กล้องวงจรปิดในลิฟต์

HK-600E Series Laser/Led Optical Video Transmission เป็นระบบส่งสัญญาณภาพวีดีโอซึ่งออกแบบไว้เพื่อทดแทนการเดินสายสัญญาณภาพ กล้องวงจรปิดในลิฟต์ ทั้งนั้เพื่อแก้ปัญหาค่าใช้จ่ายสิ้นเปลือง และ ปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดจากการเดินสายเคเบิล

กล้องวงจรปิดในลิฟต์

การส่งสัญญาณภาพ หรือ เสียง ด้วยแสงเลเซอร์ ช่วยให้ภาพวีดีโอมีคุณภาพสูง และ มีความปลอดภัยในระยะยาว การหลีกเลี่ยงการเดินสายเคเบิลส่งสัญญาณภาพวีดีโอ ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการดูแล และ ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบซ่อมบำรุง

HK-600E Laser Optical Video Transmitter

Laser Optical Video Transmitter สามารถส่งสัญญาณภาพกล้องวงจรปิดในลิฟท์ที่คมชัดในระดับคุณภาพของ DVD การใช้แสงเลเซอร์ส่งสัญญาณภาพกล้อง CCTV ในลิฟท์ มีการใช้งานที่ยาวนานกว่าการใช้สายเคเบิลห้อยใต้ลิปต์

ซึ่งเป็นวิธีแบบเก่า ซึ่งมีความเสียงสูง และ อาจเกิดปัญหาสายเคเบิลพันกับสายคอนโทรลของลิปต์ ซึ่งทางบริษัทเจ้าของผู้ด฿แลลิปต์เองส่วนใหญ่ จะไม่สนับสนุนให้เดินสายเคเบิลกล้องวงจรปิดในลิฟต์ เพราะอาจสร้างปัญหายุ่งยากอื่น ๆ ตามมา

ติดกล้องวงจรปิดในลิฟท์

สารบัญ

  1.  เหตุผลและข้อดีของระบบส่งสัญญาณภาพไร้สายสำหรับกล้วงวงจรปิดในลิฟท์
  2. ตารางเปรียบเทียบระหว่างการใช้สายเคเบิล
  3. ปัญหาที่เกิดจากการเดินสายกล้องวงจรปิดในลิฟท์
  4. นิยามและศัพย์เทคนิคทั่วไปของลิฟท์
  5. ปล่องลิฟท์และอุปกรณ์ประกอบ
  6. นิยามและศัพย์เทคนิคห้องลิฟท์
  7. ประตูลิฟท์และอุปกรณ์ประกอบ
  8. ปล่องลิฟท์
  9. ก่อนการจะติดกล้องวงจรปิดในลิฟท์ควรตรวจเช็คประตู
  10. ทำความรู้จักประตูปล่องลิฟท์ก่อนติดตั้ง
  11. ผนัง พื้น และหลังคาตัวลิฟท์
  12. การติดตั้งกล้องในลิฟท์ควรมีการป้องกันขณะที่ประตูลิฟท์ทำงาน
  13. เครื่องนิรภัยจัดเป็นอุปกรณ์ความปลอดภัย ตามมาตรฐาน EN81 (1998)
  14. สวิตช์หยุดลิฟท์
  15. การติดตั้งไฟฟ้าและส่วนประกอบ
  16. สวิตซ์เมน
  17. การเดินสายไฟและการติดตั้งตามมาตรฐานของ ว.ส.ท.
  18. การวิเคราะห์ข้อบกพร่อง
  19. อุปกรณ์ความปลอดภัยทางไฟฟ้า
  20. การควบคุมการทำงานของลิฟท์ในระหว่างการติดตั้ง
  21. การควบคุมลิฟท์ขณะทำการตรวจสอบ
  22. คำแนะนำและคู่มือการใช้งาน
  23. ลิฟท์ส่งของ (Dumbwaiters)
  24. ลิฟท์สำหรับคนพิการ (Disable Lift)
  25. ลิฟท์เตียงคนไข้ (Bed Lift)
  26. การตรวจสอบและการทดสอบลิฟท์ที่ติดตั้งเสร็จ
  27. การปรับปรุงพัฒนาระบบลิฟต์
  28. ผลประโยชน์ทั่วไฟที่ได้จากการปรับปรุงพัฒนาระบบลิฟท์
  29. การตรวจสอบบำรุงรักษาระบบลิฟท์
  30. ลิฟต์ระบบไฟฟ้า
  31. Laser Optical Video Transmitter คืออะไร

ตรวจเช็คจำนวนสินค้า | ข้อมูลสินค้า | ขอใบเสนอราคา

ติดต่อทางลายแอท
เฟสบุค
ติดต่อทางเมล
ติดต่อด่วน
ฝ่ายขายกล้องวงจรปิด
ฝ่ายขายกล้องวงจรปิด2

 

 

ปัญหาของการเดินสายเคเบิลในลิฟท์เป็นปัญหาเรื้อรังไม่รู้จบ สายกล้องที่ห้อยอยู่ใต้ลิฟท์ มีผลกระทบที่น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับการปลอดภัยในกลไกการปฎิบัติงานของลิฟท์ รวมถึงการซ่อมบำรุงรักษา และ ต้นทุนในการตรวจสอบ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น

ในปัจจุบันระบบส่งสัญญาณภาพไรสายด้วยแสงเลเซอร์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากทั่วโลก เพราะเป็นระบบที่ติดตั้งง่าย ต้นทุนต่ำ และมีความปลอดภัยสูง ดังนั้นอาคารสูงส่วนใหญ่จึงเลือกระบบเลเซอร์เข้ามาแทนที่การเดินสายด้วยเคเบิล

ลิฟต์

เหตุผล และ ข้อดีของระบบส่งสัญญาณภาพไรสายสำหรับกล้องวงจรปิดในลิฟท์

  1. ติดตั้งง่าย โดยใช้หลักการส่งสัญญาณภาพ ผ่านคลื่นพาหะของแสงเลเซอร์

  2. ตัดปัญหาเรื่องสายสัญญาณกล้องวงจรปิดในลิปต์

  3. สามารถส่งสัญญาณภาพวีดีโอสูง (DVD) โดยไม่ส่งผลกระทบในการส่งสัญญาณภาพในระยะไกล

  4. มีระยะการใช้งานที่ยาวนานมาก

  5. ติดตั้งง่ายไม่รบกวนการทำงานของลิปต์

  6. สามารถใช้กับกล้อง CCTV ระบบ Analog ที่มีรายละเอียดความคมชัดเป็น TVLได้ทุกระบบ

  7. ไม่โดนคลื่นวิทยุรบกวน และไม่มีการเหนี่ยวนําสัญญาณรบกวนจากมอเตอร์ขับลิฟต์

  8. ไม่จําเป็นต้องขอใบอนุญาตและเสียค่าธรรมเนียมบ่อย

  9. มีความทนทานต่อฝุ่นผงต่างๆ

ตารางการเปรียบเทียบระหว่างการใช้สายเคเบิล และ HK600E Laser/Led Optical Video Tranmitter

(ข้อมูลเปรียบเทียบจากการติดตั้งจริงในอาคารสูง 40 ชั้น)

รายละเอียดทั่วไปสำหรับ
การติดตั้งกล้อง CCTV ในลิฟต์

สายเคเบิล

Laser  Optical Video Transmiter (HK-600E)

จำนวนผู้ติดตั้ง

3 คน

2 คน

เวลาที่ใช้ในการติดตั้ง

มากกว่า 6 ซม.

น้อยกว่า 4 ชม.

ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง

สายเคเบิลสามารถขาดได้และเสียหายบ่อยครั้ง (โดยค่าเฉลี่ยสายเคเบิลจะต้องเปลี่ยนใหม่ทุก 8 เดือน) และการเปลี่ยนจะต้องมีการถอดสายเคเบิลออกเพื่อติดตั้งใหม่ทุกครั้ง

ไม่มีค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาไม่มีการซ่อมและเซอร์วิสระบบสายสัญญาณใช้ได้ในตึกสูง 990 ฟุต (300 เมตร) หรือเท่ากับอาคารประมาณ 70 ชั้น)

ปัญหาต่างๆ และความปลอดภัย

ค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานขับลิฟต์ ค่าพนักงานร้อยสายเคเบิล

ค่าใช้จ่ายวัตถุดิบสายเคเบิลหรือสายแพร์ลิฟต์สูงมาก (ต้องใช้สายคุณภาพดีที่ได้มาตรฐานสำหรับการติดตั้งในลิฟต์) ถ้าตึกยิ่งสูงก็ยิ่งมีค่าติดตั้งที่สูงขึ้น และปัญหาต่างๆมากขึ้น

ไม่มีปัญหาที่เกิดจากสายเคเบิล ลดการ Service Maintenance

การลดทอนของสัญญาณและความคมชัด

ระยะทางยิ่งไกล สัญญาณภาพจะดร็อป และมืดลงตามความยาวของสายสัญญาณ รวมไปถึงสัญญาณรบกวนเพิ่มขึ้น

ระยะทางไม่มีผล สัญญาณยังคงเท่าเดิม รวมถึงไม่มีสัญญาณรบกวน เพราะใช้การส่งสัญญาณผ่านระบบแสงเลเซอร์ไร้สาย

การรับประกันสินค้า

ไม่มีการรับประกัน

รับประกันสินค้า 2 ปีนับจากวันที่ซื้อ

           Wireless Solution for Wlevator  Instllation method 1 : Install the system under the Elevator Car

 

รูปแบบการติดตั้ง

Instllation method 2 : Install the system above the Elevator Car

CCTV กล้องวงจรปิดในลิฟต์ HK-600E Laser Optical Video Transmitter

HK600E RX to DVR : Balun (Twisted-Pair) Cable Connection

HK-600E

แนะนำสินค้าเกี่ยวกับกล้องวงจรปิด :    1.  โปรโมชั่นกล้องวงจรปิด
                                                                           2.  สินค้ากล้องวงจรปิด

 

 

สายสัญญาณในลิฟท์

ปัญหาที่เกิดจากการเดินสายกล้องวงจรปิดในลิฟท์

การเดินสายกล้องวงจรปิดห้อยไปกับสายแพร์ลิฟท์จัดได้ว่าเป็นเรื่องที่อันตราย ตัวอย่างในภาพนี้ คือ การเดินสายที่จัดเก็บงานไม่เรียบร้อย ทุกครั้งที่สาย RG59 (สายอ่อนสำหรับลิปต์) หรือ สาย RG66 (สายแข็งไม่เหมาะกับงานในลิฟท์) แนบไปกับสายแพร์ลิฟท์

บริษัทกล้องวงจรปิดจะต้องมีความเสี่ยงกับการที่สายกล้องจะพันกับสายแพร์เสมอ แม้จะทำงานติดตั้งเคเบิลโดยผู้เชียวชาญก็ตาม เพราะช่องลิปต์ใรแต่ละอาคารมีขนาดไม่เท่ากัน และ อาจมีอุปสรรคที่ไม่คาดฝันรออยู่เสมอ (ถ้าสายกล้องันสายแพร์ลิฟท์จะต้องจ่ายค่าเสียหายเป็นเงินจำนวนที่แพงมาก)

ความเสียหายสายสัญญาณ

ตรวจเช็คจำนวนสินค้า | ข้อมูลสินค้า | ขอใบเสนอราคา

ติดต่อทางลายแอท
เฟสบุค
ติดต่อทางเมล
ติดต่อด่วน
ฝ่ายขายกล้องวงจรปิด
ฝ่ายขายกล้องวงจรปิด2

ลิฟท์รุ่นใหม่จะมีสายแพร์ลิฟท์ซึ่งมีสายกล้องวงจรปิดรวมอยู่ด้วย แต่ขึ้นชื่อว่าสายเคเบิลย่อมมีโอกาศชำรุดได้เสมอ ซึ่งสายแพร์ลิปต์ดังรูปข้างล่างนี่้ มีราคาแพงมาก ถ้าเสียเพียงเส้นเดียวต้องเปลียนใหม่ยกชุด ไม่สามารถซ่อมได้ และ เมื่อถึงเวลาก็ต้องมีการขายชำรุดอีกครั้งอย่างแน่นอน

สายแพร์ในลิฟท์

(ลักษณะสายแพร์ที่มากับลิป)

นิยามและศัพท์เทคนิคทั่วไปของลิฟต์ ซึ่งจะมีดังต่อไปนี้

  1. ความเร็วที่กำหนด (Rate speed) หมายถึง ความเร็วปกติที่ลิฟต์สามารถเคลื่อนที่ขึ้น-ลงได้ตามที่กำหนด หน่วยเป็นเมตรต่อวินาที

  2. มวลบรรทุกที่กำหนด (Rated Load) หมายถึง มวลบรรทุกตามพิกัดซึ่งลิฟต์ต้องสามารถเคลื่อนที่ขึ้นและลงได้ตามความเร็วที่กำหนด ที่ได้ออกแบบและติดตั้ง

  3. ลิฟต์ (Lift) หมายถึง พาหนะที่ใช้สำหรับบรรทุกผู้โดยสาร หรือสิ่งของขึ้นลงทางแนวดิ่ง โดยมีรางบังคับ ซึ่งจะมีระบบรักษาความปลอดภัยอย่างการติดตั้งกล้องวงจรปิดในลิฟต์

  4. ลิฟต์โดยสาร (Passenger lift) หมายถึง ลิฟต์เพื่อใช้ขนถ่ายผู้โดยสาร โดยมีห้องลิฟต์ซึ่งเคลื่อนที่ตามรางบังคับในแนวดิ่ง

  5. 5.ลิฟต์ขนของ (Goods lift or Freight lift) หมายถึง ลิฟต์เพื่อใช้ขนของ และใช้โดยสารได้เฉพาะผู้ควบคุมลิฟต์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขนของเท่านั้นโดยมีห้องลิฟต์ซึ่งเคลื่อนที่ตามแนวรางบังคับในแนวดิ่ง

  6. ลิฟต์เตียงคนไข้ (Bed lift) หมายถึง ลิฟต์เพื่อใช้ขนถ่ายเตียงคนไข้ โดยมีห้องลิฟต์ซึ่งเคลื่อนที่ตามรางบังคับในแนวดิ่ง

  7. ลิฟต์พนักงานดับเพลิง (Fireman’s lift) หมายถึง ลิฟต์เพื่อใช้ขนถ่ายผู้โดยสารที่จัดให้เป็นพิเศษสำหรับให้พนักงานดับเพลิงใช้ปฏิบัติหน้าที่ในขณะที่เกิดอัคคีภัยในอาคารโดยมีห้องลิฟต์ซึ่งเคลื่อนที่ตามรางบังคับในแนวดิ่ง

ลิฟต์ส่งของ (Dumbwaiters) หมายถึง ลิฟต์เพื่อใช้ส่งของไปยังระดับชั้นที่เจาะจงไว้และห้ามโดยสารเด็ดขาด โดยมีห้องลิฟต์ซึ่งเคลื่อนที่ตามรางบังคับในแนวดิ่ง

ปล่องลิฟต์และอุปกรณ์ประกอบ

  1. ปล่องลิฟต์ (Hoist way หรือ Lift well) หมายถึง ส่วนอาคาร ซึ่งออกแบบก่อนสร้างไว้สำหรับติดตั้งลิฟต์ มีลักษณะเป็นปล่องทะลุติดต่อระหว่างชั้นตลอดความสูงที่ลิฟต์เคลื่อนที่ขึ้นลงรวมทั้งส่วนที่เป็นปล่องลิฟต์ขึ้นไป จนถึงใต้พื้นห้องเครื่องหรือใต้พื้นหลังคา

  2. บ่อลิฟต์ (Pit) หมายถึง ส่วนของปล่องลิฟต์จากระดับพื้นชั้นจอดล่างสุดไปจนถึงพื้นปล่องลิฟต์

  3. ระยะเคลื่อน (Travel) หมายถึง ระยะทางในแนวดิ่งระหว่างชั้นจอดล่างสุดถึงชั้นจอดบนสุดของลิฟต์

  4. โครงสร้างบนปล่องลิฟต์ (Overhead structure) หมายถึง สิ่งก่อสร้างทั้งหมดรวมทั้งพื้นที่รองรับเครื่องลิฟต์ รอกและบริภัณฑ์ซึ่งติดตั้งอยู่บนปล่องลิฟต์

  5. รางบังคับ (Guide rail) หมายถึง รางที่บังคับการขึ้นลงของลิฟต์หรือน้ำหนักถ่วงตลอดแนวปล่องลิฟต์

  6. กลอุปกรณ์จำกัดความเร็วชั้นปลายชุดฉุกเฉิน (Emergency terminal speed limited device) หมายถึง กลอุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่ลดความเร็วโดยอัตโนมัติ เมื่อตัวลิฟต์เข้าใกล้ชั้นจอดบนสุดหรือล่างสุด ซึ่งทำงานอิสระไม่ขึ้นกับกลอุปกรณ์บังคับการทำงานและกลอุปกรณ์หยุดชั้นปลายชุดปกติ กลอุปกรณ์นี้จะทำงานเมื่ออุปกรณ์หยุดชั้นปลายชุดปกติไม่ทำงาน

  7. กลอุปกรณ์ปรับระดับในเขตบรรทุก (Truck zoning device ) หมายถึง กลอุปกรณ์ที่ผู้ใช้ลิฟต์สามารถใช้ปรับตัวลิฟต์ให้เคลื่อนที่ได้ภายในเขตบรรทุก ในขณะที่ประตูลิฟต์หรือประตูปล่องลิฟต์เปิดอยู่

  8. กลอุปกรณ์หยุดชั้นปลายชุดปกติ (Normal terminal stopping device) หมายถึง กลอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ลดความเร็วเมื่อตัวลิฟต์เข้าใกล้ชั้นจอดบนสุดหรือล่างสุดและหยุดตัวลิฟต์ถึงชั้นจอดบนสุดหรือล่างสุด ซึ่งทำงานเป็นอิสระไม่ขึ้นกับการทำงานของกลอุปกรณ์บังคับการทำงาน

  9. ชั้นจอด (Landing) หมายถึงส่วนพื้นโถงหน้าลิฟต์ หรือพื้นที่รับส่งผู้โดยสารหรือสิ่งของ

  10. เขตจอด (Landing zone) หมายถึง บริเวณตั้งแต่จุดห่าง 450 มิลลิเมตร เหนือชั้นจอดลงไป ถึงจุดห่าง 450 มิลลิเมตร ใต้ชั้นจอด

  11. เขตปรับระดับ (Releveling zone) หมายถึง ระยะทางจำกัดเหนือหรือใต้ชั้นจอดที่กลอุปกรณ์ปรับระดับจะทำงาน

  12. ชั้นจอดบนสุด (Top terminal landing) หมายถึง ชั้นบนสุดที่ลิฟต์จอดเพื่อให้บริการ ซึ่งจัดให้มีประตูปล่องลิฟต์และกลอุปกรณ์ล็อคประตูปล่องลิฟต์

  13. ชั้นจอดล่างสุด (Bottom terminal landing) หมายถึง ชั้นล่างสุดที่ลิฟต์จอดเพื่อให้บริการ ซึ่งจัดให้มีประตูปล่องลิฟต์และกลอุปกรณ์ล็อกประตูปล่องลิฟต์

  14. ชั้นสุดท้าย (Terminal landing) หมายถึงชั้นจอดบนสุด หรือล่างสุด

  15. ระยะห่างบนสุดของตัวลิฟต์ (Top car clearance) หมายถึง ระยะห่างน้อยที่สุดในแนวดิ่งระหว่างส่วนบนสุดของเหล็กคานบนของตัวลิฟต์ หรือส่วนบนสุดของตัวลิฟต์ กับส่วนที่ใกล้ที่สุดของโครงสร้างบนสุด หรือส่วนกีดขวางอื่นๆใต้พื้นห้องเครื่องมือพื้นตัวลิฟต์อยู่ในระดับชั้นบนสุด

  16. ระยะห่างบนสุดของน้ำหนักถ่วง (Top counterweight clearance) หมายถึง ระยะห่างน้อยที่สุดในแนวดิ่งระหว่างส่วนใดๆ ของโครงน้ำหนักถ่วง กับส่วนที่ใกล้ที่สุดของโครงสร้างบนสุด หรือส่วนกีดขวางอื่นๆ ใต้พื้นห้องเครื่อง เมื่อพื้นตัวลิฟต์อยู่ในระดับชั้นล่างสุด

  17. ระยะห่างปลอดภัยของตัวลิฟต์ (Bottom elevator car runby) หมายถึง ระยะระหว่างแผ่นรองรับใต้พื้นลิฟต์กับผิวบนของอุปกรณ์ลดแรงกระแทก เมื่อตัวลิฟต์อยู่ในระดับชั้นล่างสุด

  18. ระยะห่างปลอดภัยของน้ำหนักถ่วง (Bottom elevator counterweight runby) หมายถึง ระยะระหว่างแผ่นรองรับใต้น้ำหนักถ่วง กับผิวบนของอุปกรณ์ลดแรงกระแทกเมื่อตัวลิฟต์อยู่ในระดับชั้นบนสุด

  19. ระยะห่างล่างสุดของตัวลิฟต์ (Bottom car clearance) หมายถึงระยะห่างจากพื้นบ่อลิฟต์กับโครงสร้างที่อยู่ล่างสุดหรือบริภัณฑ์หรือกลอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ข้างใต้พื้นตัวลิฟต์ ยกเว้นตัวนำร่องหรือล้อ ชิ้นส่วนนิรภัย และกระบังหรือส่วนป้องกันของพื้นตัวลิฟต์ เมื่อตัวลิฟต์ทับอยู่บนอุปกรณ์รับแรงกระแทกจนสุดระยะอัด

ตรวจเช็คจำนวนสินค้า | ข้อมูลสินค้า | ขอใบเสนอราคา

ติดต่อทางลายแอท
เฟสบุค
ติดต่อทางเมล
ติดต่อด่วน
ฝ่ายขายกล้องวงจรปิด
ฝ่ายขายกล้องวงจรปิด2

นิยามและศัพท์เทคนิคห้องลิฟต์และอุปกรณ์ประกอบของลิฟต์ ซึ่งจะมีดังต่อไปนี้

  1. ตัวลิฟต์ (Car) หมายถึง ส่วนที่ใช้บรรทุกผู้โดยสารหรือสิ่งของ ซึ่งรวมทั้งพื้นตัวลิฟต์สาแหรก ห้องลิฟต์ และประตูลิฟต์

  2. ห้องลิฟต์ (Car enclosure) หมายถึง โครงและส่วนประกอบที่เป็นเพดาน และผนังรอบๆ ตัวลิฟต์ซึ่งประกอบติดอยู่บนพื้นตัวลิฟต์

  3. พื้นตัวลิฟต์ (Platform) หมายถึง โครงสร้างส่วนพื้นทั้งหมดของตัวลิฟต์ที่รองรับมวลบรรทุก

  4. สาแหรก (Car frame) หมายถึง โครงซึ่งประกอบด้วยเหล็กคานบน เหล็กเสาข้าง และเหล็กคานล่างยึดกันเป็นโครงสาแหรกรองรับพื้นตัวลิฟต์ สาแหรกนี้จะมีตัวนำร่อง เครื่องนิรภัย ห่วงแขวนเชือกลวดแขวนหรือโซ่ หรือรอกติดตั้งอยู่

  5. ตัวนำร่อง (Guide shoe) หมายถึง กลอุปกรณ์ที่ติดกับสาแหรก หรือโครงน้ำหนักถ่วงทั้งด้านบน และด้านล่าง เพื่อบังคับให้ตัวลิฟต์และน้ำหนักถ่วงเคลื่อนที่ลงในแนวของรางบังคับ

  6. เครื่องนิรภัย (Safety gear) หมายถึง กลอุปกรณ์ทางกลที่ติดอยู่กับสาแหรกหรือโครงน้ำหนักถ่วง และจะทำงานเมื่อตัวลิฟต์หรือน้ำหนักถ่วงเคลื่อนลงด้วยความเร็วเกินพิกัดหรือเมื่อเชือกลวดแขวนลิฟต์ขาด

  7. สายส่งสัญญาณชนิดอ่อน (Traveling cable) หมายถึง สายสัญญาณไฟฟ้าที่สามารถโค้งยืดหยุ่นได้ ซึ่งต่อระหว่างตัวลิฟต์กับขั้วต่อในปล่องลิฟต์หรือที่ห้องเครื่อง หรือใช้ในงานติดตั้ง กล้องวงจรปิดในลิฟต์

  8. เชือกลวดชดเชย (Compensating rope or chain) หมายถึง เชือกลวดหรือโซ่ที่ใช้ชดเชยน้ำหนักเชือกลวดแขวน ซึ่งอาจจะทำจากเส้นลวดตีเหลียวหรือโซ่เหล็ก ในกรณีที่ทำจากโซ่เหล็กจำเป็นที่ต้องมีอุปกรณ์ป้องกันข้อโซ่เคลื่อนที่ซึ่งอาจจะทำให้เกิดเสียงดัง

  9. กลอุปกรณ์ปรับความตึงเชือกลวดแขวน (Suspension rope equalizer) หมายถึงกลอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนตัวลิฟต์หรือน้ำหนักถ่วงเพื่อปรับความตึงเชือกลวดแขวนทุกเส้นให้เท่ากันโดยอัตโนมัติ

  10. กลอุปกรณ์ปรับระดับ (Leveling device) หมายถึงอุปกรณ์ที่ทำงานโดยอัตโนมัติหรือควบคุมโดยพนักงานประจำลิฟต์ เพื่อปรับตัวลิฟต์ที่อยู่ในเขตปรับระดับ (Leveling zone) ให้หยุดโดยอัตโนมัติตรงระดับชั้นจอด

  11. น้ำหนักถ่วง (Counter weight) หมายถึงที่แขวนเพื่อถ่วงน้ำหนักของตัวลิฟต์ในการเคลื่อนท่ขึ้นลง

ประตูลิฟต์และอุปกรณ์ประกอบ

  1. ประตูปล่องลิฟต์ (Hoistway door) หมายถึง ประตูชั้นนอก หรือประตูที่อยู่กับปล่องลิฟต์ในชั้นจอดต่างๆ

  2. ประตูลิฟต์ (Car door) หมายถึง ประตูชั้นในหรือประตูที่ติดอยู่กับตัวลิฟต์

  3. ตัวนำร่องประตู (Door guide shoe) หมายถึงกลอุปกรณ์ที่ติดอยู่กับขอบล่างของบานประตูเพื่อบังคับบานประตูให้ตั้งตรงในแนวดิ่ง และเคลื่อนที่ในแนวระดับตามแนวของร่องธรณีประตู

  4. ตัวรองรับธรณีประตู (Sill support) หมายถึงโครงเหล็กหรือแนวปูนที่ใช้รองรับธรณีประตูลิฟต์ ซึ่งมีความแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักคนหรือสิ่งของได้

  5. ธรณีประตูลิฟต์ (Sill) หมายถึง ธรณีประตูทำด้วยโลหะ และมีร่องยาวตลอดเพื่อให้ประตูเคลื่อนที่ตามแนวร่องธรณีประตูลิฟต์อาจทำจากวัสดุอื่นๆ เช่นเหล็กหรือสแตนเลส

  6. ประตูกึ่งอัตโนมัติ (Semi automatic gate) หมายถึง ประตูที่เปิดได้ด้วยมือ และปิดเองอัตโนมัติ

  7. กลอุปกรณ์ปลดล็อกประตู (Unlock devie) หมายถึง กลอุปกรณ์ทางกลหรือทางไฟฟ้า ซึ่งทำให้สามารถเปิดประตูปล่อยลิฟต์ได้จากภายนอก และต้องเป็นกุญแจแบพิเศษไม่เหมือนกุญแจทั่วไป

  8. กลอุปกรณ์ล็อกประตูล่องลิฟต์ (Hoistway door locking device) หมายถึง กลอุปกรณ์ที่ทำให้ปล่องลิฟต์จากาภายนอก ยกเว้นการเปิดเงื่อนไขพิเศษ

ลิฟท์

ปล่องลิฟต์

ผนังรอบปล่องลิฟต์ ลิฟต์จะถูกแยกจากส่วนอื่นของอาคารโดย ผนัง พื้นบ่อ และเพดานปล่องลิฟต์  หรือ พื้นที่โดยรอบว่างที่เพียงพอ

  1. ปล่องลิฟต์ชนิดทึบ

    ปล่องลิฟต์ชนิดทึบที่ถูกออกแบบให้ป้องกันการกระจายเพลิงจะต้องถูกปิดทั้งหมดด้วยผนัง พื้นบ่อ และเพดานปล่องลิฟต์ ช่องเปิดที่อนุญาตให้มีการเดินสายระบบ กล้องวงจรปิดในลิฟต์ ได้ คือ

    • ช่องเปิดสำหรับประตูปล่องลิฟต์

    • ช่องเปิดเพื่อการตรวจสอบและประตูฉุกเฉินของปล่องลิฟต์ และช่องที่ใช้ตรวจสอบ

    • ช่องเปิดที่ใช้เพื่อการระบายก๊าซ และควันในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้ช่องระบายอากาศ

    • ช่องเปิดที่จำเป็นในการทำงานระหว่างปล่องลิฟต์และห้องเครื่องหรือห้องรอก

    • ช่องเปิดของแผงกั้นระหว่างลิฟต์ตามที่ระบุใน 6

  2. ปล่องลิฟต์ชนิดทึบบางส่วน

    ปล่องลิฟต์ที่ไม่ได้ออกแบบเพื่อป้องกันการกระจายเพลิง เช่น ลิฟต์แก้ว (observation  lift) ที่ติดตั้งกับระเบียงหรือในห้องโถงของอาคารสูง เป็นต้น ปล่องลิฟต์ดังกล่าวไม่จำเป็นต้องถูกปิดทึบทั้งหมด แต่มีเงื่อนไข คือ

    1. ความสูงของผนังปิดจะต้องเพียงพอที่จะป้องกันคนมิให้

      • เกิดอันตรายจากชิ้นส่วนเคลื่อนที่ของลิฟต์ และ

      • รบกวนการทำงานที่ปลอดภัยของลิฟต์ด้วยการเข้าถึงอุปกรณ์ของลิฟต์ภายในช่องลิฟต์โดยตรง หรือโดยการใช้วัสดุอื่นๆ

                   2. ความสูงของผนังที่ถือว่าเพียงพอคือ

  1. ไม่น้อยกว่า 3.50 เมตร ที่ด้านประตูปล่องลิฟต์

  2. ไม่น้อยกว่า 2.50 เมตร ที่ด้านอื่นๆ ซึ่งมีระยะห่างตามแนวระดับจากชิ้นส่วนเคลื่อนที่ของลิฟต์อย่างน้อย 0.50 เมตร ถ้าระยะห่างจากชิ้นส่วนเคลื่อนที่มากกว่า 0.50 เมตร ระยะความสูง 2.50 เมตรดังกล่าวสามารถลดลงได้ตามลำดับจนถึงค่าความสูงน้อยที่สุด 1.10 เมตร ที่ระยะห่าง 2.00 เมตร

    1. ผนังในข้อ2.1 จะต้องปิดทึบ

    2. จะต้องติดตั้งผนังปิดภายในระยะไม่เกิน 0.15 เมตร จากขอบของพื้นบันไดหรือฐาน

    3. จะต้องมีการป้องกันการรบกวนการทำงานของลิฟต์จากอุปกรณ์อื่น

    4. จะต้องให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษกับลิฟต์ที่สัมผัสกับอากาศภายนอกโดยตรง เช่น ลิฟต์ที่ติดตั้งภายนอกอาคาร การติดตั้งลิฟต์ที่ปล่องลิฟต์ทึบบางส่วน จะต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเกี่ยวกับสภาพสภาพแวดล้อม และสถานที่ติดตั้ง

ก่อนการจะติดตั้งกล้องวงจรปิดในลิฟต์ ควรจะต้องเช็คประตูตรวจสอบประตูฉุกเฉินและช่องที่ใช้ตรวจสอบ

  1. ประตูตรวจสอบ ประตูฉุกเฉินและช่องที่ใช้ตรวจสอบปล่องลิฟต์จะต้องไม่ถูกใช้งานในสภาวะปกตินอกจากในกรณีเพื่อความปลอดภัยต่อผู้ใช้หรือใช้เพื่อการบำรุงรักษาประตูตรวจสอบต้องสูงอย่างน้อย 1.40 เมตร และกว้างอย่างน้อย 0.60 เมตร

    ประตูฉุกเฉินต้องสูงอย่างน้อย 1.80 เมตร และกว้างอย่างน้อย 0.35 เมตร ช่องเปิดที่ใช้ตรวจสอบจะต้องมีความสูงไม่เกิน 0.50 เมตร และกว้างไม่เกิน 0.50 เมตร

    เมื่อระยะห่างระหว่างธรณีประตูปล่องลิฟต์ของชั้นที่ติดกันเกินกว่า 11.00 เมตร จะต้องมีประตูฉุกเฉินติดตั้งระหว่างชั้นทั้งสองดังกล่าว เพื่อทำให้ระยะห่างมีค่าไม่เกิน 11.00 เมตร (ข้อบังคับนี้จะไม่ใช้กรณีที่ลิฟต์อยู่ติดกัน ซึ่งลิฟต์แต่ละชุดมีประตูฉุกเฉิน)

  2. ประตูตรวจสอบ ประตูฉุกเฉินและช่องสำหรับตรวจสอบ จะต้องไม่สามารถเปิดเข้าภายในปล่องลิฟต์ประตูและช่องดังกล่าวจะต้องใช้กุญแจเป็นอุปกรณ์ล็อก ซึ่งสามารถปิดและล็อกได้โดยไม่ต้องใช้ลูกกุญแจ

    ประตูตรวจสอบและประตูฉุกเฉินจะต้องสามารถถูกเปิดจากภายในปล่องลิฟต์ได้โดยไม่ต้องใช้ลูกกุญแจแม้ว่าจะถูกล็อกการทำงานของลิฟต์จะต้องขึ้นอยู่กับตำแหน่งเปิดหรือปิดของประตูและช่องเหล่านี้โดยอัตโนมัติ

    ดังนั้นการติดตั้งอุปกรณ์ความปลอดภัยอย่างกล้องวงจรปิด ทางไฟฟ้าจะต้องเป็นไปตามที่ระบุไว้ ไม่จำเป็นต้องติดตั้งอุปกรณ์ความปลอดภัยทางไฟฟ้า ในกรณีทีประตูเข้าสู่บ่อลิฟต์ ไม่ได้เปิดเข้าสู่พื้นที่อันตราย

    กรณีที่ถือว่าเป็นพื้นที่อันตรายก็ต่อเมื่อระยะห่างตามแนวดิ่งที่ไม่มีสิ่งกีดขวางระหว่างส่วนที่ต่ำที่สุดของตัวลิฟต์น้ำหนักถ่วงหรือน้ำหนักปรับสมดุล ตัวนำร่อง

    กระบังธรณีตัวลิฟต์ ฯลฯ กับพื้นบ่อลิฟต์ มีค่าอย่างน้อย 2.00 เมตร การที่มีทราเวลลิ่งเคเบิล เชือกลวดชดเชย รอกปรับแรงตึงสำหรับอุปกรณ์ควบคุมความเร็ว และอุปกรณ์ที่มีการติดตั้ง

    ในลักษณะเดียวกันจะไม่ถือว่าเป็นอันตรายประตูตรวจสอบ ประตูฉุกเฉินและช่องที่ใช้ตรวจสอบจะต้องทึบและมีความแข็งแกร่งทางกลเช่นเดียวกับประตูปล่องลิฟต์ และให้เป็นไปตามข้อกำหนดการป้องกันเพลิงไหม้สำหรับอาคาร

  3. การระบายอากาศของปล่องลิฟต์ ปล่องลิฟต์จะต้องมีการระบายอากาศอย่างเหมาะสม และจะต้องไม่ถูกใช้ในการระบายอากาศจากห้องอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับลิฟต์ ก่อนจะติดตั้งกล้องวงจรปิดในลิฟต์ ควรมาทำความรู้จักห้องเครื่องลิฟต์และห้องรอก

ข้อกำหนดทั่วไป

เครื่องลิฟท์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องจะต้องอยู่ในห้องที่จัดเป็นพิเศษ มีผนัง เพดาน และพื้น ที่แข็งแรง เข้าได้เฉพาะผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น (เพื่อบำรุงรักษาตรวจสอบและกู้ภัย) และจะไม่มีท่อ สายเคเบิ้ล หรืออุปกรณ์อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องห้องเหล่านี้อาจมี

  • เครื่องมือสำหรับบำรุงรักษาลิฟต์หรือบันไดเลื่อน

  • เครื่องปรับอากาศและระบบระบายอากาศสำหรับลิฟต์

  • อุปกรณ์สัญญาณแจ้งเพลิงไหม้ หรืออุปกรณ์ดับเพลิงที่ใช้ใน อุณหภูมิสูงได้และมีการป้องกันการกระแทกที่เหมาะสม

ลิฟท์ในอาคาร

อาจมีการติดตั้งรอกถ่าง (diverter) ที่พื้นที่ส่วนบนของปล่องลิฟต์ ถ้าอุปกรณ์นี้อยู่นอกแนวของหลังคาลิฟต์และสามารถทำการตรวจสอบและ บำรุงรักษาได้อย่างปลอดภัยจากหลังคาลิฟต์หรือ

จากภายนอกปล่องลิฟต์ได้ อย่างไรก็ตามอาจมีการติดตั้งรอกถ่างแบบพาดผ่าน (single wrap) หรือแบบพันรอบ (double wrap) เหนือหลังคาลิฟท์สำหรับเปลี่ยนทิศทางเคลื่อนที่เข้าหาน้ำหนักถ่วง หรือน้ำหนักปรับสมดุล

ตรวจเช็คจำนวนสินค้า | ข้อมูลสินค้า | ขอใบเสนอราคา

ติดต่อทางลายแอท
เฟสบุค
ติดต่อทางเมล
ติดต่อด่วน
ฝ่ายขายกล้องวงจรปิด
ฝ่ายขายกล้องวงจรปิด2

โดยจะต้องเข้าถึงเพลาของรอกได้จากหลังคาลิฟท์อย่างปลอดภัยอาจมีการติดตั้งรอกเสียดทานในปล่องลิฟต์ในกรณีที่

  • การบำรุงรักษา การตรวจสอบและทดสอบ ทำได้จากห้องเครื่องลิฟต์

  • ช่องเปิดระหว่างเครื่องลิฟต์ และปล่องลิฟต์ต้องมีขนาดเล็ก ที่สุดเท่าที่จะเล็กได้

ทางเข้า (access)

ทางไปสู่ห้องเครื่องลิฟต์และห้องรอกจะต้อง

  • มีแสงสว่างเพียงพอ

  • สะดวกต่อการเข้าหรืออก

ทางไปสู่ห้องเครื่องลิฟต์และห้องรอก จะต้องมีความปลอดภัยและสะดวกโดยใช้บันไดถาวร โดยมีคุณสมบัติดังนี้

  • ทางไปสู่ห้องเครื่องลิฟต์และห้องรอก ต้องไม่สูงเกินกว่า 00 เมตร จากระดับที่เริ่มต้นของบันได้ (กรณีบันไดอยู่ในแนวดิ่ง)

  • บันไดในแนวดิ่งต้องติดตั้งอย่างมั่นคงถาวร

  • บันไดที่ยาวกว่า 50 เมตรจะต้องมีมุม 65 องศา ถึง 75 องศา กับแนวระดับในตำแหน่งทางเข้า

  • บันไดต้องกว้างไม่น้อยกว่า 35 เมตร ความลึกของขั้นมากกว่า 25 มิลลิเมตร ถ้าบันไดอยู่ในแนวดิ่งระยะห่างระหว่างขั้นและกำแพงหลังบันไดต้องไม่ต่ำกว่า 0.15 เมตร ขั้นบันไดต้องรับน้ำหนักได้ 150 กิโลกรัม

  • ต้องมีมือจับไม่น้อยกว่า 1 อัน ที่สามารถจับได้โดยง่ายใกล้กับปลายของบันได

  • ในรัศมี 50 เมตร รอบๆ บันได ต้องมีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากการตกหล่นจากบันได้

ทำความรู้จักประตูปล่องลิฟต์ก่อนติดตั้งกล้องวงจรปิดในลิฟท์

ข้อกำหนดทั่วไป

ช่องเปิดจากภายนอกปล่องลิฟต์เข้าสู่ตัวลิฟต์ จะต้องเป็นประตูชนิดบานทึบ เมื่อประตูปิดสนิท ระยะห่างระหว่างบานประตูหนึ่งกับอีกบานหนึ่ง บานประตูกับเสา บานประตูกับวงกบประตู หรือบานประตูกับธรณีประตู จะต้องแคบที่สุดเท่าที่

จะเป็นได้โดยมีระยะห่างไม่มากกว่า 6 มิลลิเมตร หรือ 10 มิลลิเมตรเมื่อเกิดการสึกหรอ อาจอนุโลมให้ระยะนี้ห่างไม่เกิน 10 มิลลิเมตร

ความแข็งแรงของประตูและวงกบประตู

ประตูปล่องลิฟต์และวงกบประตู ทำด้วยโลหะหรือวัสดุที่มีความแข็งแรงเทียบเท่า และไม่เปลี่ยนรูปทรงเมื่อใช้งาน

คุณสมบัติภายใต้สภาวะไฟไหม้ ประตูปล่องลิฟต์ควรเป็นไปตามข้อบังคับว่าด้วยการป้องกันอัคคีภัยสำหรับอาคาร

ความแข็งแรงทางกล ประตูปล่องลิฟต์และกลอุปกรณ์ล็อก ต้องมีความแข็งแรงทนทาน โดยขณะที่ปิดสนิทต้องสามารถทนแรงขนาด 30 กิโลกรัม ต่อพื้นที่หน้าตัด 5 ตารางเซนติเมตรในแนวตั้งฉากกับบานประตู ณ จุดใดของผิวหน้าทั้งสองด้านโดย

  • ไม่เสียรูปทรงอย่างถาวร

  • โก่งตัวไม่มากกว่า 15 มิลลิเมตร

  • ไม่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยในการทำงานของประตู ระหว่างและหลังการทดสอบ

ในกรณีของประตูเลื่อนและประตูพับในแนวราบ ถ้าให้แรงขนาด 15 กิโลกรัม กระทำในทิศทางการเปิดประตู ช่องว่างระหว่างบานประตูจะต้องไม่มากกว่า 30 มิลลิเมตรสำหรับประตูที่เปิดด้านข้าง และ 45 มิลลิเมตรสำหรับประตูที่เปิดจากกึ่งกลาง

บานประตูที่ทำด้วยกระจกต้องติดตั้งในลักษณะที่ทำให้สามารถรับการทดสอบแรงตามาตรฐานฉบับนี้ โดยไม่ทำให้เกิดเสียหายต่อการติดตั้งของกระจก ประตูกระจกที่มีขนาดใหญ่ จะต้องใช้กระจกนิรภัยชนิดเคลือบพลาสติก ซึ่งทนทานต่อการทดสอบการกระแทกโดยใช้ลูกตุ้ม

การติดตั้งกระจกสำหรับประตู จะต้องแน่ใจว่า กระจกจะไม่เลื่อนตัวออกจากจุดยึด ถึงแม้ว่าจะเลื่อนลง โดยบานประตูกระจกต้องแสดงรายละเอียด ชื่อของบริษัทผู้ผลิตและเครื่องหมายการค้า ชนิดของกระจก และความหนา

เพื่อลดอันตรายในการลากมือเด็ก ในกรณีประตูเลื่อนในแนวราบควบคุมแบบอัตโนมัติ และใช้กระจกที่มีขนาดใหญ่ จะต้องใช้วิธีการดังนี้

  • ลดค่าสัมประสิทธิ์ของการเสียดทานระหว่างมือกับกระจก

  • ใช้กระจกทึบแสงสูง 10 เมตรจากระดับพื้น

  • ที่ประตูกระจกมีอุปกรณ์ตรวจจับการสัมผัสของนิ้วมือ

  • ใช้วิธีการอื่นๆให้ผลในทำนองเดียวกัน

ผนัง พื้น และหลังคาตัวลิฟต์

ตัวลิฟต์ต้องมีผนัง พื้น และหลังคากั้นโดยรอบ เพื่อที่จะต้องติดตั้งตั้งกล้องวงจรปิดในลิฟต์ อนุญาตให้มีช่องเปิดได้ดังนี้

ประตูทางเข้าลิฟต์ สำหรับให้เข้าออกตามปกติ

ทางออกฉุกเฉินและประตู และช่องเปิด (trap door)

ช่องระบายอากาศ

ผนัง พื้น และหลังคา ต้องแข็งแรงเพียงพอ ส่วนประกอบได้แก่ สาแหรก ตัวนำร่อง ผนัง พื้น และหลังคา ต้องสามารถรับแรงที่กระทำที่เกิดจากการใช้งานปกติของตัวลิฟต์ การทำงานของเครื่องนิรภัย หรือ การกระแทกของตัวลิฟต์ต่ออุปกรณ์ลดแรงกระแทกได้

ผนังแต่ละด้านจะแข็งแรง เมื่อมีแรงขนาด 30 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 5 ตารางเซนติเมตร กระทำในแนวตั้งฉากกับผนังด้านในของตัวลิฟต์ส่งผ่านไปยังด้านนอก ผนังจะต้องทนทานโดยไม่เสียรูปทรงถาวร ทนทานโดยโก่งตัวได้ไม่เกิน 15 มิลลิเมตร

ผนังที่มีกระจกต้องใช้กระจกนิรภัย (ชนิดมีแผ่นฟิล์ม เท่านั้นและต้อง ผ่านการทดสอบโดยการกระแทกแบบลูกตุ้มแกว่ง ภายหลังการทดสอบจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อคุณสมบัติด้านความแข็งแรงของผนังลิฟต์

ผนังลิฟต์ที่มีการติดตั้งกระจกต่ำกว่า 1.10 เมตรจากพื้น จะต้องมีราวจับอยู่ที่ระยะความสูงระหว่าง 0.90 เมตร ถึง 1.10 เมตรโดยที่การติดตั้งราวจับจะต้องเป็นอิสระจากแผ่นกระจก

การติดตั้งกระจกที่ผนัง ต้องแข็งแรง ไม่หลุดจากโครง แม้ว่าจะจมอยู่ในน้ำ โดยที่แผ่นกระจก จะต้องมีข้อมูลรายละเอียดดังต่อไปนี้ ชื่อบริษัทและเครื่องหมายการค้า ชนิดของกระจก

และความหนา ผงะ พื้น และหลังคา จะต้องไม่ทำมาจากวัสดุที่ติดไฟ หรือเป็นชนิดที่ก่อให้เกิดอันตรายจากแก๊สหรือกลิ่น ในขณะเกิดไฟไหม้ ทางเข้าออกตัวลิฟต์จะต้องมีประตู

ประตูลิฟต์

ประตูลิฟต์ต้องทึบ ยกเว้นลิฟต์บรรทุกและโดยสารที่มีประตูเลื่อนในแนวดิ่ง เปิดในทิศทางเลื่อนขึ้น ซึ่งประตูอาจเป็นลักษณะช่องตาข่าย โดยที่ขนาดของช่องจะต้องเป็นดังนี้ แนวราบไม่เกินช่องละ 10 มิลลิเมตร แนวดิ่งไม่เกินช่องละ 60 มิลลิเมตร

ประตูตัวลิฟต์เมื่อเปิดจะต้องปิดได้สนิท ยกเว้นช่องว่างที่จำเป็น

เมื่อประตูปิดสนิท ช่องว่างระหว่างบานประตู บานประตูกับวงกบ บานประตูกับกรอบประตู หรือบานประตูกับธรณีประตู จะต้องน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ กำหนดให้ช่องว่างนี้กว้างไม่เกิน 6 มิลลิเมตร หรือไม่เกิน 10มิลลิเมตรเมื่อเกิดการสึกหรอ โดยช่องว่างดังกล่าววัดจากส่วนหลังของช่อง (หากมี) เว้นแต่ถ้าเป็นประตูเลื่อนแนวดิ่ง

ถ้าประตูปล่องลิฟต์มีช่องมอง ประตูลิฟต์จะต้องมีช่องมองที่พอดีกับช่องมองของประตูปล่องลิฟต์ เว้นแต่ประตูลิฟต์จะทำงานแบบอัตโนมัติ และประตูเปิดค้างไว้ขณะจอด โดยมีการจัดแนวเส้นตรงกับประตูปล่องลิฟต์ เมื่อลิฟต์จอดเสมอชั้น

การติดตั้งกระจกในส่วนที่เป็นประตู กระจกต้องไม่หลุดจากโครง แม้ว่าจะเคลื่อนลง

บานประตูที่เป็นกระจกจะต้องแสดงรายการ ชื่อของบริษัทผู้จำหน่าย และเครื่องหมายการค้า ชนิดของกระจก ความหนา

ในกรณีที่กระจกมีขนาดพื้นที่ใหญ่กว่า และประตูลิฟต์เป็นแบบเลื่อนในแนวราบอัตโนมัติ เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายในการที่ปะตูลิฟต์ลากมือเด็กเข้าไป จะต้องใช้วิธีการดังนี้

  • ลดค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานระหว่างมือกับกระจก

  • ใช้กระจกฝ้าสูง 10 เมตรจากระดับพื้น

  • มีระบบตรวจสอบและป้องกันประตูหนีบมือ หรือใช้วิธีการอื่นๆ ที่ให้ผลในทำนองเดียวกัน

การติดตั้งกล้องวงจรปิดในลิฟต์ ควรมีการป้องกันขณะที่ประตูลิฟต์ทำงาน

ประตูลิฟต์และบริเวณโดยรอบ จะต้องถูกออกแบบให้มีความปลอดภัย เพื่อป้องกันมิให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายหรือวัตถุ เช่น เสื้อผ้า ถูกเกี่ยวหรือติดขัดกับประตูได้ ผิวของประตูลิฟต์จะต้องเรียบ

หรือมีรอยเว้าหรือนูนได้ไม่เกิน 3 มิลลิเมตร เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากการลากเข้าไป ไม่ว่าจะเป็นร่างกายหรือวัตถุ ขณะประตูทำงาน ซึ่งข้อกำหนดนี้ไม่ใช่กับประตูที่มีรูตาข่ายตามที่ระบุไว้

ประตูลิฟต์ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า จะต้องถูกออกแบบเพื่อลดอันตรายต่อคนที่ถูกประตูกระแทก เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ข้างต้น การออกแบบจะต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดดังต่อไปนี้ และในกรณีที่ประตูลิฟต์ และประตูปล่องลิฟต์เปิดปิดพร้อมกัน อุปกรณ์กลไกลต่างๆก็ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดนี้ด้วย

ระบบประตูปิดย้อนกลับ กรณีที่เป็นประตูขับเคลื่อนด้วยระบบอัตโนมัติ อุปกรณ์ที่ควบคุมการเปิดย้อนกลับจะต้องติดตั้งรวมกับระบบควบคุมอื่นๆ

อุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อยืนยันว่าประตูลิฟต์ปิดสนิท

  • ลิฟต์จะไม่สามรถเคลื่อนที่ได้ ถ้าบานประตูตัวลิฟต์บานใดบานหนึ่งยังปิดไม่สนิท

  • ประตูตัวลิฟต์จะต้องมีอุปกรณ์ปลอดภัยทางไฟฟ้า เพื่อยืนยันว่าประตูตัวลิฟต์ปิดสนิท

  • ถ้าต้องการให้ประตูตัวลิฟต์มีอุปกรณ์ล็อก อุปกรณ์ล็อกสำหรับประตูลิฟต์จะต้องถูกออกแบบเพื่อให้ใช้งานคล้ายกับอุปกรณ์ล็อกประตูปล่องลิฟต์

ทางออกฉุกเฉินบนหลังคาตัวลิฟต์และประตูฉุกเฉิน

การช่วยเหลือผู้โดยสารในลิฟต์จะต้องมาจากภายนอกตัวลิฟต์เท่านั้น ตามที่ระบุไว้ในการปฏิบัติการฉุกเฉิน

ถ้ามีทางออกฉุกเฉินบนหลังคาตัวลิฟต์เพื่อช่วยเหลือและอพยพผู้โดยสารออกจะต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 0.35 เมตร x 0.50 เมตร

สามารถใช้ประตูฉุกเฉินข้างตัวลิฟต์ที่อยู่ใกล้กันได้โดยที่ระยะห่างแนวราบระหว่างตัวลิฟต์จะต้องไม่เกิน 0.75 เมตร ขนาดของประตูฉุกเฉินข้างตัวลิฟต์จะต้องสูงไม่น้อยกว่า 1.80 เมตร และกว้างไม่น้อยกว่า 0.35 เมตร

ก่อนจะติดตั้ง กล้องวงจรปิดในลิฟต์ ทุกครั้ง ควรเช็คว่าลิฟต์มีเครื่องนิรภัยหรือไม่ เพราะการติดตั้งกล้องวงจรปิดในลิฟต์จะเน้นเรื่องความปลอดภัยในระหว่างการติดตั้ง โดยจะต้องมีข้อกำหนดทั่วไป ดังนี้

ตัวลิฟต์ต้องติดตั้งเครื่องนิรภัยซึ่งสามารถทำงานได้ในทิศทางที่ตัวลิฟต์เคลื่อนที่ลง ซึ่งจะทำงานที่ความเร็วที่กำหนดของอุปกรณ์ควบคุมความเร็ว เมื่อเครื่องนิรภัยทำงานจะต้องสามารถหยุดการเคลื่อนที่ของตัวลิฟต์

ซึ่งบรรทุกน้ำหนักบรรทุกที่กำหนด แม้ว่าเชือกลวดแขวนขาดทั้งหมด โดยจับยึดกับรางบังคับถ้าใช้เครื่องนิรภัยที่ทำงานในทิศทางที่ตัวลิฟต์เคลื่อนที่ขึ้น ให้เป็นไปตามข้อกำหนด เครื่องนิรภัยควรติดตั้งอยู่ใต้ตัวลิฟต์ ถ้าติดตั้งเครื่องนิรภัยที่น้ำหนักถ่วง

เครื่องนิรภัย ต้องทำงานในทิศทางที่น้ำหนักถ่วงเคลื่อนที่ลงเท่านั้น ซึ่งจะทำงานที่ความเร็วที่กำหนดของอุปกรณ์ควบคุมความเร็ว เมื่อเครื่องนิรภัยทำงานจะต้องสามารถหยุดการเคลื่อนที่ของน้ำหนักถ่วง แม้ว่าเชือกลวดแขวนขาดทั้งหมด โดยจับยึดกับรางบังคับ

ตรวจเช็คจำนวนสินค้า | ข้อมูลสินค้า | ขอใบเสนอราคา

ติดต่อทางลายแอท
เฟสบุค
ติดต่อทางเมล
ติดต่อด่วน
ฝ่ายขายกล้องวงจรปิด
ฝ่ายขายกล้องวงจรปิด2

เครื่องนิรภัยจัดเป็นอุปกรณ์ความปลอดภัย จะต้องเป็นไปตามที่ระบุในภาคผนวก ฉ.3 ของมาตรฐาน EN81 (1998)

ลักษณะการใช้เครื่องนิรภัยชนิดต่างๆ

เครื่องนิรภัย กล้องวงจรปิดในลิฟต์ จะต้องเป็นชนิดเพิ่มแรงกดบนรางบังคับ (progressive) ถ้าลิฟต์เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเกิน 1 เมตร ต่อวินาที แต่สามารถใช้เครื่องนิรภัยชนิดอื่นได้ ในกรณีดังต่อไปนี้

  • ใช้เครื่องนิรภัยชนิดที่ทำงานทันทีแบบมีการลดแรงกระแทก กรณีที่ความเร็วไม่เกิน 1 เมตร ต่อวินาที

  • ใช้เครื่องนิรภัยชนิดที่ทำงานทันที กรณีความเร็วไม่เกิน 63 เมตรต่อวินาที

  • ถ้าลิฟต์ติดตั้งเครื่องนิรภัยหลายตัว เครื่องนิรภัยทั้งหมดจะต้องเป็นชนิดเพิ่มแรงกดบนรางบังคับ

  • กรณีที่ตัวลิฟต์เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเกิน 1 เมตรต่อวินาที เครื่องนิรภัยของน้ำหนักถ่วง จะต้องเป็นชนิดเพิ่มแรงกดบนรางบังคับ หรือถ้าความเร็วไม่เกิน 1 เมตร ต่อวินาทีอาจเป็นชนิดที่ทำงานทันที

วิธีการทำงานเครื่องนิรภัย

เครื่องนิรภัยของตัวลิฟต์และเครื่องนิรภัยของน้ำหนักถ่วงจะต้องทำงานโดยอุปกรณ์ควบคุมควมเร็วของชัดนั้นๆ ในกรณีที่ความเร็วไม่เกิน 1 เมตรต่อวินาที เครื่องนิรภัยของน้ำหนักถ่วงอาจจะทำงานเมื่อเฟืองทดของระบบแขวน หรือเชือกลวดของอุปกรณ์ควบคุมความเร็วทำงานผิดปกติ

เครื่องนิรภัยต้องเริ่มทำงานโดยกลอุปกรณ์ที่ไม่ใช้ระบบทางไฟฟ้าไฮดรอลิก หรือนิวเมติก

ความหน่วงของเครื่องนิรภัย

สำหรับเครื่องนิรภัยแบบเพิ่มแรงกดบนรางบังคับ ค่าความหน่วงเฉลี่ย ในกรณีที่ตัวลิฟต์บรรทุกน้ำหนักบรรทุกที่กำหนด เคลื่อนที่ลงแบบอิสระ จะต้องอยู่ระหว่าง 1.96 เมตรต่อวินาทียกกำลังสอง ถึง 9.81 เมตรต่อวินาทีนกกำหลังสอง

การปลดล็อกเครื่องนิรภัย

เมื่อเครื่องนิรภัยทำงานแล้ว การปลดล็อกเครื่องนิรภัยต้องกระทำโดยผู้ชำนาญการเท่านั้น การกลับสู่ตำแหน่งเดิมโดยอัตโนมัติหรือการปลดล็อกเครื่องบินนิรภัยของตัวลิฟต์และของน้ำหนักถ่วงจะกระทำได้ต่อเมื่อตัวลิฟต์ หรือน้ำหนักถ่วงเคลื่อนที่ขึ้นเท่านั้น

รางบังคับ อุปกรณ์ลดแรงกระแทกและสวิตช์หยุดลิฟต์ชุดท้ายสุด

ในส่วนของการติดตั้ง กล้องวงจรปิดในลิฟต์ ต้องตรวจสภาพการทำงานของรางบังคับและอุปกรณ์ลดแรงกระแทกและสวิตช์หยุดลิฟต์ชุดท้ายสุด ซึ่งข้อกำหนดทั่วไปของรางบังคับ มีดังนี้

รางบังคับ ข้อต่อและการจับยึด จะต้องแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักและแรงกระทำเพื่อให้ลิฟต์มีความปลอดภัยในการใช้งาน ตัวลิฟต์ และน้ำหนักถ่วงจะต้องวิ่งอยู่บนรางบังคับที่แข็งแรง ไม่โก่งงอ จนทำให้ กลไกล็อกประตูถูกปลดออก มีผลกระทบต่อการทำงานของกลอุปกรณ์นิรภัย เกิดการชนกันของชิ้นส่วนเคลื่อนที่กับชิ้นส่วนอื่นๆ

การบังคับตัวลิฟต์ และน้ำหนักถ่วงต้องมีรางบังคับที่แข็งแรงอย่างละอย่างน้อย 2 ราง รางบังคับต้องทากเหล็กรีด (drawn steel) หรือไสผิวหน้าด้วยเครื่องจักร ในกรณีเมื่อความเร็วที่กำหนด เกินกว่า 0.4 เมตรต่อวินาที

และเมื่อใช้เครื่องนิรภัยชนิดเพิ่มแรงกดบนรางบังคับโดยไม่คำนึงถึงความเร็ว และรางบังคับของน้ำหนักถ่วงที่ไม่มีเครื่องนิรภัยอาจทำจากแผ่นโลหะขึ้นรูป (formed metal sheet) ที่มีการป้องกันการกัดกร่อน

อุปกรณ์ลดแรงกระแทกของตัวลิฟต์และน้ำหนักถ่วง

ต้องมีอุปกรณ์ลดแรงกระแทกติดตั้งอยู่ที่ส่วนปลายสุดของระยะวิ่งของตัวลิฟต์และน้ำหนักถ่วง แท่นอุปกรณ์ลดแรงกระแทกต้องสังเกตเห็นได้ชัดเจน ในกรณีที่อุปกรณ์ลดแรงกระแทกติดตั้งกึ่งกลางระหว่างรางบังคับ

และมีระยะห่างถึงรางบังคับหรือกลอุปกรณ์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ผนังบ่อลิฟต์ไม่เกิน 0.15 เมตร ให้ถือว่าแท่นและอุปกรณ์ลดแรงกระแทก เป็นสิ่งกีดขวางอย่างหนึ่งลิฟต์ที่ขับเคลื่อนเชิงบวก (positive drive lift)

และจะต้องเพิ่มอุปกรณ์ลดแรงกระแทกบนตัวลิฟต์เพื่อลดแรงกระแทกเมื่อลิฟต์วิ่งเลยชั้นบนสุดถ้าความเร็วที่กำหนด ไม่เกิน 1 เมตรต่อวินาที สามารถใช้อุปกรณ์ลดแรงกระแทกชนิดสะสมพลังงาน

ซึ่งจะเป็นลักษณะเชิงเส้นหรือไม่เป็นเชิงเส้นก็ได้ หรือ 1 เทียบเท่า ถ้าความเร็วที่กำหนด ไม่เกิน 1.6 เมตรต่อวินาที สามารถใช้อุปกรณ์ลดแรงกระแทกชนิดสะสมพลังงานแบบกระเด้งกลับหรือเทียบเท่า

อุปกรณ์ลดแรงกระแทกชนิดกระจายพลังงาน สามารถใช้ได้กับทุกความเร็ว ได้แก่ อุปกรณ์ลดแรงกระแทกแบบน้ำมัน หรือเทียบเท่า

สวิตช์หยุดลิฟต์

ต้องมีสวิตช์หยุดลิฟต์ชุดท้ายสุด สวิตช์หยุดลิฟต์ชุดท้ายสุดต้องติดตั้งให้ทำงาน เมื่อตัวลิฟต์เคลื่อนที่ผ่านชั้นสุดท้าย เพื่อไม่ให้เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ สวิตช์นี้ต้องหยุดการทำงานของเครื่องลิฟต์

ก่อนจะติดตั้งที่ตัวลิฟต์ (หรือน้ำหนักถ่วง ถ้ามีติดตั้งด้านน้ำหนักถ่วง) จะกระแทกกับอุปกรณ์ลดแรงกระแทก และสวิตช์นี้ยังคงทำงานอยู่ตลอดเวลาที่อุปกรณ์ลดแรงกระแทกถูกกด

การทำให้สวิตช์ชุดท้ายสุด ทำงาน

กลอุปกรณ์ที่จะทำให้กลอุปกรณ์หยุดชั้นปลายชุดปกติ และสวิตช์หยุดลิฟต์ที่ชั้นสุดท้าย ทำงาน ต้องแยกคนละชุด สำหรับลิฟต์ที่ขับเคลื่อนเชิงบวก สวิตช์หยุดลิฟต์ที่ชั้นสุดท้ายจะทำงาน

โดยกลอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อการเคลื่อนที่ของเครื่องลิฟต์ หรือตัวลิฟต์ หรือน้ำหนักถ่วง ถ้ามีติดตั้งทั้งสองด้านที่ส่วนบนสุดของปล่องลิฟต์ หรือ ตัวลิฟต์ที่ส่วนบนสุดและล่างสุดของปล่องลิฟต์เมื่อไม่มีน้ำหนักถ่วง

สำรับลิฟต์ที่ขับเคลื่อนด้วยความฝืด สวิตช์หยุดลิฟต์ที่ชั้นสุดท้าย จะทำงานโดย ตัวลิฟต์ที่ส่วนบน และส่วนล่างสุดของปล่องลิฟต์ หรือกลอุปกรณ์อื่นซึ่งเชื่อมต่อกับตัวลิฟต์ เช่น เชือกลวด, สายพาน, โซ่เมื่อใช้กลอุปกรณ์ ถ้าส่วนที่เชื่อมต่อขาด หรือหย่อนวงจรนิรภัยทางไฟฟ้า ต้องหยุดการทำงานของเครื่องลิฟต์

การทำงานของ สวิตช์หยุดลิฟต์ที่ชั้นสุดท้าย

สวิตช์หยุดลิฟต์ที่ชั้นสุดท้ายต้องทำงานดังนี้

สำหรับลิฟต์ที่ขับเคลื่อนเชิงบวก สวิตช์นี้จะเปิดวงจรที่ต่อให้เครื่องลิฟต์ สำหรับลิฟต์ที่ขับเคลื่อนด้วยความฝืด ชนิด 1 ความเร็ว หรือ  2 ความเร็ว สำหรับระบบปรับเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้า

หรือระบบที่ความเร็วลิฟต์เปลี่ยนแปลงแบบต่อเนื่อง ต้องหยุดการทำงานของเครื่องลิฟต์ทันทีโดยใช้เวลาสั้นที่สุด เท่าที่ระบบขับเคลื่อนยอมรับได้ เมื่อสวิตช์หยุดลิฟต์ที่ชั้นสุดท้ายทำงานแล้ว ลิฟต์ต้องไม่กลับสู่สภาวะการทำงานปกติโดยอัตโนมัติ

ช่วงห่างระหว่างลิฟต์กับผนังด้านทางเข้าลิฟต์ และระหว่างลิฟต์กับน้ำหนักถ่วงหรือน้ำหนังสมดุล

ลักษณะทั่วไป

ช่วงห่างควรจะได้ตามที่ได้ระบุไว้ในมาตรฐาน ไม่เพียงแต่ในตอนตรวจสอบและทดสอบก่อนใช้งานติดตั้ง กล้องวงจรปิดในลิฟต์ เท่านั้น แต่จะต้องได้มาตรฐานตลอดอายุใช้งานของลิฟต์

ระยะตามแนวราบระหว่างผิวในของช่องของลิฟต์กับธรณี,ขอบประตูตัวลิฟต์ หรือขอบปิดของประตูเลื่อนของลิฟต์ไม่เกิน 0.15 เมตร ระยะที่ระบุนี้ อาจขยายเป็น 0.20 เมตร ในช่วงความสูง 0.50 เมตร อาจขยายเป็น 0.20 เมตร

ตลอดการเคลื่อนที่ของลิฟต์คนโดยสารและขนของ ซึงประตูปล่องลิฟต์เป็นบานเลื่อนแนวดิ่ง ไม่จำกัดเมื่อตัวลิฟต์ใช้ประตูที่มีระบบกลไกล็อก ซึ่งจะสามารถเปิดได้ในบริเวณที่ให้เปิดได้ในบริเวณประตูปล่องลิฟต์

การทำงานของลิฟต์จะต้องขึ้นอยู่กับการปิดของประตูลิฟต์อย่างอัตโนมัติยกเว้นการปิดล็อกของประตูลิฟต์จะถูกตรวจสอบโดยอุปกรณ์นิรภัยทางไฟฟ้า ระยะห่างระหว่างธรณีของตัวลิฟต์กับประตูปล่องลิฟต์ต้องไม่เกิน 35 มิลลิเมตร

ระยะห่างระหว่างประตูตัวลิฟต์กับประตูปล่องลิฟต์ขณะปิดอยู่หรือระยะระหว่างประตูทั้งสองตลอดการทำงานในสภาพปกติต้องไม่เกิน 120 มิลลิเมตร ตัวลิฟต์และน้ำหนักถ่วงจะต้องมีระยะห่างอย่างน้อย 50 มิลลิเมตร

การติดตั้งไฟฟ้าและส่วนประกอบ ข้อกำหนดนี้ครอบคลุมถึงการติดตั้งและส่วนประกอบ

เมนสวิตช์และวงจรที่เกี่ยวข้อง สวิตช์แสงสว่างในลิฟต์และวงจรที่เกี่ยวข้อง จะต้องพิจารณาว่าอุปกรณ์ทางไฟฟ้าที่ติดตั้งมา เป็นส่วนหนึ่งของลิฟต์ประกอบร่วมกันเป็นเครื่องจักรกลทั้งชุด

ข้อสังเกต มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าของประเทศใช้ครอบคลุมถึงปลั๊กไฟที่ใช้ต่อไฟเข้ายังระบบลิฟต์ ระบบแสงสว่าง ปลั๊กต่อไฟในห้องเครื่อง ในห้องรอกบ่อลิฟต์และปล่องลิฟต์

มาตรฐานสำหรับวงจรขึ้นอยู่กับสวิตช์ เป็นพื้นฐานรวมถึงความต้องการเฉพาะของลิฟต์ จะเป็นไปตามมาตรฐาน ระดับสากล คือ IEC ระดับยุโรป คือ CENELEC เอกสารอ้างอิง

จะต้องมีมากับลิฟต์จากผู้ผลิตระบุว่าเป็นไปตามมาตรฐานใดพร้อมแจ้งข้อจำกัดในการใช้ ถ้าไม่ได้ให้ข้อมูลที่ชัดเจน อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้จะต้องเป็นที่ยอมรับตามข้อกำหนดของมาตรฐานความปลอดภัยที่ใช้กันอยู่

ผลกระทบทางแม่เหล็กไฟฟ้าจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้อง ในห้องเครื่องและห้องรอก จะต้องมีการป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าจากการสัมผัสโดยตรงมีกล่องป้องกันในระดับไม่ต่ำกว่า IP 2X

การป้องกันมอเตอร์และอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ

  • ต้องมีการป้องกันการเกิดการลัดวงจร (Short-circuiting) ของมอเตอร์ที่ต่อตรงกับสายไฟเมน

  • มอเตอร์ที่ต่อตรงกับสายเมนจะต้องมีการป้องกันกระแสเกินโดยสวิตช์ตัดตอนอัตโนมัติ ซึ่งจะตัดสายไฟทุกเส้นที่มีแรงดันป้อนเข้ามอเตอร์

  • เมื่อการตรวจจับกระแสเกินพิกัดของมอเตอร์ขับลิฟต์ใช้วิธีตรวจจับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นของขดลวดของมอเตอร์

  • ข้อกำหนดจะต้องคลอบคลุมถึงขดลวดทุกขด ถ้ามอเตอร์มีขดลวดที่จ่ายไฟโดยวงจรที่แตกต่างกัน

  • เมื่อมอเตอร์รับไฟจากเครื่องปั่นไฟกระแสตรง (Generator) ที่ถูกขับด้วยมอเตอร์ มอเตอร์ขับลิฟต์จะต้องมีการป้องกันกระแสเกิน

  • ถ้าอุปกรณ์ไฟฟ้าของลิฟต์ที่มีอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนมีอุณหภูมิเกินกำหนดที่จะอนุญาตให้ลิฟต์ทำงาน ลิฟต์จะต้องเข้าจอดเพื่อให้ผู้โดยสารออกจากลิฟต์ได้และลิฟต์จะกลับมาทำงานปกติเมื่ออุณหภูมิลดลงพอเหมาะ

ตรวจเช็คจำนวนสินค้า | ข้อมูลสินค้า | ขอใบเสนอราคา

ติดต่อทางลายแอท
เฟสบุค
ติดต่อทางเมล
ติดต่อด่วน
ฝ่ายขายกล้องวงจรปิด
ฝ่ายขายกล้องวงจรปิด2

สวิตซ์เมน

ที่ห้องเครื่องจะต้องมีสวิตซ์เมนสำหรับลิฟต์แต่ละชุด ซึ่งสามารถตัดกระแสไฟฟ้าที่จ่ายหิ้ฟต์ทุกเส้นโดยสวิตช์ดังกล่าวจะต้องสามารถตัดกระแสไฟฟ้าสูงสุดที่เกิดขึ้นในขณะลิฟต์ใช้งานปกติแต่สวิตช์จะไม่ตัดวงจรของ

  • แสงสว่างในตัวลิฟต์หรือระบบระบายอากาศ

  • เต้าเสียบไฟบนหลังคาลิฟต์

  • แสงสว่างในห้องเครื่อง และห้องรอก

  • เต้าเสียบไฟในห้องเครื่อง ห้องรอกและในบ่อลิฟต์

  • แสงสว่างในบ่อลิฟต์

  • อุปกรณ์สัญญาณฉุกเฉิน

Main Switch จะต้องทำงานให้เชื่อถือได้ทั้งขณะต่อและตัด และสามารถล็อกค้างไว้ในตำแหน่งตัดเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่ถูกทำให้ต่อโดยไม่ตั้งใจ กลไกควบคุมของ main switch จะต้องเข้าถึงโดยง่ายจากทางประตูทางเข้าห้องเครื่อง ถ้าในห้องเครื่องมีลิฟต์หลายชุดจะต้องมีการติดเครื่องหมายบ่งชี้ชัดแจ้งว่า main swithใดควบคุมลิฟต์เครื่องใด

ถ้าหากเครื่องมีประตูทางเข้าหลายทาง หรือลิฟต์ชุดหนึ่งมีหลายห้องเครื่องซึ่งมีทางเข้าสำหรับแต่ละห้องเครื่อง สวิตช์ตัดตอนแบบอัตโนมัติอาจนำมาใช้ได้ ในการตัดหน้าสัมผัสทางไฟฟ้าจะถูกควบคุม

โดยอุปกรณ์ความปลอดภัยทางไฟฟ้า ซึ่งต่ออยู่ในวงจรแหล่งจ่ายไฟเดียวกับที่จ่ายไฟให้ขดลวดของสวิตช์ตัดตอนแบบอัตโนมัติ การกลับมาต่อวงจรของสวิตช์ตัดตอนแบบอัตโนมัติ

จะทำได้โดยอุปกรณ์ที่ได้ตัดวงจรถูกทำให้ต่อใหม่เท่านั้น สวิตช์ตัดตอนแบบอัตโนมัติจะต้องถูกใช้ร่วมกับสวิตช์ตัดตอนที่ไม่ทำงานโดยอัตโนมัติ

ในกรณีของลิฟต์หลาชุดทำงานเป็นกลุ่ม ถ้าหลังจากการตัดสวิตช์เมนของลิฟต์หนึ่งชุดบางส่วนของวงจรยังมีความต่างศักย์อยู่ วงจรดังกล่าวจะต้องถูกแยกออกได้ในห้องเครื่องและถ้าจำเป้นจะต้องตัดแหล่งจ่ายไฟของลิฟต์ทุกชุด

อุปกรณ์เก็บประจุไฟฟ้าเพื่อปรับตัวประกอบกำลัง (Power Factor) จะต้องต่อก่อนถึงเมนสวิตช์ของวงจรจ่ายกำลัง ถ้ามีโอกาสที่จะมีความต่างศักย์สูงเกินเช่น กรณีที่มอเตอร์เดินสายไฟฟ้าระยะทางไกลๆ สวิตช์ของแหล่งจ่ายกำลังจะต้องตัดวงจรของอุปกรณ์เก็บประจุไฟฟ้า (Capacitor)

การเดินสายไฟและการติดตั้งให้เป็นตามมาตรฐานของ ว.ส.ท.

พื้นที่หน้าตัดของตัวนำไฟฟ้า เพื่อให้มีความแข็งทางกลเพียงพอ พื้นที่หน้าตัดของตัวนำไฟฟ้าที่ต่อกับอุปกรณ์กล้องวงจรปิดติดในลิฟต์เพื่อความปลอดภัยทางไฟฟ้าที่ประตูจะต้องไม่น้อยกว่า 0.75 ตารางมิลลิเมตร

วิธีการติดตั้ง

  • การติดตั้งทางไฟฟ้าจะต้องมีสัญลักษณ์ชี้บ่งให้ง่ายต่อการเข้าใจ

  • จุดต่อหลักต่อสายและอุปกรณ์ต่อสายจะต้องอยู่ในกล่องหรือแผงที่ออกแบบมาเพื่อจุดประสงค์ในการต่อสาย

  • ถ้าหลังจากตัดวงจรเมนสวิตช์ หรือสวิตช์ของลิฟต์ชุดใดชุดหนึ่งถ้าจุดต่อสายใดยังมีความต่างศักย์อยู่จุดต่อสายนั้นจะต้องแยกออกให้ชัดเจนจากจุดต่อสายทีไม่มีความต่างศักย์ และถ้ามีขนาดความต่างศักย์เกิน 50 โวลต์ จะต้องมีป้ายบ่งชี้ชัด

  • จุดต่อสายที่หากเกิดลัดวงจรถึงกันโดยอุบัติเหตุจะทำให้ลิฟต์ทำงานผิดพลาดจนเกิดอันตราย จะต้องแยกห่างกันอย่างเพียงพอชัดเจน เว้นแต่ลักษณะของอุปกรณ์จะมีการป้องกันที่ดีพอแล้ว

  • เพื่อให้มีการป้องกันทางกลที่ต่อเนื่อง เปลือกหุ้มของสายไฟตัวนำหรือสายไฟฟ้ากำลังจะต้องหุ้มตลอดจนถึงกล่องสวิตช์และอุปกรณ์หรือจะต้องหุ้มสายไฟตลอดถึงปลอกแหวน

หมายเหตุ กรอบประตูชานพักและกรอบประตูห้องโดยสารถือเป็นกล่องปิดถ้ามีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายทางกลเนื่องจากการเคลื่อนไหวของชิ้นส่วนหรือความคมของขอบกล่องหุ้มสายตัวนำที่ต่อกับอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยทางไฟฟ้าจะต้องมีการป้องกันทางกลเพียงพอ

  • ถ้าในกล่องสายตัวนำมีสายตัวนำที่มีความต่างศักย์ทางไฟฟ้าแตกต่างกันสายตัวนำทั้งหมดจะต้องมีฉนวนที่ทนความต่างศักย์ทางไฟฟ้าได้เท่ากับความต่างศักย์ทางไฟฟ้าสูงสุดของสายตัวนำในกล่องนั้น

อุปกรณ์ต่อสาย

อุปกรณ์ต่อสายแบบเสียบเข้า (Plug in) ในวงจรเพื่อความปลอดภัย จะต้องถูกออกแบบไม่ให้สามารถเสียบกลับทางได้

ระบบแสงสว่างและเต้ารับไฟ

แหล่งจ่ายแสงสว่างในห้องลิฟต์ ปล่องลิฟต์และห้องเครื่อง รวมทั้งห้องรอกจะต้องแยกออกอิสระจากแหล่งจ่ายกำลังให้เครื่องลิฟต์ อาจจะโดยการแยกวงจรไฟฟ้าหรือต่อรับไฟจากด้านต้นทางของเมนสวิตช์ที่จ่ายไฟให้เครื่องลิฟต์

แหล่งจ่ายไฟให้เต้าเสียบไฟที่หลังคาลิฟต์ ห้องเครื่องลิฟต์ห้องรอกและในบ่อลิฟต์จะต้องใช้จากวงจรไฟฟ้า เต้ารับไฟเหล่านี้ต้องมีมาตรฐานตามการไฟฟ้า หรือ รุ่น 2P-PE 250 V หรือ รุ่น Safety Extra-Low Voltage (SELV)

ตามข้อกำหนด CENELEC HD 384.4.41 S2 411. การใช้เต้าจ่ายไฟดังกล่าวสายไฟฟ้าไม่จำเป็นต้องมีขนาดพื้นที่หน้าตัดให้เท่ากับอัตราการทนกระแสไฟของเต้าจ่ายไฟ

ขนาดพื้นที่หน้าตัดของสายไฟฟ้าอาจเล็กกว่าได้ ถ้ามีการป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินกำหนดให้สายไฟฟ้าแล้วการควบคุมแหล่งจ่ายไฟสำหรับแสงสว่างและเต้ารับไฟ

จะมีสวิตช์ตัดตอนควบคุมการจ่ายไฟให้วงจรแสงสว่างและเต้ารับไฟในห้องลิฟต์ ถ้าในห้องเครื่องมีลิฟต์หลายเครื่องจะต้องแยกสวิตช์ตัดตอนสำหรับแต่ละเครื่อง โดยสวิตช์ดังกล่าวจะต้องอยู่ใกล้กับ main switch ของแต่ละเครื่อง

ในห้องเครื่องสวิตช์ตัดตอนจะต้องอยู่ใกล้กับทางเข้าเพื่อควบคุมการจ่ายไฟฟ้าเพื่อแสงสว่าง สวิตช์แสงสว่างในปล่องลิฟต์ได้จากทั้งสองแห่ง วงจรที่ควบคุมโดยสวิตช์ตาม 13.6.3.1 และ 13.6.3.2 จะต้องมีการป้องกันการลัดวงจร

การป้องกันข้อบกพร่องทางไฟฟ้า การควบคุม ลำดับความสำคัญ การวิเคราะห์ข้อบกพร่อง และอุปกรณ์ความปลอดภัย ทางไฟฟ้า ในระหว่างการติดตั้ง กล้องวงจรปิดในลิฟต์

ตรวจเช็คจำนวนสินค้า | ข้อมูลสินค้า | ขอใบเสนอราคา

ติดต่อทางลายแอท
เฟสบุค
ติดต่อทางเมล
ติดต่อด่วน
ฝ่ายขายกล้องวงจรปิด
ฝ่ายขายกล้องวงจรปิด2

การวิเคราะห์ข้อบกพร่องรวมถึง

  • ไม่มีแรงดันไฟฟ้า

  • แรงดันไฟฟ้าตก

  • การสูญเสียความต่อเนื่องของตัวนำไฟฟ้า

  • ความบกพร่องของฉนวนที่เกี่ยวเนื่องกับโครงโลหะหรือพื้นดิน

  • การลัดวงจรหรือเปิดวงจร การเปลี่ยนแปลงค่าฟังก์ชั่นขององค์ประกอบทางไฟฟ้า เช่น ความต้านทาน ตัวเก็บประจุทรานซิสเตอร์ หลอดไฟ ฯลฯ

  • การไม่ดึงดูดหรือดึงดูดไม่สมบูรณ์ของอาร์เมเจอร์ที่เคลื่อนที่ของหน้าสัมผัสหรือรีเลย์

  • การไม่แยกจากกันของอาร์เมเจอร์ทีเคลื่อนที่ของหน้าสัมผัส หรือรีเลย์

  • การไม่เปิดของหน้าสัมผัส

  • การไม่ปิดของหน้าสัมผัส

  • การกลับเฟส

การไม่เปิดของหน้าสัมผัสไม่จำเป้นต้องพิจารณาในกรณีของหน้าสัมผัสความปลอดภัยที่ตรงตามความต้องการ วงจรซึ่งมีอุปกรณ์ความปลอดภัยทางไฟฟ้าถ้ารั่วลงดินหรือโครงโลหะจะต้อง

ทำให้เครื่องลิฟต์หยุดทำงานทันทีทันใดหรือ ป้องกันการเดินเครื่องใหม่ของเครื่องลิฟต์หลังจากการหยุดโดยปกติครั้งแรก การกลับมาให้บริการใหม่จะทำได้โดยการปรับตั้งใหม่ด้วยมือเท่านั้น

อุปกรณ์ความปลอดภัยทางไฟฟ้า

ในระหว่างที่อุปกรณ์ความปลอดภัยทางไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดต่างๆ กำลังทำงาน ต้องมีการป้องกันการเคลื่อนที่ของเครื่องลิฟต์ หรือต้องทำให้เครื่องลิฟต์หยุดการเคลื่อนที่ทันที

ตามที่กล่าวไว้ อุปกรณ์ความปลอดภัยทางไฟฟ้าจะต้องประกอบด้วย หน้าสัมผัสความปลอดภัยหนึ่งหน้าสัมผัสหรือมากกว่า ที่สอดคล้องกับการตัดจ่ายกระแสโดยตรงให้กับหน้าสัมผัสทางไฟฟ้าที่อ้างถึง

หรือรีเลย์หน้าสัมผัสทางไฟฟ้า หรือวงจรความปลอดภัยที่สอดคล้องกัน ประกอบด้วยข้อหนึ่งหรือข้อใดหรือเป็นการรวมกันทุกข้อต่อไปนี้

  1. หน้าสัมผัสความปลอดภัยหนึ่งหน้าสัมผัสหรือมากกว่า ที่สอดคล้องกัน ตัดการจ่ายกระแสโดยตรงให้กับหน้าสัมผัสทางไฟฟ้าที่อ้างถึง หรือรีเลย์หน้าสัมผัสทางไฟฟ้า

  2. หน้าสัมผัสที่ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนด

  3. ส่วนประกอบเป็นไปตามภาคผนวกของมาตรฐาน EN81 (1998)

สัญญาณขาออกที่เกิดจากอุปกรณ์ความปลอดภัยทางไฟฟ้าจะต้องไม่ถูกเปลี่ยนโดยสัญญาณที่ไม่เกี่ยวข้องจากอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ที่อยู่ในตำแหน่งถัดมาของวงจรเดียวกันซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดสภาพที่เป็นอันตรายได้

ในวงจรความปลอดภัยที่ประกอบด้วยช่องสัญญาณที่ขนานกันสองช่องหรือมากกว่า ข้อมูลทั้งหมดนอกเหนือจากที่ต้องการสำหรับการตรวจสอบพาริตี้จะต้องนำมาจากช่องสัญญาณเดียวเท่านั้น

วงจรซึ่งบันทึก หรือหน่วงสัญญาณ จะต้องไม่ขัดขวางหรือหน่วงการหยุดทำงานของเครื่องจักรผ่านกการทำงานของอุปกรณ์ความปลอดภัยทางไฟฟ้าแม้แต่ในกรณีที่เกิดความบกพร่อง นั่นคือการหยุดจะต้องเกิดขึ้นได้โดยใช้เวลาที่สั้นที่สุดและต้องเข้ากับระบบได้

การสร้างและการจัดการหน่วยจ่ายกำลังไฟฟ้าภายในจะต้องเป็นไปในลักษณะที่ป้องกันการเกิดสัญญาณบกพร่องที่อุปกรณ์ความปลอดภัยทางไฟฟ้าขาออก เนื่องมาจากผลกระทบของการเปิดปิดสวิตซ์

การควบคุมการทำงานของลิฟต์ในระหว่างการติดตั้งกล้องวงจรปิดในลิฟต์

การควบคุมจะต้องเป็นการควบคุมทางไฟฟ้า

การควบคุมการทำงานในภาวะปกติการควบคุมการทำงานในภาวะปกติ การควบคุมนี้ไม่ว่าจะกระทำโดยใช้ปุ่มหรืออุปกรณ์อื่นที่คล้ายคลึงกัน เช่น การควบคุมแบสัมผัส การ์ดแม่เหล็ก ฯลฯ อุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมทั้งหมดจะต้องมีการป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ได้รับอันตรายจากกระแสไฟฟ้า

การควบคุมระดับและการปรับระดับใหม่ขณะประตูเปิด การเคลื่อนที่ของลิฟต์ขณะประตูเปิดจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้
  • จะต้องมีการป้องกันการเคลื่อนที่นอกเขตเปิดประตูโดยสวิตช์อย่างน้อยหนึ่งชุดที่ต่อขนานกับอุปกรณ์ความปลอดภัยทางไฟฟ้าของระบบประตู

  • สวิตช์ดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามข้อกำหนด ถูกเชื่อมต่อตามข้อกำหนดของวงจรความปลอดภัย

  • ถ้าการทำงานของสวิตช์นั้นขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ซึ่งเชื่อมต่อทางกลไกโดยทางอ้อมกับตัวลิฟต์ เช่น โดยเชือกลวดแขวน สายพานหรือโซ่ การขาดหรือหย่อนของสายเชื่อมต่อจะต้องหยุดลิฟต์โดยอุปกรณ์ความปลอดภัยทางไฟฟ้าที่เป็นไปตามข้อกำหนด

  • ในระหว่างการเข้าจอด อุปกรณ์ลัดวงจรของอุปกรณ์ความปลอดภัยทางไฟฟ้าของประตูจะทำงานหลังจากมีสัญญาณให้เข้าจอดที่ชั้นดังกล่าวเท่านั้น

ความเร็วของการเข้าจอดไม่เกิน 0.8 เมตร/วินาที สำหรับลิฟต์แบบปิดเปิดประตูด้วยมือ จะต้องมีการตรวจสอบว่า ในขณะนั้นลิฟต์จะต้องทำงานด้วยขดลวดความเร็วต่ำ (สำหรับเครื่องลิฟต์ซึ่งความเร็วของการหมุนถูกกำหนดด้วยความถี่ของแหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้าที่คงที่)

สำหรับเครื่องลิฟต์อื่น ความเร็วในเขตเปิดประตูจะต้องไม่เกิน 0.8 เมตร/วินาที

การควบคุมลิฟต์ขณะทำการตรวจสอบ

เพื่อให้การตรวจสอบและการบำรุงรักษาเป็นไปโดยสะดวก จะต้องจัดให้มีชุดควบคุมที่เข้าถึงได้โดยสะดวกที่หลังคาลิฟต์ อุปกรณ์ดังกล่าวนี้จะต้องใช้สวิตช์ในการปฏิบัติงาน (สวิตช์เพื่อการทำงานตรวจสอบ)

ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดของอุปกรณ์ความปลอดภัยทางไฟฟ้า สวิตช์นี้เป็นแบบไบเสเบิล ซึ่งจะต้องถูกป้องกันการทำงานโดยไม่ตั้งใจ สภาวะดังต่อไปนี้จะต้องเกิดขึ้นพร้อมกันทั้งหมด เมื่ออยู่ในสภาวะตรวจสอบ ระบบต่อไปนี้จะต้องไม่ทำงาน

  • การตอบรับการเรียกลิฟต์ตามปกติ รวมถึงการทำงานของประตูอัตโนมัติใดๆ

  • การทำงานทางไฟฟ้าแบบฉุกเฉิน

  • ระบบปรับระดับชั้นขณะประตูเปิดเพื่อขนของ

การกลับเข้าสู่การให้บริการตามปกติของลิฟต์จะต้องเป็นผลจากการสั่งการของสวิตช์ตรวจสอบเท่านั้น ถ้าอุปกรณ์สวิตช์ที่ใช้ในการห้ามการทำงาน 3 ข้อดังกล่าวข้างต้นไม่ทำงานร่วมกับกลไกสวิตช์ตรวจตรา

จะต้องมีการป้องกันการเคลื่อนที่ของลิฟต์ในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาดอย่างใดอย่างหนึ่งดังรายละเอียดดังนี้

  • การเคลื่อนที่ของลิฟต์จะต้องใช้แรงกดอย่างต่อเนื่องที่ปุ่มกดซึ่งถุกป้องกันการทำงานโดยพลั้งเผลอและด้วยทิศทางการเคลื่อนที่ที่บ่งบอกอย่างชัดเจน

  • อุปกรณ์ควบคุมจะต้องมีอุปกรณ์สั่งหยุด ร่วมอยู่ด้วย

  • ความเร็วของลิฟต์จะต้องไม่เกิน 63 เมตร/วินาที

  • การเคลื่อนที่ของลิฟต์จะต้องไม่เกินระยะวิ่งปกติ

  • การทำงานของลิฟต์ยังต้องขึ้นกับอุปกรณ์ความปลอดภัย

ชุดควบคุมอาจรวมสวิตช์พิเศษที่มีการป้องกันการทำงานของประตูโดยพลั้งเผลอ

การควบคุมการทำงานทางไฟฟ้าแบบฉุกเฉิน สำหรับเครื่องลิฟต์ที่ต้องใช้แรงในการยกลิฟต์ที่มีมวลบรรทุกที่กำหนดเกิน 400 ก.ก. อุปกรณ์การทำงานทางไฟฟ้าแบบฉุกเฉินจะต้องถูกติดตั้งในห้องเครื่องลิฟต์

เครื่องลิฟต์จะต้องถูกป้อนกำลังจากเครื่องจ่ายกำลังหลักปกติหรือจากเครื่องจ่ายกำลังสำรองถ้ามี สภาวะดังต่อไปนี้จะต้องเกิดขึ้นพร้อมกันทั้งหมด

การทำงานของสวิตช์การทำงานทางไฟฟ้าแบบฉุกเฉินจะต้องทำให้การควบคุมการเคลื่อนที่ของลิฟต์ทำได้โดยแรงกดอย่างต่อเนื่องที่ปุ่มซึ่งอยู่ที่ห้องเครื่องและปุ่มดังกล่าวมีการป้องกันการทำงานโดยพลั้งเผลอ ทิศทางของการเคลื่อนที่จะต้องบ่งชี้ไว้อย่างชัดเจน

หลังการทำงานของสวิตช์การทำงานทางไฟฟ้าแบบฉุกเฉิน การเคลื่อนที่ทั้งหมดของลิฟต์จะถูกป้องกันยกเว้นการเคลื่อนที่ที่ควบคุมโดยสวิตช์ตัวนี้

คำแนะนำ และคู่มือการใช้งาน

การเตรียมการทั่วไป

ป้าย คำแนะนำ เครื่องหมายและคู่มือการใช้งาน กล้องวงจรปิดในลิฟต์ ทั้งหมด จะต้องเป็นเป็นไปตามข้อบังคับ และเข้าใจได้โดยง่าย ถ้าจำเป็น ใช้เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ช่วยได้ โดยทั้งหมดต้องทำจากวัสดุที่ทนทาน โดยติดตั้งไว้ในตำแหน่งที่ง่ายต่อการมองเห็นตัวลิฟต์

ภายในตัวลิฟต์ จะต้องมีป้ายแสดงน้ำหนักพิกัดบรรทุกหน่วยเป็นกิโลกรัมพร้อมทั้งจำนวนผู้โดยสารที่รองรับได้ไว้ด้วย โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

“………กิโลกรัม………คน”

ขนาดตัวอักษรจะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้

  • 10 มิลลิเมตร สำหรับตัวพิมพ์ใหญ่และตัวเลข

  • 7 มิลลิเมตรสำหรับตัวพิมพ์เล็ก

ชื่อตัวแทนจำหน่ายและหมายเลขประจำเครื่องลิฟต์ของผู้ขายต้องแสดงไว้ภายในตัวลิฟต์

สวิตช์หลัดลิฟต์(ถ้ามี) จะต้องเป็นสีแดงและเขียนคำว่า STOP ในตำแหน่งที่สามารถใช้งานได้โดยไม่มีความเสี่ยงต่อความผิดพลาดระหว่าง STOP กับใช้งานปกติ

ปุ่มสัญญาณแจ้งเหตุ (ถ้ามี) ต้องมีสีเหลืองและแสดงด้วยสัญลักษณ์สีแดงและสีเหลืองจะไม่ใช้กับปุ่มอื่นใดอีก อย่างไรก็ตามสีเหล่านี้อาจใช้เพื่อแสดงสัญญาณ “บันทึกการเรียกลิฟต์”

คำแนะนำการใช้เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานของลิฟต์จะต้องแสดงไว้ในตัวลิฟต์ พร้อมสำหรับการใช้งานตลอดเวลาโดยอย่างน้อยต้องแสดงไว้ว่า

  • กรณีของลิฟต์ที่มีการปรับระดับชั้นขณะประตูเปิด ต้องมีคำแนะนำสำหรับการใช้งานนี้บอกไว้

  • สำหรับลิฟต์ที่มีระบบโทรศัพท์หรืออินเตอร์คอมต้องมีคู่มือแสดงการใช้งาน หากไม่ได้เป็นระบบที่ใช้ง่ายๆ

หลังคาลิฟต์

บนหลังคาลิฟต์จะต้องแสดงข้อมูลต่างๆต่อไปนี้

  • คำว่า “STOP” บนอุปกรณ์หรือใกล้กับอุปกรณ์สำหรับหยุด เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงต่อความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อต้องการหยุดหรือใช้งานปกติ

  • คำว่า “NORMAL” และ “INSPECTION” บนปุ่มหรือข้างๆ ปุ่มสั่งการตรวจสอบ

  • ทิศทางการเคลื่อนที่ บนปุ่มหรือข้างปุ่ม INSPECTION

  • สัญลักษณ์หรือคำแจ้งเตือนที่ราวกันตก

ตรวจเช็คจำนวนสินค้า | ข้อมูลสินค้า | ขอใบเสนอราคา

ติดต่อทางลายแอท
เฟสบุค
ติดต่อทางเมล
ติดต่อด่วน
ฝ่ายขายกล้องวงจรปิด
ฝ่ายขายกล้องวงจรปิด2

ลิฟต์ส่งของ (Dumbwaiters)

เพื่อเป็นข้อกำหนดของการติดตั้งกล้องวงจรปิดในลิฟต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าและแขวนด้วยเชือก หรือโซ่ ซึ่งใช้ขนของจากระดับชั้นหรือสูงกว่าระดับชั้นมีความจุไม่เกิน 500 กิโลกรัม และความเร็วไม่เกิน 1.00 เมตรต่อวินาที โดยมีคำจำกัดความ ดังนี้

ห้องลิฟต์ คือ ส่วนของลิฟต์ที่ใช้ใส่ของ

ลิฟต์ส่งของ คือ อุปกรณ์เครื่องจักรที่สร้างขึ้นอย่างถาวร ออกแบบเพื่อใช้ขนของไปยังระดับชั้นที่เจาะจงไว้ โดยห้องลิฟต์มีขนาดและวิธีการสร้างที่ผู้โดยสารเข้าไปอยู่ไม่ได้

และแล่นในแนวดิ่งเพื่อไม่ให้ผู้โดยสารเข้าไปอยู่ในห้องลิฟต์ สามารถทำได้โดยกั้นเป็นสัดส่วนที่พื้นที่แต่ละส่วนไม่มากกว่า 1.25 ตารางเมตร และมีสัดส่วน ทั้งกว้างยาวสูง ไม่เกินด้านละ 1.40 เมตร

การจัดเตรียมลิฟต์ส่งของ

ปล่องลิฟต์ (Lift Well)

ปล่องลิฟต์จะต้องปิดทึบมีช่องเปิดเฉพาะประตู ตามชั้น หรือประตูให้ผู้เข้าไปตรวจซ่อมเข้าถึงชิ้นส่วนต่างๆของลิฟต์ บานประตูที่เปิดเข้าไปเพื่อตรวจซ่อมจะต้องเป็นแบบดึงออก (Swing out)

มีขนาดสูงไม่น้อยกว่า 1.40 เมตร กว้างไม่น้อยกว่า 0.60 เมตร และลิฟต์จะแล่นได้เมื่อประตูนี้ปิด โดยใช้สวิตช์ไฟฟ้า ควบคุมระยะห่างระหว่างธรณีตัวลิฟต์ และธรณีตามชั้นจะต้องไม่เกิน 25 มิลลิเมตร

ระหว่างกำแพงปล่องกับกรอบประตูต้องไม่เกิน 0.15 เมตร ถ้าพื้นที่ใต้ปล่องลิฟต์ เป็นที่คนเข้าได้จะต้องมีเครื่องนิรภัยของลิฟต์ และโครงน้ำหนักถ่วง ยกเว้นลิฟต์ที่ความจุไม่ถึง 50 กิโลกรัม และระยะวิ่งสูงไม่เกิน 4.00 เมตร

การสร้างปล่องลิฟต์ให้คำนึงถึงระยะเผื่อ เมื่อตัวลิฟต์หรือโครงน้ำหนักถ่วงชนแท่นรับ และแท่นยุบตัวสุดแล้ว โครงน้ำหนักถ่วงหรือตัวลิฟต์จะไม่กระแทกพื้นด้านบน ระยะเผื่อนี้จะต้องไม่น้อยกว่า 50 เมตร

บ่อลิฟต์ (Lift Pit)

จะต้องไม่มีน้ำซึมเข้าและมีสวิตช์หยุดไม่ให้ลิฟต์ทำงาน เมื่อมีผู้เข้าไปตรวจซ่อมในบ่อลิฟต์

ห้องเครื่องลิฟต์

  • เครื่องลิฟต์และอุปกรณ์ประกอบจะอยู่ในห้องเครื่องเป็นสัดส่วนซึ่งสามารถปิดล็อกมิให้ผู้ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าได้

  • ห้องเครื่องจะต้องมีการระบายอากาศที่เพียงพอ ไม่มีน้ำฝนสาดเข้ามีแสงสว่างเพียงพอเพื่อการทำงาน ประตูเข้าห้องเครื่องจะต้องมีขนาดไม่เล็กกว่า 60 เมตร x 0.60 เมตร และปิดล็อกได้

  • ห้องเครื่องลิฟต์ จะไม่มีอุปกรณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับระบบลิฟต์ออยู่ด้วย เช่น ท่อสายไฟฟ้า ฯลฯ และการจัดวางอุปกรณ์ให้สามารถทำงานได้

ประตูปล่องลิฟต์

  • ประตูตามชั้นจะต้องปิดทึบไม่มีรูทะลุ และระยะระหว่างบานประตูกับกรอบประตูหรือบานประตูกับธรณีจะไม่เกิน 6 มิลลิเมตร

  • ธรณีประตูตามชั้นจะต้องแข็งแรงพอที่จะรับขาการขนถ่ายวัสดุได้

  • บานประตูจะต้องออกแบบให้ไม่ตกจากรางประตูหรือหลุดากตำแหน่งขณะปิด-เปิด จนสุด

  • ลิฟต์จะไม่สามารถแล่นได้ ถ้าประตูตามชั้นทุกบาน และทุกชั้นไม่ปิดสนิท

  • ระยะห่างของลิฟต์จากระดับชั้น จะต้องไม่เกิน 75 มิลลิเมตร จึงสามารถเปิดประตูได้

  • ประตูตามชั้นจะต้องสามารถเปิดได้โดยกุญแจพิเศษจากภายนอกในกรณีฉุกเฉิน

  • ประตูในสภาพที่ปิดสนิท จะต้องทนแรงขนาด 300 นิวตัน ในแนวตั้งฉากกับบานประตูโดยไม่เสียรูปทรง

ห้องลิฟต์และน้ำหนักถ่วง

  • ห้องลิฟต์จะต้องเป็นรูปทรงที่แข็งแรงและปิดทึบ ยกเว้นช่องเปิดของบานประตูและสามารถรับแรงกระแทกเมื่อห้องลิฟต์ชนแท่นรับแรงกระแทก

  • ชุดนำร่องหรือเพื่อให้ห้องลิฟต์อยู่ในรางจะต้องใช้อย่างน้อย 2 คู่

  • ถ้ามีการกั้นเป็นชั้นอย่างถาวรหรือชั่วคราวแผงกั้นแบ่งชั้นจะต้องยึดติดอย่างหนาแน่นไม่หลุดเคลื่อนขณะลิฟต์ใช้งาน

  • ความกว้าง หรือความยาว หรือสูง ของลิฟต์ต้องไม่เกิน 4 เมตร และน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 500 กิโลกรัม

  • ห้องลิฟต์จะต้องมีการป้องกันมิให้สิ่งของที่บรรทุกเคลื่อนที่ล้ำออกมา ถ้าไม่มีประตูที่ตัวลิฟต์

  • ถ้ามีบานประตูที่ห้องลิฟต์ จะต้องมีสวิตช์ไฟฟ้าควบคุมไม่ให้ลิฟต์ทำงาน ถ้าบานประตูไม่ปิดสนิท

อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย

เมื่อตัวลิฟต์หรือโครงน้ำหนักถ่วงไม่สามารถเคลื่อนที่ลงเพราะเกิดการติดขัด

ลิฟต์แบบใช้ล้อหมุนเก็บเชือกลวด จะต้องมีอุปกรณ์ตัดวงจรไฟฟ้าควบคุมให้หยุดการทำงานเมื่อเชือกลวดหย่อนเมื่อลิฟต์เคลื่อนในทิศทางลงแล้วเกิดติดขัดลงไม่ได้

ลิฟต์ขับเคลื่อนด้วยความฝืดจะต้องมีอุปกรณ์ตัดวงจรไฟฟ้าควบคุมให้หยุดการทำงาน ถ้าใช้เวลาวิ่งเกินกว่า 10 วินาที่ ของเวลาที่ใช้ในการวิ่งปกติจากชั้นบนสุดถึงล่างสุด (ป้องกันการหมุนฟรี)

ลิฟต์สำหรับคนพิการ (Disable Lift)

ลิฟต์โดยสารสำหรับอาคารสาธารณะ ซึ่งจัดเตรียมไว้เพื่อการสัญจรในแนวดิ่งให้เป็นลิฟต์สำหรับคนพิการ (Disable Lift) ซึ่งจำเป็นต้องติดตั้งกล้องวงจรปิดในลิฟต์อย่างน้อย 1 ชุด ถ้าอาคารนั้นมีลิฟต์เพียวชุดเดียวก็ให้ลิฟต์ชุดนั้นสามารถบริการกับคนพิการได้ด้วย

ข้อกำหนดของลิฟต์สำหรับคนพิการ

นอกจากข้อกำหนดของลิฟต์ที่กำหนดในหมวดลิฟต์โดยสารและลิฟต์บริการแล้ว ลิฟต์สำหรับคนพิการจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้

  1. ให้ความสะดวกแก่คนพิการทางด้านกายภาพที่มีความสามารถช่วยเหลือตัวเองได้

  2. ปุ่มกดเลือกชั้นและบังคับลิฟต์ที่จัดเตรียมไว้สำหรับผู้พิการทางสายตาให้เพิ่มอักษรเบรลล์กำกับไว้ด้วย

  3. ถ้าสามารถจัดเตรียมระบบการบอกชั้นหรือการเตือนต่างๆ ด้วยระบบเสียงก็จะช่วยให้ผู้พิการทางสายตามีความสะดวกมากขึ้น

  4. ให้มีระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินที่โถงลิฟต์ภายในตัวลิฟต์ที่สามารถส่งสัญญาณเพื่อให้เจ้าหน้าที่ดูแลอาคารสามารถเข้ามาช่วยเหลือได้

  5. การจัดเตรียมลิฟต์สำหรับคนพิการนี้จะต้องสอดคล้องกับกฎกระทรวงว่าด้วยเรื่อง การจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ โดยเฉพาะส่วนประกอบของอาคารที่เกี่ยวข้อง

การจัดเตรียมลิฟต์สำหรับคนพิการ

สาแหรกโครงสร้างตัวลิฟต์ จะต้องทำจากวัสดุที่ไม่ติดไฟ หรือไม่ติดไฟได้ง่าย ผนังพื้นและเพดานลิฟต์จะต้องทำจากวัสดุที่ไม่ติดไฟ พื้นลิฟต์จะต้องทำด้วยวัสดุที่ไม่ติดไฟ

ผิวคลุมพื้จะต้องเป็นวัสดุกันลื่นโดยเฉพาะเมื่อเปียก และใช้วัสดุที่ลดการเกิดเสียงให้มากที่สุด ส่วนวัสดุตกแต่งภายในจะต้องเป็นวัสดุที่ไม่ลุกเป็นไฟและไม่ก่อให้เกิดควันพิษที่เป็นอันตรายขณะเกิดอัคคีภัย

ความเร็วของลิฟต์ควรเป็นไปตามความเหมาะสมของความสูงของอาคารหรือตามที่กำหมายกำหนด

ประตูลิฟต์จะต้องเปิดโดยไม่มีสิ่งกีดขวางมีความกว้างไม่น้อยกว่า 0.80 เมตร โดยจะเป็นประตูเปิดกลางหรือเปิดข้างก็ได้แต่จะต้องเปิดออกไปสู่โถงลิฟต์โดยไม่มีสิ่งกีดขวางจากกึ่งกลางประตูอย่างน้อยข้างละ 0.75 เมตร

พื้นของลิฟต์จะต้องปรับแต่งให้มีระดับเดียวกันกับพื้นโถงลิฟต์อยู่เสมอถ้ามีการเปลี่ยนแปลงของระดับโถงลิฟต์และพื้นภายในลิฟต์มากกว่า 15 มิลลิเมตรจะต้องทำการแก้ไขทันที

ขนาดภายในลิฟต์ต้องกว้างและยาวไม่น้อยกว่า 1.10 เมตรx1.20 เมตร และมีอักษรเบลล์กำกับไว้ทุกปุ่มที่มีสิ่งติพิมพ์กำกับ

ภายนอกลิฟต์จะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางเก้าอี้เข็น ตรงบริเวณที่กดปุ่มลิฟต์ที่อยู่ภายในลิฟต์ให้มีราวจับสูงจากลิฟต์ไม่น้อยกว่า 0.80 เมตร เมื่อลิฟต์หยุดตามชั้นต่างๆจะต้องมีเสียงบอกระดับชื่อชั้นนั้นๆ

ภายในห้องลิฟต์ หากลิฟต์ขัดข้องให้มีทั้งเสียงและดวงไฟเตือนภัยเป็นไฟกระพริบทั้งภายนอกและภายในลิฟต์ให้ผู้พิการทางกายภาพมองเห็นและผู้พิการทางสายตาได้ยินหรือสื่อความหมายให้ได้รับรู้

กรณีฉุกเฉินและกรณีอัคคีภัยในอาคารให้ผู้พิการไปใช้ลิฟต์พนักงานดับเพลิงเท่านั้น ผู้ดูแลอาคารต้องมีมาตรการช่วยเหลือผู้พิการและฝึกซ้อมให้ทำงานได้โดยไม่ชักช้า

ลิฟต์เตียงคนไข้ (Bed Lift)

ลิฟต์เตียงคนไข้ คือลิฟต์ที่ออกแบบสำหรับขนเตียงคนไข้ระหว่างชั้นต่างๆภายในโรงพยาบาล หรืออาคารสถานพยาบาล โดยจำเป็นจะต้องติดตั้งเตียงคนไข้มีความเร็วระหว่าง 0.75 เมตรต่อวินาที ถึง 1.75 เมตรต่อวินาที

โดยลิฟต์เตียงคนไข้ต้องออกแบบให้มีจำนวนพอเพียงในการให้บริการและเป็นสัดส่วนแยกจากลิฟต์โดยสารอื่นๆ ภายในโรงพยาบาล

โดยจัดให้มีอัตราส่วนลิฟต์ 1 ชุด ต่อจำนวนเตียงผู้ป่วย 120 เตียง ในสถานที่นั้น ในกรณีที่มีความจำเป็นที่จะต้องออกแบบให้ลิฟต์เตียงคนไข้ใช้ร่วมกับลิฟต์โดยสารอื่น จะต้องคำนวณขนาดของลิฟต์ดังกล่าวตามข้อกำหนด

ลิฟท์ขนของ

การจัดเตรียมลิฟต์เตียงคนไข้

ลิฟต์เตียงคนไข้กำหนดให้มี 2 ขนาดแยกตามมวลบรรทุก คือ 750 กิโลกรัม และ 1000 กิโลกรัม ขนาดวัดภายในของลิฟต์มวลบรรทุก 750 กิโลกรัม มีความกว้าง 1.30 เมตร ความลึก 2.30 เมตร และความสูง 2.30 เมตร

ขนาดวัดภายในของลิฟต์มวลบรรทุก 1000 กิโลกรัม มีความกว้าง 1.50 เมตร ความลึก 2.50 เมตร และความสูง 2.30 เมตร ประตูลิฟต์ควรเป็นแบบสองบาน เปิด-ปิดอัตโนมัติในทางเดียวกัน เปิดได้กว้างไม่น้อยกว่า 1.10 เมตร และสูงไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร

แผงบังคับภายในตัวลิฟต์จะต้องจัดให้มีปุ่มกดพิเศษซึ่งเมื่อใช้งานจะหน่วงเวลาให้เปิดประตูเปิดค้างไว้นานกว่าช่วงเวลาเปิดประตูโดยอัตโนมัติ ทั้งนี้เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมเวลาที่จะเปิดประตู

ในขณะเคลื่อนย้ายเตียงคนไข้เข้าหรืออกจากลิฟต์ มีระบบบังคับลิฟต์ โดยพนักงานเข็นเตียงควบคุมการทำงานบนแผงบังคับในตัวลิฟต์  จะต้องมีระบบป้องกันประตูหนีบเตียงคนไข้ หรือ

ผู้โดยสารขณะเข้าออกจากลิฟต์ คือระบบใช้กลอุปกรณ์ (Safety Edge) หรือระบบใช้ลำแสง (Photo Ray) มีราวกันกระแทกภายในลิฟต์ 3 ด้าน อย่างน้อย 1 ระดับ ลักษณะและความสูงตามความเมหาะสม ลิฟต์เตียงคนไข้ที่มีสมรรถนะแตกต่างจากมาตรฐานนี้ให้อ้างอิงตามมาตรฐานสากล

การจัดเตรียมโถงลิฟต์เตียงคนไข้

ขนาดของโถงลิฟต์ต้องมีพื้นที่พอเพียงในการเคลื่อนย้ายเตียงคนไข้ขณะเข้สหรือออกจากลิฟต์เพื่อให้เตียงคนไข้สามารถหมุนหรือกลับตัวได้สะดวกโดยต้องมีพื้นที่โล่งปราศจากสิ่งกีดขวางใดๆอย่างน้อยในระยะ 2.50 เมตร จากประตูชานพัก (ประตูปล่องลิฟต์) และมีความกว้างที่หน้าประตูชานพักไม่น้อยกว่า 2.50 เมตร

โถงหน้าลิฟต์ต้องไม่เป็นพื้นที่ต่างระดับ หรือมีธรณีประตูที่สูงเกิน 1.50 เซนติเมตร ในทิศทางสัญจร โถงหน้าลิฟต์ต้องมีป้ายระบุอย่างชัดเจนว่าเป็นลิฟต์เฉพาะสำหรับเตียงคนไข้ โดยติดตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม และมีป้ายบอกอธิบายการใช้ลิฟต์โดยสังเขป

ในกรณีที่ภายในอาคารมีลิฟต์เตียงคนไข้ใช้บริการเพียง 1 ชุด และไม่มีลิฟต์โดยสาร มีความจำเป็นใช้ลิฟต์เตียงคนไข้ดังกล่าวเป็นทั้งลิฟต์โดยสาร และขนเตียงคนไข้ ให้ปฏิบัติดังนี้

  • ให้มีป้ายระบุจำนวนผู้โดยสารสูงสุดที่ลิฟต์สามารถบรรทุกได้ ติดตั้งไว้ทุกทุกชั้นบริเวณเหนือปุ่มกดที่หน้าชั้นโดยมีจำนวนผู้โดยสารสำหรับบรรทุก 750 กิโลกรัม บรรทุกผู้โดยสารได้ไม่เกิน 11 คน ลิฟต์มวลบรทุก 1000 กิโลกรัม บรรทุกผู้โดยสารได้ไม่เกิน 15 คน

  • ให้มีระบบสัญญาณเตือนเป็นเสียง เมื่อมีน้ำหนักบรรทุกภายในตัวลิฟต์มากกว่าร้อยละ 80 ของมวลบรรทุก แต่ยังให้ลิฟต์ทำงานได้ต่อไป สัญญาณเสียงนี้ให้แยกต่างหากจากระบบเตือนบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัด

 

ตรวจเช็คจำนวนสินค้า | ข้อมูลสินค้า | ขอใบเสนอราคา

ติดต่อทางลายแอท
เฟสบุค
ติดต่อทางเมล
ติดต่อด่วน
ฝ่ายขายกล้องวงจรปิด
ฝ่ายขายกล้องวงจรปิด2

การตรวจสอบและการทดสอบลิฟต์ที่ติดตั้งเสร็จก่อนส่งมอบงาน

การตรวจสอบเพื่อรับงานและทดสอบลิฟต์ติดตั้งกล้องวงจรปิดในลิฟต์ใหม่ และการปรับปรุงเปลี่ยนปลง (Acceptance Inspection and Teste of New Installations and Alterations)

เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยจากการทำงานของลิฟต์ใหม่ และเพื่อให้ทุกๆชิ้นส่วนที่ติดตั้งแล้วจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานของ ว.ส.ท. หรือมาตรฐานของผู้ผลิต

ขั้นตอนการตรวจสอบ

การตรวจสอบห้องเครื่อง (Machine Room Inspection)

ตรวจสอบความสะอาดของห้องเครื่องและระบบป้องกันน้ำเข้า

ตรวจแสงสว่าง และการระบายอากาศของห้องเครื่อง

ตรวจตำแหน่งของสวิตช์หลักหรือตัวตัดวงจร

ตรวจและเน้นให้มีกุญแจประตูห้องเครื่องที่ล็อกห้องเพื่อป้องกันผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปได้

ตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ในห้องเครื่อง

กำลังไฟฟ้า “ในสภาวะที่ยังไม่จ่ายกำลังไฟฟ้าให้ระบบ” (OFF)

มอเตอร์และเครื่องขับ

  • บันทึกและตรวจแผ่นข้อมูลของเครื่องลิฟต์ (Name plate)

  • ตรวจแท่นรองรับและสลักเกลียวยึดฐานราก

  • ตรวจมาตรวัดน้ำมันและระดับน้ำมัน

  • ตรวจรอกขับและเส้นผ่านศูนย์กลางของรอกขับ (Driving Sheave)

ลวดสลิงแขวน

  • ลวดแขวน ให้ถูกต้องตามแบบของผู้ผลิต

ตัวควบคุมความเร็ว (Governor)

  • ตรวจสภาพทั่วไปของตัวควบคุมความเร็ว

  • ตรวจสลิงของตัวควบคุมความเร็ว และวัดเส้นผ่านศูนย์กลาง

  • ตรวจกลไก ทริป และสวิตช์ต่างๆ ของตัวควบคุมความเร็ว (Tripping Mechanism)

เบรก (Brake)

  • ตรวจความสะอาดของก้ามเบรก และจานเบรก

  • ตรวจการหล่อลื่นของพินเบรก

  • ตรวจสภาพของหน้าสัมผัสทางไฟฟ้าของเบรก

ชุดควบคุม (Controller Mechanism)

  • ตรวจรายละเอียด รีเลย์ทุกตัว สวิตช์ หน้าสัมผัสทางไฟฟ้า หม้อแปลงเร็กติไฟเออร์ ตัวต้านทาน คาปาซิเตอร์ รีแอกเตอร์ สายไฟต่างๆ

  • ตรวจดูให้มั่นใจได้ว่าฟิวส์ที่อยู่ในกระบอกฟิวส์มีขนาดถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในวงจร

การเดินสายไฟ (Wiring)

  • ตรวจการเดินสายไฟและการต่อลงดินทุกๆจุดในห้องเครื่อง

กำลังไฟฟ้า “ในสภาวะที่กำลังจ่ายไฟ” (ON)

มอเตอร์ (Traction Motor) และชุดเกียร์ (Machine)

  • สังเกตสภาพการหมุนของมอเตอร์ขับลาก

ลวดสลิงแขวน (Hoisting Rope)

  • ตรวจลวดสลิงแขวน เพื่อหาความเสียหายที่สามารถมองเห็นได้

ตัวควบคุมความเร็ว (Governor)

  • ตรวจสภาพต่างๆ ของตัวควบคุมความเร็วในขณะที่ลิฟต์เคลื่อนที่

เบรก (Brake)

  • สังเกตการทำงานของเบรกว่าเรียบและเงียบหรือไม่ตั้งระยะให้แน่ใจว่าระยะระหว่างผิวหน้าของผ้าเบรกและจานเบรกใกล้กันที่สุดเท่าที่จะทำได้หรือตามมาตรฐานของผู้ผลิต จะต้องไม่ปรากฏว่าอุณหภูมิของผิวหน้าของจานเบรกขึ้นสูงผิดปกติเมื่อลิฟต์ทำงานไปได้สักพักหนึ่ง

ชุดควบคุม (Controller)

  • ตรวจเพื่อให้มั่นใจว่า รีเลย์และหน้าสัมผัสทางไฟฟ้าทุกตัวทำงานอย่างปกติ ไม่มีประกายไฟ และเสียงดังที่ผิดปกติ

การทดสอบวงจรนิรภัยต่างๆ (Tesing of Safety Circuits)

ดับสวิตช์ไฟหลักแล้วตรวจสอบให้แน่ใจอีกครั้งหนึ่งโดยใช้โวลต์มิเตอร์ หรือไขควงตรวจไฟว่ามีแรงดันใดๆหลงเหลืออยู่ในวงจรกำลังหลัก และวงจรควบคุมใดๆ

ให้ทดสอบว่าการทำงานใดๆ ของลิฟต์รีเลย์ หรือระหว่างดังต่อไปนี้ จะทำให้ลิฟต์ไม่ทำงาน และทำให้เบรกจับโดยสปริง

การปรับปรุงพัฒนาระบบลิฟต์

การปรับปรุงพัฒนาระบบลิฟต์ (Modernization) คือการทำให้ลิฟต์ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันมีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และระบบกล้องวงจรปิดในลิฟต์มีความปลอดภัยในการใช้งานมากขึ้น

โดยการเปลี่ยนอุปกรณ์ต่างๆที่ได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีปัจจุบันเช่นตู้ควบคุม (Controller) ระบบควบคุมการเคลื่อนที่ (Drive Control) ระบบการเปิด-ปิดประตูลิฟต์ (Door oOperator) และกลอุปกรณ์ป้องกันประตูหนีบ (Door Safety Edge Device) เป็นต้น

ส่วนอุปกรณ์หลักที่ยึดติดอย่างถาวรกับตัวอาคารหรืออุปกรณ์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามเทคโนโลยีจะยังคงไว้เหมือนเดิมเช่น เฟรมประตูปล่องลิฟต์ ตู้ลิฟต์ โครงลิฟต์ รางลิฟต์ รางน้ำหนักถ่วง

และโครงน้ำหนักถ่วงเป็นต้น ยกเว้นในกรณีที่อุปกรณ์ข้างต้นเสื่อมสภาพหรือเป็นไปตามความประสงค์ของผู้อกแบบ โดยทั่วไปการปรับปรุงลิฟต์จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 70%-80% ของราคาลิฟต์ใหม่

ระยะเวลาในการำเนินการไม่นาน และไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ลิฟต์ในอาคารมาก เมื่อเปรียบเทียบกับการเปลี่ยนลิฟต์ใหม่ทั้งระบบ

ผลประโยชน์ทั่วไปที่ได้จากการปรับปรุงพัฒนาระบบลิฟต์ประกอบด้วย :

ประสิทธิภาพ (Efficiency) ประสิทธิภาพด้านการจัดการดีขึ้น เช่น เวลาในการรอลิฟต์ลดลง (Waiting Time) เวลาในการหยุดลิฟต์เพื่อบำรุงรักษาหรือตรวจซ่อมสั้นลง ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนตู้ควบคุมที่ทำงานด้วยระบบรีเลย์เป็นระบบที่ควบคุมด้วยไมโครโปรเซสเซอร์

การประหยัดพลังงาน (Energy Saving) ประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงานไฟฟ้าดีขึ้นซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนระบบควบคุมโดยไฟฟ้ากระแสสลับความเร็วเดียว

หรือสองความเร็ว หรือระบบการควบคุมโดยการเปลี่ยนแรงเคลื่อนไฟฟ้า หรือ ระบบควบคุม โดยสนามแม่เหล็กของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เป็นระบบที่ควบคุมระดับแรงเคลื่อนไฟฟ้าและความถี่ไฟฟ้า (VVVF)

ความปลอดภัย (Safety) ความปลอดภัยทั่วไปในการใช้งานดีขึ้นเนื่องระบบควบคุมการทำงานและระบบควบคุมการเคลื่อนที่สามารถควบคุมการวิ่ง การจอด และระดับจอดชั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปกติความคลาดเคลื่อนของระดับการจอดประมาณ 5 มิลลิเมตร

คุณภาพ (Quality) และความเชื่อถือได้ (Reliability) โอกาสที่เกิดลิฟต์ขัดข้องลดลงมาก เนื่องจากชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ (Moving Parts) และหน้าสัมผัสของรีเลย์มีจำนวนไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับระบบควบคุมที่ทำงานด้วยระบบรีเลย์

การตรวจสอบบำรุงรักษาระบบลิฟต์

ผู้ทดสอบจะต้องระมัดระวังระหว่างทำการตรวจสอบกล้องวงจรปิดในลิฟต์ และทดสอบระบบลิฟต์อันตรายที่จะเกิดขึ้นไม่เพียงแต่จะทำให้ผู้ทดสอบพิการเท่านั้น ยังอาจจะทำให้ถึงแก่ชีวิตได้  ผู้ทดสอบจะต้องสวมใส่เสื้อผ้าที่รัดกุม

และจะต้องระวังต่อชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวทุกชนิด โดยเฉพาะขณะที่ต้องทำงานอยู่บนตัวลิฟต์ ปล่องลิฟต์ และบ่อลิฟต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องการตรวจสอบอุปกรณ์ทางไฟฟ้าหรือต้องการหยุดการทำงานของระบบ จะต้องแน่ใจว่าได้ปลดกรแสไฟฟ้าแล้ว

เครื่องมือที่แนะนำให้ใช้ในการทดสอบ แบ่งได้ดังต่อไปนี้

การตรวจสอบและทดสอบเป็นประจำ

ไฟฉาย สำหรับการสำรวจในปล่องลิฟต์ กระบอกไฟฉายควรเลือกใช้เป็นแบบอโลหะ

  1. ตลับเมตร

  2. ชุดฟิลเลอร์เกจ

  3. ค้อนขนาดเล็ก

  4. ช็อกหรือสีเทียนเขียนโลหะ

  5. ไม้บรรทัดเหล็ก

  6. หมวกนิรภัย ควรเป็นอโลหะ

  7. ก้ามปู วัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของสลิง

  8. เครื่องมือวัดขนาดร่องต่างๆ

  9. รองเท้านิรภัย

  10. ทำสำเนาเอกสารที่เกี่ยวกับมาตรฐานในการตรวจสอบและทดสอบการทำงานของระบบลิฟต์และบันไดเลื่อน เช่น มาตรฐานของ ว.ส.ท. เป็นต้น

การตรวจสอบและทดสอบตามระยะเวลา และ การตรวจสอบรับงานนอกเหนือจากเครื่องมือ จะต้องจัดให้มีเครื่องมือดังต่อไปนี้
  1. นาฬิกาจับเวลา

  2. ตลับเมตร ชนิดวงล้อ

  3. เครื่องมือวัดรอบ

  4. เครื่องวัดทางไฟฟ้าแบบอเนกประสงค์และเครื่องมือวัดความต้านทานฉนวน

  5. ระดับน้ำ

  6. เครื่องมือวัดแรงที่ใช้ในการปิดประตูลิฟต์

  7. น้ำหนักบรรทุกทดสอบเพื่อใช้ในการทดสอบน้ำหนักบรรทุกของลิฟต์

  8. เครื่องวัดความเข้มของแสง

การตรวจสอบ และ ซ่อมบำรุงตามวาระ (Periodic Maintenance and Examination)
  1. พนักงานความปลอดภัย (Safety Officer) ทุกๆอาคาร จะต้องมีพนักงานความปลอดภัยที่ได้รับการฝึกฝนอบรมอย่างถูกต้อง ผู้ซึ่งจะต้องเข้าใจการใช้อุปกรณ์ดับเพลิงต่างๆ

    และจะต้องคุ้นเคยกับทางฉุกเฉินภายในอาคารนั้นๆ เช่นทางหนี ลิฟต์พนักงานดับเพลิง การทำงานของลิฟต์ขณะฉุกเฉิน ฯลฯ พนักงานความปลอดภัยนี้ จะต้องได้รับการฝึกฝนอบรมจากบริษัทลิฟต์ เพื่อให้สามารถทำงานช่วยคนในยามฉุกเฉินได้

  2. การซ่อมบำรุงตามวาระ เจ้าจองลิฟต์ทุกเครื่องจะต้องจัดให้ลิฟต์ทุกเครื่อง เครื่องลิฟต์ อุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวเนื่องและอุปกรณ์นิรภัยที่จัดไว้ให้ได้รับการทำความสะอาดหยอดน้ำมันหล่อลื่นและปรับแต่ง โดยบริษัทลิฟต์ที่ลงทะเบียนไว้ (Registered) ภายในวาระซึ่งไม่เกิน 1 เดือน

การตรวจ และ ทดสอบตามวาระ (Periodic Examination, Test and Inspection)

  1. วาระละไม่เกิน 12 เดือน เจ้าของลิฟต์ทุกเครื่อง จะต้องจัดให้ลิฟต์ได้รับการตรวจสอบอย่างสมบูรณ์ และตรวจพินิจทุกจุดเพื่อดูว่าการทำงานของเครื่องลิฟต์ทั้งหมดและอุปกรณ์ต่อเนื่องต่อเชื่อมนั้นทำงาน ถูกต้องตามลำดับการทำงาน

  2. วาระละไม่เกิน 6 เดือน เจ้าของลิฟต์ทุกเครื่อง จะต้องจัดให้เครื่องนิรภัยที่มีอยู่นั้น ได้รับการทดสอบการทำงานโดยมีภาระเต็มตามพิกัดภายในห้องโดยสาร

  3. ขณะที่ทดสอบดังกล่าวข้างต้น ถ้าพบว่าลิฟต์มีความเสียหายใดๆ ก็ดี จะต้องระงับการใช้ลิฟต์ตัวนั้น จนกว่าจะซ่อมให้ใช้งานได้ตามต้องการ

  4. จะต้องมีการเก็บ บันทึก ใบรับรองการตรวจสอบ ใบอนุญาต ฯลฯ ซึ่งออกให้กับลิฟต์อย่างถูกต้องตามลำดับ

  5. เจ้าของลิฟต์จะต้องทำตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดโดยหน่วยราชการที่ควบคุเกี่ยวข้องและสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบตามวาระ

 

ตรวจเช็คจำนวนสินค้า | ข้อมูลสินค้า | ขอใบเสนอราคา

ติดต่อทางลายแอท
เฟสบุค
ติดต่อทางเมล
ติดต่อด่วน
ฝ่ายขายกล้องวงจรปิด
ฝ่ายขายกล้องวงจรปิด2

ลิฟต์ระบบไฟฟ้า

การตรวจสอบเป็นประจำ

การตรวจสอบกล้องวงจรปิดในลิฟต์เป็นประจำ ให้ปฏิบัติตามข้อแนะนำตามมาตรฐานของผู้ผลิตลิฟต์

การตรวจสอบอุปกรณ์ในปล่องลิฟต์ ประตูลิฟต์ และกลอุปกรณ์ต่างๆ ประกอบการทำงานของประตูลิฟต์

  • ประตูลิฟต์และกลไกปิด-เปิด ประตูลิฟต์

  • กลอุปกรณ์ควบคุมและล็อกประตูลิฟต์ และตำแหน่งเปิด ปิดประตูที่ระดับกำหนด

  • กลอุปกรณ์เสริมควบคุมและล็อกประตูลิฟต์ เพื่อป้องกันประตูลิฟต์หนีบในช่วง 100 มิลลิเมตร ก่อนประตูลิฟต์จะปิดสนิท

  • ระบบป้องกันประตูหนีบด้วยการใช้กลไกและไฟฟ้า เช่น กลไกการป้องกันประตูหนีบแบบเชิงกล (Safety Edge) กลไกการป้องกันประตูหนีบแบบอิเล็คทรอนิคส์ กลไกการป้องกันประตูหนีบแบบลำแสงอิเล็คทรอนิคส์ (Photo Electric) และลำดับการทำงานในการเปิดประตูลิฟต์ เป็นต้น

  • การทดสอบหน้าสัมผัสไฟฟ้าของประตูลิฟต์

  • ประตูฉุกเฉินในลิฟต์สำหรับคนธรรมดา

  • ปุ่มเปิดประตูลิฟต์ฉุกเฉินในตัวลิฟต์

การตรวจสอบภายในตัวลิฟต์

  • ตัวถัง

  • ระดับแสงสว่างในตัวลิฟต์และไฟฉุกเฉิน

  • แผงควบคุมการทำงาน เช่น ปุ่มกดลิฟต์ต่างๆ ปุ่มกดลิฟต์ต่างๆ ปุ่มเรียกฉุกเฉิน ปุ่มเร่งการเปิด-ปิดประตู อุปกรณ์ควบคุมระดับการจอดลิฟต์ที่ระดับที่กำหนดและการบังคับหรือควบคุมลิฟต์ โดยผู้โดยสารหรือเจ้าหน้าที่ (Attendant Mode) เป็นต้น

  • พื้นลิฟต์ ประตูลิฟต์ และวงกบประตู

  • อุปกรณ์ป้องกันการเปิดประตูฉุกเฉินในตัวลิฟต์

  • อุปกรณ์ติดต่อระหว่างลิฟต์และภายนอก ชนิดติดต่อได้ 2 ทาง

  • สัญลักษณ์การทำงานและแงควบคุมการทำงาน

การตรวจสอบภายนอกปล่องลิฟต์

  • ประตูและกรอบประตูชานพักจากภายนอก

  • ช่องทางฉุกเฉินเข้าปล่องลิฟต์และอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย

  • กุญแจเปิดประตูชานพัก

การตรวจสอบจากด้านบนของลิฟต์

  • ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยของผู้ผลิต และ/หรือ ตามมาตรฐานความปลอดภัย ในการเข้าตรวจสอบลิฟต์จากด้านบนของลิฟต์ตามาตรฐานฉบับนี้

  • นำหนักถ่วง (Counterweight)

  • ตัวยึดสลิงขับลิฟต์และร่องลิฟต์

  • การตรวจสอบสลิงขับลิฟต์

  • การตรวจสอบ Compensating Chain

  • การหล่อลื่นสลิงขับลิฟต์

  • การตรวจสอบระยะการหยุดที่ตำแหน่งบนสุด (Overhead Distance)

  • การตรวจสอบระยะการหยุดที่ตำแหน่งล่างสุด (Lift Pit Distance)

  • ช่องว่างการเคลื่อนตัวในแนวนอนของตัวลิฟต์ และ Counterweight)

  • Guide Rail ของตัวลิฟต์ และ Counterweight รวมทั้งตัวยึดรางลิฟต์ต่างๆ

  • กลไกการขับเคลื่อน การล็อก การอินเตอร์ล็อก ละหน้าสัมผัสไฟฟ้าต่างๆ ของระบบประตูลิฟต์ และอุปกรณ์ประกอบต่างๆ พร้อมกับช่องเปิดที่ปล่องลิฟต์

  • ชุดควบคุมการทำงานบนหลังคาลิฟต์

  • กลไกการปลดชุดนิรภัย

  • Separate Beam

  • Car Leveling Device

  • Traveling Cable และอุปกรณ์ช่วยในการติดตั้งสายไฟฟ้าภายในปล่องลิฟต์

  • การทำงานของพัดลมและการระบายอากาศ

การทดสอบอุปกรณ์ในการหยุดลิฟต์ ตามมาตรฐานดังนี้

  • อุปกรณ์ที่ใช้ในการหยุดลิฟต์ตามปกติ

  • อุปกรณ์ที่หยุดลิฟต์โดยกลไก

  • อุปกรณ์หยุดลิฟต์ฉุกเฉิน และอุปกรณ์หยุดลิฟต์เมื่อความเร็วเกินพิกัด

Laser Optical Video Transmitter คืออะไร?

ใช้ในการส่งข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ชนิดอ่อนในลักษณะที่คล้ายกับระบบสื่อสาร Fiber Optic โดยอุปกรณ์นี้สามารถส่งภาพวีดีโอความคมชัดเทียบเท่า DVD และการส่งข้อมูลแบบไร้สายในอัตราความเร็วเทียบเท่าสายเคเบิ้ล

แสงเลเซอร์ที่ใช้เป็นอันตรายหรือไม่?

ใช้แสงเลเซอร์ที่ความเข็มข้นระดับ 2 แสงเลเซอร์ที่ใช้ส่งผ่านข้อมูลจัดอยู่ในระดับที่ปลอดภัย แม้ว่าจะมองจุดที่ส่งแสงด้วยตาเปล่า แสงเลเซอร์ส่งไปตามระยะเวลาจนถึงตัวรับทำให้มันยิ่งปลอดภัยมากขึ้น 

มีผลกระทบต่อระบบรักษาความปลอดภัยของลิฟต์หรือไม่?

ไม่มีผลกระทบต่อระบบความปลอดภัยของลิฟต์ เพราะมันไม่ได้สร้างคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาเลย อีกทั้งยังเพิ่มความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นเพราะไม่ต้องใช้สายเคเบิล และไม่มีผลกระทบสายไฟเส้นอื่นๆ


มีใบรองรับจากหน่วยงานใดบ้าง?

ได้รับมาตรฐาน CE, FCC, IEC-60825-1:2007(2nd Edition) และ FDA’s CDRH สำหรับความปลอดภัยของแสงเลเซอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรฐานจากองค์การอาหารและยา ข้อ 1040.10 สำหรับอุปกรณ์ที่มีการใช้แสงเลเซอร์

สภาพอากาศมีผลต่อการทำงานส่งสัญญาณหรือไม่?

สามารถมีผลกระทบต่อสำแสง ฝน หมอก หรือหิมะ จะลดการมองเห็น การกระจาย และการส่งแสงเลเซอร์ แต่เหตุการณ์เหล่าจะไม่เกิดภายในช่องทางเดินลิฟต์

ถ้ามีฝุ่นบนตัวรับสัญญาณจะมีปัญหาหรือไม่?

สามารถที่จะส่องผ่านฝุ่นในระดับหนึ่งได้ โดยไม่มีผลกระทบในการส่งข้อมูล หรือแม้กระทั่งเรานำกระดาษทิชชู่บางๆ มาวางไว้บนตัวส่งสัญญาณแต่เราควรทำความสะอาดเลนส์ทุกๆ 2-3 ปี โดยใช้แปรงสำหรับทำความสะอาดเลนส์ 

ตรวจเช็คจำนวนสินค้า | ข้อมูลสินค้า | ขอใบเสนอราคา

ติดต่อทางลายแอท
เฟสบุค
ติดต่อทางเมล
ติดต่อด่วน
ฝ่ายขายกล้องวงจรปิด
ฝ่ายขายกล้องวงจรปิด2

สรุป

การติดตั้งกล้องวงจรปิดในลิฟท์ ช่วยแก้ปัญหากวนใจสายสัญญาณกล้องวงจรปิดในลิฟท์ขาด ลดปัญหาที่จะต้องคอยเรียกทั้งช่างกล้องวงจรปิดมาเดินสายให้ใหม่ เรียกช่างลิฟท์มาคอยควบคุมลิฟท์ให้ช่างกล้องวงจรปิด

ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปหากท่านตัดสินใจใช้อุปกรณ์เฉพาะ ติดตั้งกล้องวงจรปิดในลิฟท์กับเรา ปัญหากวนใจจะหมดไปทันที่ ที่สำคัญต้องติดตั้งด้วยช่างที่ชำนาญโดยเฉพาะด้วย

 

แนะนำข้อมูลเพิ่มเติมจาก : สมาคมลิฟต์