โทรทัศน์วงจรปิด

โทรทัศน์วงจรปิด บันทึกภาพขึ้น-ลง และโดยสารเรือ อย่างปลอดภัย

โทรทัศน์วงจรปิด บันทึกภาพขึ้น-ลง และโดยสารเรือ อย่างปลอดภัย

โทรทัศน์วงจรปิด บันทึกภาพขึ้น-ลง และโดยสารเรือ อย่างปลอดภัย อย่างปลอดภัยจากเหตุโศกนาฎกรรมทางน้ำที่เกิดขึ้นกับเรือโดยสารในประเทศเกาหลี ซึ่งส่งผลให้เกิดความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ ผู้เกี่ยวข้องหลาย ๆ ฝ่ายคงหันมาให้ความสนใจเรื่องความปลอดภัยในการ ขึ้น-ลง และโดยสารเรือ กันมากยิ่งขึ้น จะว่าไปประเทศไทยเองก็เคยเจอกับเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องการใช้เรือโดยสารเช่นนี้กันมาบ้าง แต่เท่าที่ผู้เขียนจำได้แม่นยำน่าจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบริเวณโป๊ะท่าเรือพรานนก ที่เหตุการณ์ในครั้งนั้นยังคงเป็นที่จดจำได้ของใครหลายคน และ เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว หลายมาตรการถูกนำมาใช้ และ เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้า หลายมาตรการก็อาจกลับมาหละหลวมเช่นเดิม

โทรทัศน์วงจรปิด บันทึกภาพขึ้น-ลง และโดยสารเรือ อย่างปลอดภัย

สาเหตุแห่งการเกิดอุบัติภัยทางเรืออาจมาจากหลาย อาทิ เรือชนกัน เรือรั่ว เรือชนกัน ซึ่งอาจเกิดจากความประมาทเของคนขับเรือ หรือ เป็นคนขับเรือมือใหม่ที่ยังขาดความชำนาญ และ แม้ว่าสถิติอุบัติเหตุทางเรือจะไม่เกิดขึ้นบ่อยครั้งเท่ากับอุบัติเหตุทางรถ แต่กันไว้ย่อมดีกว่าแก้ เรามีวิธีการง่าย ๆ เพื่อความปลอดภัยในชีวิต และ ทรัพย์สินสำหรับผู้ที่ต้องใช้บริการเรือโดยสาร (เรือเมล์) เรือทัศนาจร เรือหางยาว หรือ เรืออื่น ๆ ดังนี้

กล้องวงจรปิด CCTV บทความ ขึ้น-ลง และโดยสารเรือ อย่างปลอดภัย

  1. หากว่ายน้ำไม่เป็น กรุณาอย่าลงเรือ เนื่องจากหากเกิดเหตุทุกคนย่อมเอาตัวรอดก่อน หรือ แม้มีผู้มาช่วยก็ไม่แน่ว่าจะรอดเพราะหากผู้ที่เข้ามาช่วยนั้นไม่เคยเรียนรู้ และ ฝึกฝนจนชำนาญก็อาจเป็นอันตรายต่อผู้ที่จมน้ำ และ ผู้ที่เข้ามาช่วยเหลือ
  2. การคอยเรือบนฝั่ง หรือ บนท่าเรือ เป็นสิ่งที่ปลอดภัยมากกว่าการลงมารอเรือที่โป๊ะ เพราะหากมารอที่โป๊ะขณะที่เรือเทียบท่าคลื่นอาจซัดให้โป๊ะโครงเลงอาจทำให้เราเสียหลัก และ อาจพลัดตกน้ำได้
  3. การขึ้น-ลง ควรรอให้เรือจอดเทียบท่าก่อน และ ขึ้นลงอย่างเป็นระเบียบ อย่าเร่งรีบจนละเลยความปลอดภัย หากเรือลำดังกล่าวมีผู้โดยสารแน่นแล้ว ควรรอลำต่อไปดีที่สุด
  4. เมื่อขึ้นมาบนเรือแล้ว ให้นั่งประจำที่ ห้ามนั่งบนกาบเรือ หรือ บนหลังคาเรือ ควรหาที่ยึดเกาะให้มั่นคง และ เนื่องจากอุบัติเหตุเรือล่มในหลายกรณีเกิดจาก ผู้โดยสารมากระจุกกันด้านใดด้านหนึ่งของเรือซึ่งจำทำให้เรือเสียการทรงตัวได้ดังนั้นจึงควรกระจายการนั่งบนเรืออย่างสมดุล
  5. เมื่ออยู่บนเรือควรเตรียมความพร้อมทั้งร่างกาย และ จิตใจ มีสติตลอดเวลาโดยเฉพาะเมื่อเกิดเหตุคับขัน (อย่าห่วงข้าวของที่จะเป็นอุปสรรคทำให้เราจมน้ำ อาทิ เช่น กระเป๋า รองเท้า)
  6. ก่อนการใช้บริการเรือโดยสารควรฟังข่าวคราวการพยากรณ์อากาศบ้าง หากมีการแจ้งว่าจะมีคลื่นลมแรง หรือ มีพายุรวมถึงมีการเตือนเรื่องเรือยังไม่ควรออกจากฝั่ง ควรงดเดินทางโดยทางเรือทันที
  7. หากเรือที่กำลังแล่นอยู่นั้นเกิดอาการโคลงเคลง อย่าตกใจมากนัก ตั้งสติครับ และ จับพนักที่นั่ง หรือ จับราวไว้ให้มั่น แล้วนั่งนิ่ง ๆ เพื่อกันการลื่นล้ม หรือ ไหลเอียงไปรวมกันในด้านใดด้านหนึ่งของเรือ จนเรือขาดความสมดุลย์ และ เสียการทรงตัว และ หากเรือล่มให้ตั้งสติ พยายามว่ายน้ำออกจากเรือโดยเร็วที่สุด พยุงตัวลอยน้ำไว้ และ คว้าสิ่งของที่สามารถช่วยให้ลอยน้ำได้ อาทิ ขอนไม้ ถังน้ำ ห่วงยางชูชีพ และ พยายามประคองตัวไว้ เพื่อรอคนมาช่วย หรือ ประคองไว้พอหายเหนื่อยจึงค่อยว่ายกลับเข้าฝั่งอย่างปลอดภัย
https://youtu.be/DiJWC0vDpeI

Related link :เครื่องบันทึก ทำงานบันทึกภาพ…ถูกโจรขโมยยางอะไหล่ !

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *