เป็นอีกหนึ่งงานที่ใช้เวลาในการติดตั้งนานข้ามปีกันเลยกว่าว่าได้ครับ สำหรับการติดตั้งกล้องวงจรปิดในหมู่บ้านนี้ เนื่องด้วยช่วงที่เริ่มงานติดตั้งเป็นหน้าฝนพอดี ประมาณปลายๆ ปี 64 มาเสร็จเอาอีกทีก็เดือนกุมภาพันธ์ ปี 65
ช่วงที่มีการทำงาน หรือเริ่มลงงานช่วงนั้นจำได้ว่ามีพายุขนาดเล็กๆ ไม่ใหญ่มากเข้าพื้นที่กรุงเทพฯอยู่หลายวัน ทำให้การทำงานไม่สะดวกเท่าทีควร ต้องทำๆ หยุดๆ เป็นบางช่วง เพราะลักษณะงานส่วนใหญ่แล้วเป็นการทำงานกลางแจ้ง
ลักษณะงานติดตั้งกล้องวงจรปิดในหมู่บ้าน นี้เป็นการเดินสายในระยะไกล ชึ่งแต่ละจุดอยู่ห่างไกลกันมาก ในจำนวนกล้องวงจรปิดที่น้อย ทำให้ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ของงาน ติดตั้งกล้องวงจรปิด ถนนพัฒนาการ นี้
สอบถามข้อมูล สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา
HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542
สารบัญ
- การเดินสายสัญญาณ
- จุดติดตั้งกล้องวงจรปิดในหมู่บ้าน
- จุดจ่ายไฟเลี้ยงกล้องวงจรปิด
- ตู้แร็ควางเครื่องบันทึกภาพกล้องวงจรปิด
- อุปกรณ์ต่างๆ สำหรับใช้ในงาน ติดตั้งกล้องวงจรปิดพัฒนาการ
เป็นเลือกของงบประมาณสายสัญญาณเสียเป็นส่วนใหญ่ ส่วนตัวกล้องวงจรปิด และเครื่องบันทึกภาพกล้องวงจรปิด อยู่ในสัดส่วนที่ไม่มากนัก อีกอย่างทางเข้าออกของหมู่บ้านนี้มีสองทาง
เลยทำให้การเดินสายสัญญาณเพื่อไปออกจอให้ที่ รปภ. ต้องสามารถดูได้ ทำให้เพิ่มงบประมาณค่าใช้จ่ายเข้าไปอีก กล้องวงจรปิดที่เลือกใช้งานในการติดตั้งครั้งนี้
ทางเราเลือกใช้งานกล้องของ Hikvision ความละเอียดอยู่ที่ 2 ล้านพิกเชล และ 4 ล้านพิกเชล ซึ่งกล้องวงจรปิดที่มีความคมชัดสูงอย่าง 4 ล้านพิกเซล จะนำไปติดตั้งบริเวณทางเข้าออกหมู่บ้าน
ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 จุด เลยเลือกใช้ฝั่งละ 2 ตัว เน้นตรวจจับบริเวณทางเข้า และทางออกของหมู่บ้าน เน้นชัดๆ ดูให้เห็นป้ายทะเบียน และการเข้าออกของลูกบ้านในหมู่บ้าน ซึ่งทางเข้าออกหมู่บ้านเอง
ก็มีชุดกล้องวงจรปิดดูป้ายทะเบียนรถ แยกออกอีกกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ
ปัญหาการติดตั้งกล้องวงจรปิดในหมู่บ้าน
1. การเดินสายสัญญาณ
การเดินสายสัญญาณจากส่วนกลางก็คืออาคารที่เป็นสโมสรทำการแยกสาย Fiber Optic ออกเป็น 3 ทิศทาง เนื่องด้วยตัวกล้องวงจรปิดเองถูกออกแบบการวางกล้องแต่ละจุดอยู่หากกันมากๆ
ทำให้ต้นทุนการใช้สายสัญญาณใยแก้วนำแสง มีระยะที่ไกลมากในแต่ละแนว ทำให้การลงทุนและงบประมาณในครั้งนี้หนังไปทางการลงทุนขั้นพื้นฐานการวางระบบ fiber optic กันซะเป็นส่วนใหญ่
แต่หากมองไปในอนาคต ก็แค่ซื้อกล้องวงจรปิดมาติดตั้งเพิ่มเติมได้อย่างสะบายไม่มีการลงทุนเรื่องสายสัญญาณมากเท่าไหรแล้ว ด้วยการเดินสายสัญญาณกล้องวงจรปิดที่มีระยะไกล
ช่างที่ทำงานก็เลยใช้เวลาในการลากสายแต่ละจุดค่อนข้างนานพอสำควรตอนแรกว่าจะเสร็จไม่เกิน 15 วัน เอาเข้าจริงๆ เกินกว่านั้นมาก อย่างเช่นปัญหาเรืองของฝน ฟ้า ไม่เป็นใจในการทำงานมากนักช่วงนั้น ฝนตกบ่อย
ซึ่งเมื่อเกิดฝนตกในแต่ละวัน ก็จะทำให้ช่างติดตั้งกล้องวงจรปิด ไม่กล้าที่จะทำการดึงสายสัญญาณจากเสาไฟฟ้าของหมู่บ้าน เพราะไม่มั่นใจเรื่องความปลอดภัยของสายสัญญาณและสายไฟที่อยู่บนเสาไฟฟ้ามากนัก
นอกจากการเดินสายสัญญาณด้วย Fiber Optic แล้ว เราก็ทำการจบด้วยสาย LAN ชนิดภายนอกอาคารในแต่ละจุด ซึ่งส่วนใหญ่ตัวกล้องวงจรปิดก็จะเกาะอยู่ที่เสาไฟฟ้าภายในหมู่บ้าน
แต่ปัญหาอีกเล็กน้อยทำให้ช่างติดตั้งกล้องไม่สะดวกนักก็จะเป็นเรื่องของการติดตั้งที่จะต้องขออนุญาตเจ้าของบ้าน เพื่อไปติดในบริเวณหลังบ้าน เพื่อดูรอบๆ รั้วของโครงการ
ซึ่งการเข้าไปทำงานภายในพื้นที่บ้านลูกค้าค่อนข้างไม่สะดวก เพราะการเข้าแต่ละครั้งต้องแจ้งขออนุญาติลูกค้าเจ้าของบ้านก่อนทึกครั้ง
การเดินสายสัญญาณอีกปัญหาหนึ่งก็คือการทำงานลากสาย ค่อนข้างอันตราย เพราะแนวการเดินสายจะเป็นแนวเสาไฟฟ้าตลอดของโครงการ ซึ่งเสาไฟฟ้าก็จะอยู่ติดกับถนนภายในหมู่บ้านที่มีรถสัญญาณอยู่ตลอดเวลา
ทำให้การตั้งบันได ตามบริเวณถนนต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างสูง กลัวว่าผู้ขับรถเองไม่เห็นบันไดที่วางเอาไว้ จึงต้องคอยมีช่างอีกคนไว้คอยทำการสื่อสารโบกรถให้เห็นว่า
ทีมงานติดตั้งกล้องวงจรปิดกำลังทำงานอยู่ในบริเวณนั้น นี้ก็เป็นอีกปัญหาที่เกิดขึ้นกับหน้างานจริงในการทำงานของ ช่างติดตั้งกล้องวงจรปิดในหมู่บ้านพัฒนาการ
2. จุดติดตั้งกล้องวงจรปิดในหมู่บ้าน
จุดติดตั้งกล้องวงจรปิดของงานนี้ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของการกระจายห่างๆ กัน ทำให้ต้องใช้สายสัญญาณมาก โดยภาพรวมแล้วกล้องที่ติดตั้งแต่ละจุดเป็นการเฝ้าระวังเป็นภาพรวมๆ เป็นส่วนใหญ่
ไม่ได้เฉพาะเจาะจงอะรไมาก เช่น กล้องวงจรปิดแยกวงเวียน กล้องวงจรปิดแนวรั้ว กล้องวงจรปิดริมคลองสาธารณะ รวมถึงกล้องวงจรปิดทางเข้าออกหมู่บ้านด้วย เป็นการเฝ้าระวังดูภาพรวมๆ
ซึ่งหากต้องการเน้นเฉพาะจุดก็จะต้องทำการเพิ่มเติมในภายหน้าได้ ต้องบอกก่อนว่าของเดิมทางหมู่บ้านมีกล้องวงจรปิดเก่า อยู่แล้วแต่เนื่องจากผ่านการใช้งานมากว่า 10 ปี
ภาพที่ได้ และคุณภาพการใช้งานก็ไม่สามารถทำงานได้แล้ว คราวนี้จึงได้ทำการเปลี่ยนใหม่หมด ทั้งตัวกล้องวงจรปิด และสายสัญญาณ จุดติดตั้งแต่ละจุดจึงเป็นการทดแทนจุดเก่าที่ใช้งานไม่ได้แล้ว
ซึ่งก็มีบางจุดที่จะต้องปรับเปลี่ยนไปจากเดิม ด้วยลักษณะพื้นที่ที่เปลี่ยนไป จุดติดตั้งกล้องวงจรปิดตัวเก่าไม่สามารถมองจุดนั้นได้แล้ว ก็ได้ทำการเปลี่ยนใหม่ ให้ได้ภาพที่ดีกว่าเดิม
งานติดตั้งกล้องวงจรปิด ในครั้งนี้มีจุดที่จะต้องให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยดูอยู่ด้วยกัน 2 จุดครับ ซึ่งอยู่ห่างกันมากกับสำนักงานนิติบุคคล ทางเราเลยต้องออกแบบให้เจ้าหน้าที่ดูภาพได้ทั้ง 2 ที่
ด้วยการดึงสายใยแก้วนำแสงออกไปยังป้อมต่างหากอย่างละเส้น เพื่อทำการเชื่อมต่อให้ออกจอได้ โดยเจ้าหน้าที่ที่เฝ้าระวังอยู่ที่ป้อม มีหน้าที่แค่ดูภาพเท่านั้นไม่สามารถที่จะกด
คลิ้กภาพอะไรได้ หรือไม่สามารถดึงภาพออกจากระบบ หากต้องการดูภาพย้อนหลัง จะต้องเข้าไปถึงที่สำนักงานได้อย่างเดียว
ปัญหาจุดติดตั้งกล้องวงจรปิดอีกอย่างหนึ่งก็คือนอกจากตัวกล้องวงจรปิดที่ติดตั้งตามแนวถนน และที่ป้อม รปภ. แล้ว ยังมีจุดติดตั้งที่อยู่ตามแนวรั้วเขตแดนของหมู่บ้าน
ซึ่งเป็นคลองสาธารณะขนาดใหญ่ จุดติดตั้งกล้องในแนวนี้มีปัญหาตรงที่ ต้องขออนุญาติเจ้าของบ้านเพื่อเข้าไปทำงาน เราไม่สามารถออกนอกรั้วเพื่อเดินไปทำงานได้เลย
เนื่องจากติดกับแนวคลองขนาดใหญ่ มีทางเดียวต้องขอความรวมมือจากเจ้าของบ้านตามจุดต่างๆ ทำให้ต้องแจ้งและตรวจโควิทให้กับเจ้าของบ้านได้ทราบถึงความพร้อมของช่างที่เข้าทำงานแต่ละหลังด้วย
3. จุดจ่ายไฟเลี้ยงกล้องวงจรปิด
แหล่งจ่ายไฟเลี้ยงกล้องวงจรปิดในหมู่บ้าน อย่างที่ทราบกันอยู่แล้วว่ากล้องวงจรปิดระบบไอพี เราทำการจ่ายไฟเลี้ยงกล้องไปตามสายแลนได้เลย ซึ่งแต่ละจุดที่ติดตั้งก็จะมีระบบไฟที่ใช้งานได้เลยอยู่แล้ว
แต่ก็มีบางจุดที่ไม่มีไฟฟ้าให้ใช้งานเลย อย่างเช่น แนวรั้วด้านนอก หรือภายในหมู่บ้าน แต่เป็นจุดติดตั้งใหม่ ทำให้ช่างติดตั้งกล้องวงจรปิดต้องทำการเดินสายไฟ เพื่อไปเลี้ยงตู้เก็บ PoE ใหม่ทั้งหมดเลย ซึ่งก็อยู่อยู่หลายจุดเหมือนกันที่เป็นลักษณะแบบนี้
การหาจุดเลี้ยงไฟ Switch PoE สำหรับจุดใหม่ๆ เราจะให้ทางเจ้าหน้าที่มาชี้จุดเพื่อทำการจั้มไฟให้ครับ โชคดีว่าบางจุดมีตู้ไฟฟ้าของหมู่บ้านอยู่ใกล้ๆ แต่บางจุดก็ไม่มีเลยต้องทำการเดินสายไฟฟ้าใหม่ไกลสุดก็กว่า 500 เมตร
ที่ต้องเดินใหม่ ก่อนนำไฟมาใช้งานเราได้ทำการตั้งอุปกรณ์เบรกเกอร์คั้นก่อนคับ เพื่อความปลอดภัยของอุกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งภายในตู้ของเราก็จะประกอบไปด้วยเบรกเกอร์ เต้าเสียบปลั้กไฟ
และสุดท้ายก็คือตัว PoE ที่ใช้สำหรับแปลงสัญญาณจ่ายไฟไปให้กล้องวงจรปิดของเรา อุปกรณ์การจ่ายไฟสำหรับงานกล้องวงจรปิดในครั้งนี้ไม่ได้ทำการติดตั้ง UPS
เนื่องด้วยงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด และอีกอย่างหากมีการติตดั้ง UPS เข้าไปด้วยเกรงว่าจะยิ่งเป็นปัญหา และค่าใช้จ่ายในอนาคตขึ้นมาอีก เพราะอย่างที่ทราบกันอยู่แล้วว่าอายุการใช้งานของ UPS เอง ทุกๆ 2 ปี
ก็ควรที่จะต้องเปลี่ยนแบทเตอร์รี่ใหม่ทุกครั้งเนื่องจากว่าเกิดการเสื่อมสภาพการใช้งาน ไม่สามารถเก็บพลังงานไฟฟ้าได้ และหากเก็บไม่ได้เวลาที่เกิดไฟฟ้าขัดข้อง ก็ต้องมาเปิดตู้ เพื่อทำการเปิดระบบ UPS ให้ทำงานทุกๆ ครั้งเหมือนกัน
กลายเป็นว่าผู้ใช้งานเองก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเรื่องการเปลี่ยนอุปกรณ์ และค่าใช้จ่ายในการเสียค่าแรงงานเพื่อจ้างช่างกล้องวงจรปิดมาแก้ไขให้ทุกๆ ครั้งโดยเกินความจำเป็น
เพราะอย่างน้อยหากเราไม่มีการใช้งาน UPS เพื่อป้องก้นการเสียหายที่เกิดจากไฟฟ้าตก ไฟฟ้ากระชาก ตัวสินค้ากล้องวงจรปิดก็มีการรับประก้นโดยตัวของมันเองอยู่แล้ว 3 ปี
หากเกิดการเสียหากก็ยังที่จะนำเข้าศูนย์เพื่อแก้ใขให้ใช้งานได้เหมือนเดิม ซึ่งระบบไฟฟ้าในกรุงเทพฯเอง ก็ถือว่ามีมาตรฐานดีอยู่แล้ว
4. ตู้แร็ควางเครื่องบันทึกภาพกล้องวงจรปิด
สำหรับจุดวางเครื่องบันทึกกล้องวงจรปิดนั้น มีการติดตั้งเอาไว้ที่สำนักงานนิติบุคคล เพื่อเป็นการเก็บข้อมูล และดูข้อมูลย้อนหลังได้จากที่จุดนี้จุดเดียว ทำการส่งสัญญาณภาพจากบริเวณนี้ไปยังป้อม รปภ. ทั้ง 2 ทางออกพร้อมๆ กัน
ซึ่งในส่วนของป้อม รปภ. จะมีการแบ่งกล้องวงจรปิดที่ดูแลแตกต่างกันออกไปครับ ตามความรับผิดชองของแต่ละฝั่ง ด้วยจำนวนกล้อง 20 ตัว ของทั้งโครงการ ทำให้การดูแล หรือเฝ้าระวังภาพจากกล้องวงจรปิดทำได้ง่ายและทั่วถึงแน่นอน
ในส่วนของการเก็บอุปกรณ์ต่างๆ ของระบบ เราได้ทำการติดตั้งตู้แร็คชนิดมาตรฐานของทาง Interlink มาใช้งานครับ ซึ่งมีความสูง 15 U เป็นขนาดที่ไม่ใหญ่ และไม่เล็กจนเกิดไป
เป็นชนิดตั้งอยู่กับพื้น เมื่อได้ทำการจัดเรียงเก็บอุปกรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ยังพอมีพื้นที่เหลืออยู่พอสมควร จึงดูแล้วไม่อึดอัดมากในการเก็บอุปกรณ์เข้าตู้
ถืงแม้ว่าภายในตู้แร็คเองอาจจะดูว่าตัว Media Converter จะมากเกินไป อยู่ที่ประมาณกว่า 10 ตัว ก็ยังพอจะมีพื้นที่ให้สามารถเพิ่มได้ในอนาคต
จุดวางเครื่องบันทึกเราได้มีจอเอาไว้ให้เจ้าหน้าที่ดูภาพรวมของระบบกล้องวงจรปิดทั้งหมดด้วย ตอนแรกก็ตั้งใจเอาไว้ว่าจะทำการยึดจอทีวีเอาไว้กับผนังห้อง เพื่อความสะดวก
แต่ดูแล้วว่าหากเกิดการยึดจอขึ้นมาอาจทำให้ผนังห้องของนิติ ดูไม่สวยงาม ก็เลยเปลี่ยนมาตั้งเอาไว้ที่บริเวณตู้แร็คแทน ซึ่งก็สะดวกดีเหมือนกัน ไม่ทำให้เกิดการเสียหาในขณะเจาะผนังเพื่อยึดจอ
แต่สำหรับจอทีวีที่อยู่ตามป้อม รปภ. 2 จุดนั้นทางเราได้ทำการยึดติดกับผนังเอาไว้เรียบร้อย เพื่อป้องกันไม่ให้ใครยกไปไหนได้
อุปกรณ์ต่างๆ สำหรับใช้ในงาน ติดตั้งกล้องวงจรปิดพัฒนาการ
1. เครื่องบันทึกภาพ DS-7732NI-K4
- รองรับการบีบอัดไฟล์ภาพแบบ H.265+
- รองรับกล้องวงจรปิดได้สูงสุด 32 กล้อง
- มีช่องต่อภาพออกจอเป็น HMII และ VGA อย่างละ 1 ช่อง
- สามารถใส่ HDD ได้ทั้งหมด 4 ลูกๆ ละไม่เกิน 10TB
- รองรับ Bandwidth ได้มากถึง 256 Mbps
2. กล้องวงจรปิด รุ่น DS-2CD2645FWD-IZS
- ความคมชัดอยู่ที่ 4 ล้านพิกเซล 2688 X 1520 @30 fps
- Image Sensor มีขนาด 1/2.5 ชนิด Progressive Scan CMOS
- มีขนาดของ Lens 2.8-12 mm ชนิด Varifocal สามารถปรับระยะการมองเห็นได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
- เป็นการบีบอัดไฟล์วีดีโอแบบ H.265+
- มีค่าการชดเชยแสงอยู่ที่ 120dB WDR
- ตัวอินฟาเรดสามารถส่องแสงสว่างได้ไกลได้มากถึง 50 เมตร ในเวลากลางคืน
- มีระบบป้องกันฝุ่น ป้องกันน้ำที่มาตรฐาน IP66
- สามารถใส่อุปกรณ์บันทึกภาพได้ที่ตัวกล้องชนิด MicroSD ที่ขนาดความจุไม่เกิน 128 GB
- รองรับการจ่ายไฟแบบ POE
3. กล้องวงจรปิดร รุ่น DS-2CD2T45FWD-I8
- มีความคมชัดของกล้องอยู่ที่ 4 ล้านพิกเซล 2688 X 1520 @30 fps
- มีขนาดของ Image Sensor ที่ 1/2.5 ชนิด Progressive Scan CMOS
- มีการบีบอัดไฟล์ภาพเป็นแบบ H.265+
- มีระยะของอินฟาเรดที่ใช้ส่องแสงสว่างในเวลากลางคืนได้ไกลถึง 50 เมตร
- มีระบบป้องกันฝุ่น ป้องกันน้ำ ที่มาตรฐาน IP67
- มีการ Built-in MicroSD Card โดยสามารถใส่ได้ที่ความจุไม่เกิน 128 GB
- มีมาตรฐาน ONVIF
- รองรับการจ่ายไฟด้วย POE
- ตัววัสดุทำจากโลหะชนิดแข็ง
สรุป
สำหรับพื้นที่ที่ต้องการความปลอดภัย ด้วยกล้องวงจรปิดไม่ว่าจะเป็นงานเล็ก หรืองานใหญ่ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้เลยครับ นอกจากนี้เรายังมีบริการรักษาความปลอดภัยด้วย รั้วไฟฟ้า และ สัญญาณกันขโมยไร้สาย ด้วยครับ
สอบถามข้อมูล สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา