กล้องวงจรปิดปทุมธานี และกฎหมายควบคุมอาคารหรือ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 คือ กฎหมายที่ออกมาเพื่อควบคุมการก่อสร้างอาคารให้มีความมั่นคงแข็งแรง
มีระบบความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้อาคารนั้นๆ เช่น ระบบป้องกันอัคคีภัย ระบบการระบายอากาศ ระบบ กล้องวงจรปิด CCTV ฯลฯ และมีการจัดด้านการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ควบคู่กันไป เช่น การจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยสู่ทางระบายน้ำสาธารณะ
สอบถามข้อมูล สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา
HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542
กล้องวงจรปิดปทุมธานี
และหากไม่มีกฎระเบียบหรือกฎหมายคุมอาคารประเภทต่างๆ ที่มีมากมาย เช่น บ้านเรือนตึกแถว ตลาด สำนักงาน โรงเรียน โรงพยาบาล โรงแรม หรือสถานที่ชุมนุมคนเยอะๆ
อย่างอาคารสาธารณะที่คนเข้าไปใช้จำนวนมากในแต่ละวัน อาคารที่ว่าหากไม่มั่นคงแข็งแรงอาจจะมีการพังถล่ม ทรุดหรือเอียง หรือมีกรณีเกิดไฟไหม้ได้ ซึ่งจะเป็นอันตราย
ต่อความปลอดภัยในชีวิตของผู้อยู่อาศัย ตลอดจนทรัพย์สินต่างๆ ที่อยู่ในอาคารเหล่านั้น
ดังนั้นเจ้าหน้าที่รัฐโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง จึงได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย สมาคมสถาปนิกสยาม
ในพระบรมราชูปถัมภ์หรือหน่วยงานท้องถิ่นอย่างกรุงเทพมหานคร (กทม.) จึงออกกฎหมายควบคุมอาคารขึ้นมาบังคับใช้ผู้ก่อสร้างอาคาร รวมทั้งสถาปนิกวิศกรผู้ออกแบบ
สอบถามข้อมูล สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา
HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542
นอกจากกฎหมายที่เป็นกฎหมายควบคุมอาคารแล้วยังมีกฎหมายลูก เช่น กฎกระทรวง ข้อบังคับหรือข้อบัญญัติของท้องถิ่นที่ออกมาบังคับโดยเฉพาะ เช่น กทม.ก็จะออกข้อบัญญัติ
เทศบาลก็จะออกเป็นเทศบัญญัติ ส่วนองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จะออกเป็นข้อบัญญัติ อบต.
กฎหมายควบคุมอาคารหรือกฎหมายลูกแต่ฉบับที่มีการเพิ่มเติมหรือแก้ไข ซึ่งมีการประกาศใช้ในพระราชกฤษฎีกาแล้วจะมี “เขตควบคุมอาคาร” และเป็นพื้นที่อยู่ในเขตผังเมืองรวม
ผังเมืองชุมชม การที่จะก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้ายหรือเปลี่ยนสภาพการใช้อาคารก็ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นทั้งสิ้น เช่น ผู้ว่าราชการ กทม.
นายกเทศมนตรีในเขตเทศบาล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ในเขตจังหวัด นายกอบต.ในเขตอบต.เป็นต้น
แม้จะมีกฎหมายเพื่อควบคุมอาคารประเภทต่างๆแล้วก็ตาม แต่ในขั้นการใช้ของเจ้าของอาคารมักจะปล่อยปละละเลย ไม่มีการบำรุงรักษาอาคารและดูแลระบบป้องกันอัคคีภัย
ให้มีความพร้อมในการใช้งานกล่าวคือ ระบบป้องกันอัคคีภัยอาจจะไม่ทำงาน เช่น Fire Alarm, Smoke Detector (ตัวจับควัน), Sprinkle System (ระบบหัวจ่ายน้ำ)
รวมทั้งมีการต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและทรัพย์สินเสียหายอย่างกรณี เพลิงไหม้ “ซานติก้าผับ เอกมัย” หรือ ที่ “ไทเกอร์ดิสโก้ ภูเก็ต”
สอบถามข้อมูล สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา
HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542
กรมโยธาธิการและผังเมืองจึงได้เพิ่มเติมมาตรา 32 ทวิแห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 และออกกฎกระทรวงกำหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ พ.ศ.2548
และกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติเฉพาะผู้ตรวจสอบ หลักเกณฑ์การขอขึ้นทะเบียนและการเพิกถอนการขึ้นทะเบียนผู้ตรวจสอบ และหลักเกณฑ์การตรวจสอบอาคาร พ.ศ.2548
ขึ้นมาบังคับใช้สำหรับอาคารที่มีการเปิดใช้งานแล้ว
ทั้งนี้ตามมาตรา 32 ทวิแห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3) และกฎกระทรวงฉบับปี 2548 กำหนดให้เจ้าของอาคาร 9 ประเภทต้องมีการตรวจสอบอาคารคือ
1.อาคารสูง,
2.อาคารขนาดใหญ่พิเศษ,
3.อาคารชุมนุมคน,
4.โรงมหรสพ,
5.โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรมที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป,
6.สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้น,
7.อาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด หรืออาคารอยู่อาศัยรวมที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป,
8.อาคารโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานที่มีความสูงมากกว่า 1 ชั้นและมีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตรขึ้น
9. ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่สูงจากพื้นดินตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไปหรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตรขึ้น หรือป้ายที่ติดหรือตั้งบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคาร
หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 25 ตารางเมตรขึ้นไป
โดยเจ้าของอาคารหรือผู้ดูแลอาคารต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบด้านวิศวกรรม หรือผู้ตรวจสอบด้านสถาปัตยกรรมแล้วแต่กรณี ทำการตรวจสอบสภาพอาคาร แล้วรายงานผลการตรวจสอบ
ต่อพนักงานท้องถิ่นตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นปีแรกที่กฎกระทรวงข้างต้นมีผลบังคับใช้
สอบถามข้อมูล สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา
HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542
อย่างไรก็ตาม กฎกระทรวง พ.ศ.2548 มีการยกเว้นอาคารชุดหรืออาคารอยู่อาศัยรวมที่ไม่ใช่อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ซึ่งแบ่งเป็น 2 กรณีคือ 1.ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตร
แต่ไม่เกิน 50,000 ตารางเมตรให้ได้รับการยกเว้นเป็นเวลา 7 ปี แต่ต้องส่งรายงานก่อนวันที่ 25 ตุลาคม 2555 และ 2. ที่มีพื้นที่เกิน 5,000 ตารางเมตร ให้ได้รับยกเว้นเป็นเวลา 5 ปี
ส่งรายงานก่อน 25 ตุลาคม 2553
ทั้งนี้แม้มีกฎหมายดีอย่างไรก็ตาม หากไม่บทลงโทษหรือมีสภาพการบังคับใช้อย่างแท้จริง ก็ไม่สามารถควบคุมอาคารให้มีปลอดภัยหรือน่าอยู่อาศัยได้ เกี่ยวกับเรื่องนี้จึงมีบทลงโทษ เช่น กัน
คือ ในกรณีที่เจ้าของอาคารฝ่าฝืนไม่ดำเนินการตรวจสอบอาคารให้แล้วเสร็จตามเวลาก็จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
และปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ก็ต้องช่วยกันตรวจสอบและติดตามกันต่อไปว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวเคร่งครัดหรือไม่? หรืออาจจะละเว้นปฏิบัติ เพราะเลยกำหนดการส่งรายงาน
การตรวจสอบสำหรับอาคารอาคารชุดหรืออาคารอยู่อาศัยรวมมาเกือบ 1 ปีแล้ว
Related link :ราคากล้อง Fujiko กับงานติดตั้งบริษัท MR.PROM
สอบถามข้อมูล สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา