่น อาจจะเกิดจากสินค้าที่ใช้อยู่หมด หรือการซื้อสินค้าไม่สามารถตอบสนองความพึงพอใจได้ หรือมีความต้องการใหม่ ๆ เกิดขึ้น เป็นต้น

ในสภาวการณ์เช่นนี้ นักสื่อสารการตลาดสามารถใช้ความพยายามที่จะทำให้ผู้บริโภครับรู้ถึงปัญหาได้โดยสร้างความต้องการปฐมภูมิ เป็นการสร้างความต้องการให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการใช้สินค้าและบริการ

โดยไม่ได้เจาะจงว่าเป็นตราสินค้าใด หรืออาจใช้การสร้างความต้องการทุติยภูมิ คือ การสร้างความต้องการให้ผู้บริโภคเลือกตราสินค้าของตน โดยการสื่อสารทางโฆษณา

เพื่อโน้มน้าวให้ผู้บริโภคเห็นว่าสินค้าของตนดีกว่าของเจ้าอื่นทำให้ดูแล้วเกิดความต้องการซื้อ เป็นต้น แสดงให้เห็นว่านักสื่อสารการตลาดสามารถทำให้ผู้บริโภครับรู้ว่าปัญหาของผู้บริโภคนั้น

สามารถแก้ไขได้ด้วยการเลือกซื้อตราสินค้านี้มากกว่าจะไปใช้ตราสินค้าอื่น

ราคากล้องวงจรปิด กล้อง Cctv และพฤติกรรมผู้บริโภค

 

การแสวงหาข้อมูล ผู้บริโภคได้ตระหนักถึงปัญหาว่าจำเป็นจะต้องซื้อสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของตนแล้ว การค้นหาข้อมูลจะเริ่มต้นจากการค้นหาข้อมูลภายใน

คือความทรงจำระยะยาวในสินค้าและบริการของผู้บริโภคที่มาจากประสบการณ์ในอดีต ถ้าข้อมูลเหล่านั้นเพียงพอแล้ว ผู้บริโภคก็ไม่จำเป็นจะต้องแสวงหาข้อมูลจากภายนอก

ได้แก่ การค้นหาข้อมูลสินค้าจากโฆษณา พนักงานขาย หรือการสอบถามจากบุคคลรอบข้าง เช่น เพื่อน และหตัดสินใจต่อไป การแสวงหาข้อมูลของผู้บริโภคนั้นอาจเกิดขึ้นได้

จากปัจจัย 2 ประการคือ ความไม่มั่นใจในความรู้ที่ตนเองมีอยู่ของผู้บริโภค และความไม่มั่นใจในการเลือกซื้อสินค้า ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ที่นักสื่อสารการตลาดจะต้องสร้างความแตกต่างของตราสินค้า

เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการเลือกซื้อของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การประเมินทางเลือก หลังจากที่ผู้บริโภคได้ข้อมูลมาแล้วก็จะทำการประเมินทางเลือกจากพื้นฐานความเชื่อและความรู้ที่ผู้บริโภคมีต่อสินค้า เพื่อทางเลือกที่เห็นว่ามีความเหมาะสม

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

 



โดยพิจารณาจากคุณสมบัติต่าง ๆ ของแต่ละตราสินค้าจากคุณสมบัติที่เห็นว่ามีความสำคัญที่สุดและตรงกับความต้องการของตนมากที่สุด เมื่อผู้บริโภคมีข้อมูลเพียงพอต่อการตัดสินใจก็จะทำการเปรียบเทียบสินค้า บริการ

และตราสินค้าต่าง ๆ ซึ่งเป็นตัวเลือกเพื่อที่จะทำการเลือกเอาสิ่งที่มีความเหมาะสมมากที่สุดในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

สำหรับในการประเมินทางเลือกนี้มีแนวโน้มที่จะใช้ปัจจัย 2 ประการมาประกอบในการพิจารณา คือ ข้อมูลเกี่ยวกับตราสินค้าที่อยู่ในความทรงจำของผู้บริโภคที่จะนำมาพิจารณาในการเลือกซื้อ

และ เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินตราสินค้าแต่ละตราสินค้า นักสื่อสารการตลาดจึงต้องพยายามให้ตราสินค้าของตนเข้าไปอยู่ในกลุ่มของสินค้าที่ผู้บริโภคพิจารณาเพื่อสร้างทัศนคติที่ดีสร้างความผูกพัน

และการจดจำของตราสินค้าในจิตใจของผู้บริโภคได้ นักสื่อสารการตลาดก็จะต้องทำการแนะนำหรือให้ความรู้แก่ผู้บริโภคเพื่อจะนำมาใช้ในการประเมิน โดยที่เกณฑ์เหล่านี้นั้นก็ควรที่จะมีคุณสมบัติที่โดดเด่นเหนือคู่แข่งด้วยเช่นกัน

พฤติกรรมหลังการซื้อ หลังจากที่ผู้บริโภคได้ซื้อสินค้าแล้ว ก็จะมีประสบการณ์จากการใช้สินค้านั้น โดยจะประเมินว่าสินค้านั้นสามารถที่จะตอบสนองความคาดหวังที่ผู้บริโภคต้องการได้หรือไม่

ส่งผลต่อแนวโน้มในการตัดสินใจซื้อสินค้าในครั้งต่อไป ถ้ามีความพึงพอใจในตราสินค้านั้น ก็มีแนวโน้มสูงที่ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าซ้ำอีก ในทางตรงกันข้ามหากสินค้าไม่สามารถตอบสนองความคาดหวัง

และไม่สามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้บริโภคได้ แนวโน้มในการซื้อสินค้าในครั้งต่อไปก็ย่อมน้อยลงและเปลี่ยนไปซื้อตราสินค้าอื่นแทน พฤติกรรมหลังการซื้อนี้มีความสำคัญต่อผู้บริโภคคือ

จะช่วยลดความไม่มั่นใจหรือความสงสัยของผู้บริโภคที่อาจเกิดขึ้นได้จากการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว นักการสื่อสารการตลาดจำเป็นที่ต้องทำการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง

เพื่อสร้างความมั่นใจและลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในใจของผู้บริโภคภายหลังการซื้อสินค้า ได้แก่ ความกดดันหรือความเครียดซึ่งเกิดขึ้นจากการที่สินค้าไม่สามารถตอบสนองความต้องการหรือไม่เป็นไปตามที่หวังไว้ได้

หรืออาจจะเกิดจากการที่ผู้บริโภครับรู้ว่ายังมีทางเลือกอื่น ๆ ทีดีกว่า นักสื่อสารการตลาดจึงควรให้ความสนใจในพฤติกรรมหลังการซื้อของผู้บริโภคเป็นอย่างมากด้วย

เนื่องจากกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในข้างต้นนั้นนับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้นักสื่อสารการตลาดสามารถที่จะเข้าใจในพฤติกรรมของผู้บริโภคได้อย่างดียิ่งอันจะช่วยให้สามารถวางแผนการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนัันแล้ว พฤติกรรมผู้บริโภค จะเป็นการแสดงออกของผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับการให้ได้มาการบริโภค และการกำจัดทิ้งซึ่งสินค้าและบริการ

พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้หมายถึงกิจกรรมที่แสดงออกทางร่างกายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของผู้บริโภคด้วย

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ปัจจัยหลัก

ปัจจัยภายใน คือลักษณะทางจิตวิทยาที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค ได้แก่ แรงจูงใจ การรับรู้ การเรียนรู้ ทัศนคติ บุคลิกภาพ และ รูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภค มีลักษณะที่แตกต่างกันไปแต่ละบุคคล และ

ปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยด้านภาวะแวดล้อม คือ ลักษณะทางสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค ได้แก่ ชนชั้นทางสังคม ครอบครัว

กลุ่มอ้างอิง และวัฒนธรรม ผู้บริโภคที่มีลักษณะของปัจจัยภายในและภายนอกแตกต่างกันย่อมส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคสินค้าและบริการที่แตกต่างกัน

กระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน คือ การตระหนักถึงปัญหา การแสวงหาข้อมูล การประเมินทางเลือก การตัดสินใจซื้อ และ พฤติกรรมหลังการซื้อ

 

 

 

Related link :   ราคาติดตั้งรั้วไฟฟ้า     ราคางานติดตั้งสัญญาณกันขโมย

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *