อุปกรณ์ติดตั้งรั้วไฟฟ้า
สารบัญ
1. เครื่องควบคุมรั้วไฟฟ้า (ENERGIZER)
2. ลวดรั้วไฟฟ้า (ELETRICAL WIRE)
3. ขายึดกำแพงรั้วไฟฟ้า (BRACKETS)
4. ห่วงกันกระสอบพาด (EARTH LOOP)
5. ป้ายเตือนอันตราย (WARNING SIGNS)
6. ไซเรน แรงอัด 120dB (SIREN)
7. แสดงสภาวะการทำงานของรั้วไฟฟ้า FENCE LIGHT
ตรวจเช็คจำนวนสินค้า | ข้อมูลสินค้า | ขอใบเสนอราคา
1. เครื่องควบคุมรั้วไฟฟ้า (ENERGIZER)
เครื่องควบคุมอุปกรณ์รั้วไฟฟ้าของเราใช้ยี่ห้อ NEMTEK รุ่น Druid 13LCD เป็นอุปกรณ์ตัวแรกทีชาดไม่ได้ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของงานติดตั้งรั้วไฟฟ้า เครื่องควบคุมของรั้วไฟฟ้ายี่ห้อ NEMTEK จริงๆ แล้วก็มีอยู่ด้วยกันหลายรุ่น ต้องเลือกให้เหมาะสมกับสภาพหน้างาน และความต้องการของผู้ต้องการใช้
ส่วนรุ่น NEMTEK Cruid 13LCD ถือเป็นรุ่นเล็กสุดและได้รับความนิยมมากส่วน เพราะรุ่นนี้เหมาสำหรับการติดตั้งบริเวณพื้นที่บ้านเดียวที่ไม่ใหญ่มาก ก็เลยเป็นอะไรที่นิยมแนะนำกัน ซึ่งราคาก็แค่ 30000 นิดๆ ไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับรุ่นอื่นๆ
การใช้งานของเครื่องควบคุมตัวนี้ก็ถูกสร้างออกมาให้ใช้งานง่าย ดูแลง่ายๆ ไม่ยุ่งยากมากนัก มีอุปกรณ์เปิดปิดการทำงานของตู้ควบคุมมาให้อยู่ด้วยกัน 2 ตัว ให้เจ้าของบ้านติดตัวไว้ หรือส่วนใหญ่แล้วก็จะทำการร้อยสายติดเอาไว้กับตัวตู้เครื่องควบคุม เพราะตัวเปิดปิดตู้เป็นลักษณะเหรียญอาจเกิดการสูญหายได้ง่าย
อีกอย่างหากท่านเจ้าของบ้านต้องการควบคุมผ่านทางมือถือ ก็สามารถทำการควบคุมได้เหมือนกันโดยซื้ออุปกรณ์ตัวพวกชิ้นใส่เข้าไปในตู้ควบคุม ก็สามารถเปิดปิด หรือให้เครื่องแจ้งเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นผ่านทางมือถือก็ได้เช่นกัน
ส่วนใหญ่แล้วก่อนการออกแบบงานรั้วไฟฟ้าทางผู้ต้องการใช้งานก็จะทำการส่งข้อมูลเบื้องต้นให้ทำการประเมินราคาก่อน อย่างเช่นระยะของรั้วรอบบ้านแต่ละแนวว่ามีความยาวเท่าไหร และก็จะส่งรูปภาพประกอบลักษณะของรั้วแต่ละแนวมาให้ดูเพื่อทำการประเมินความยาก ง่ายการทำงาน
หรือต้องเลือกใช้อุปกรณ์อะไรบ้างให้เหมาะสมต่อการทำงาน เพื่อให้การประเมินราคามีความใกล้เคียงกับราคาจริงๆ ให้มากที่สุด หากทำไปแล้วแต่หน้างานที่เข้าใจอาจจะคนละอย่างกัน ก็เสียเวลาทั้งเจ้าของบ้าน และผู้ติดตั้งนั้นเองทำให้ราคาที่เสนอไปทำงานไม่ได้
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : รั้วไฟฟ้า
2. ลวดรั้วไฟฟ้า (ELETRICAL WIRE)
ลวดของรั้วไฟฟ้าเป็นอีกชนิดอุปกรณ์ที่จำเป็นต้อง การเลือกขนาดของลวดรั้วไฟฟ้าส่วนใหญ่แล้วทางบริษัทก็จะเลือกใช้ขนาดที่ไม่ต่ำกว่า 1.5 mm. เพราะถือว่าเส้นของลวดไม่ใหญ่ และไม่เล็กจนเกินไปนัก อย่างบางร้านก็จะทำการลดต้นทุนโดยเลือกลวดรั้วไฟฟ้าที่ขนาดแค่ 1.2 MM.
ซึ่งส่วนตัวแล้วทางผมคิดว่าเส้นมันเล็กจะเกินไปอาจเกิดการขาด หรืออะไรหล่นทับก็เกิดการเสียหายได้ง่าย ทำให้ทางเราเลือกที่จะใช้ขนาดไม่ต่ำกว่า 1.5 MM หรือขนาด 2 MM หรือระยะที่เดินมีความไกลมากๆ แต่ราคาก็จะสูงขึ้นมาอีกนิดหน่อย
ลวดรั้วไฟฟ้าจะเป็นชนิดที่กันสนิมเพื่อให้การใช้งานได้อย่างยาวนาน รวมถึงอุปกรณ์ยึดลวดก็เหมือนกัน ก็ต้องกันสนิมทั้งหมดไม่งั้นอาจเกิดการเสียหาย หรือการใช้งานได้ไม่ยาวนาน หากเรานำเอาวัสดุอย่างอื่นที่ไม่เหมาะสมมาใช้งานติดตั้งรั้วไฟฟ้าของเรา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานตั้วไฟฟ้าต่างจังหวัดปัญหาส่วนใหญ่จะมีปัญหาเรื่องของเส้นลวดรั้วไฟฟ้าเกิดการขาด หรือเสียหายง่ายสุด เพราะกิ่งไม้มักหล่นใส่เส้นลวดซึ่งบางครั้งก็จะเป็นต้นไม้ทางฝั่งเพือนบ้านเสียมากกว่าซึ่งเจ้าของบ้านอาจไม่สะดวกในการตัดแต่งกิ่งไม้ หากเกิดการขาดแบบนี้ก็แค่ทำการต่อสาย หรือดึงใหม่ได้
ตรวจเช็คจำนวนสินค้า | ข้อมูลสินค้า | ขอใบเสนอราคา
3. ขายึดกำแพงรั้วไฟฟ้า (BRACKETS)
ขายึดลวดรั้วไฟฟ้า จะทำการออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละพื้นไม่เหมือนกัน ขายึดรั้วไฟฟ้าจึงเป็นอีกหนึ่งตัวแปรที่ทำให้ราคาการติดตั้งไม่เท่ากัน ถูกกว่า แพงกว่า ก็ขึ้นอยู่กับรั้วของแต่ละบ้าน ตัวขาก็ต้องทำให้เหมาะสมและป้องกันอันตรายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพให้มากที่สุด
ปัญหาส่วนใหญ่สำหรับบ้านเก่า รั้วบ้านมักจะมีโคมไฟตามแนวรั้ว หรือมีหัวเสาสูงขึ้นมาเป็นระยะตามเสารั้ว ทำให้การปักขายึดลวดรั้วไฟฟ้าต้องทำการหลีกเลี่ยงหัวเสารั้วบ้านไปด้วย จำนวนเสาที่ทำการปักยึดลวดรั้วไฟฟ้าก็ต้องเพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้นเหมือนกัน
การติดตั้งขายึดลวดรั้วไฟฟ้า หากให้สะดวกและส่วนงาม ประหยัด ก็ควรจะเป็นรั้วที่เรียบ หรือไม่มีอะไรอยู่บนหัวรั้วจะได้ง่ายก็การติดตั้ง และง่ายต่อการดูแลในระยะยาวด้วย หากเป็นบ้านใหม่ หรือผู้ที่กำลังมองหารั้วไฟฟ้าไว้ใช้งานเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของท่านหากรั้วที่กำลังสร้างอยู่
ก็แนะนำเลยว่าด้านบนของรั้วบ้านของท่านไม่ต้องทำอะไรยื่นเพิ่มเติมออกมาเลยก็ได้ครับ ทางช่างจะได้ทำงานง่ายและประหยัดค่าใช้จ่ายแก่เจ้าของบ้านเอง หากต้องการติดตั้งโคมไฟ ก็อาจจะยึดกับแนวด้านข้างกำแพงก็ได้ ส่วนรั้วไฟฟ้าขอแนวด้านบน ก็จะสวยงาม
4. ห่วงกันกระสอบพาด (EARTH LOOP)
ห่วงกันกระสอบพาด เป็นอีกอุปกรณ์ ที่ควรจะติดตั้งเอาไว้ตามแนวรั้วลวดรั้วไฟฟ้า ป้องกันการกดทับเส้นลวดของผู้ไม่หวังดีจะเข้ามาในพื้นที่ อุปกรณ์ห่วงกันกระสอบพาดมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ อันนี้ผู้ออกแบบก็ต้องเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน หรือบางบ้านก็อาจจะเลือกใส่เฉพาะด้านที่มีความสุ่มเสี่ยงอาจเกิดเหตุก็ได้ครับ
ไม่จำเป็นต้องใส่ทุกแนวก็ได้ ปัญหาส่วนใหญ่ของการเลือกใช้ห่วงกันกระสอบ คือตัวลวดที่ใชัพันกับลวดด้วยกันของขาของ Earth loor มักจะหลุดเมื่อใช้ไปนานๆ ทำให้เกิดการช็อตของลวดเกิดส่งเสียงร้องต้องทำการแก้ไขพันเข้าไปใหม่ให้เหมือนเดิม
5. ป้ายเตือนอันตราย (WARNING SIGNS)
ป้ายเตือนอันตรายสำหรับรั้วไฟฟ้า เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องติดตั้ง เพื่อแสดงเจตนาให้ผู้ที่บุกรุกทราบว่านี้คือรั้วไฟฟ้า ห้ามเข้าใกล้ หรือบุกรุกเข้ามาเด็ดขาดไม่งั้นอาจเกิดอันตรายต่อผู้บุกรุกได้ โดยส่วนใหญ่แล้วป้ายแจ้งเตือนก็จะเขียนเป็นข้อความให้ทราบเด่นชัด และมีรูปภาพประกอบให้เห็นและเข้าใจได้ง่าย
การติดป้ายก็ควรมีความถี่มากๆ หน่อย ระยะห่างขึ้นต่ำต้องไม่เกิน 10 เมตร น้อยก็นี้ได้ก็จะดี และเพิ่มจำนวนป้ายให้มากยิ่งขึ้น เพราะแสดงเจตนาของเจ้าของบ้านว่าเราไม่มีเจตนาทำร้ายใคร แค่ป้องกันความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของคนในบ้านเราเท่านั้น
ป้ายแจ้งเตือนที่ดีเมื่อใช้งานไปนานๆ ไม่ควรจะซีด หรือข้อความ รูปภาพจางหายมองไม่รู้เรื่อง อ่านไม่รู้เรื่อง ซึ่งหากเป็นอย่างนี้แนะนำว่าควรจะเปลี่ยนป้ายใหม่ก็จะดีกว่าหากดูแล้วสภาพไม่ได้ เพราะเดี่ยวหากเกิดทำให้ใครเสียหาย หรือเป็นอันตราย โดยที่ให้เหตุผลว่าไม่มีป้าย หรือป้ายที่มีอยู่ดูไม่รู้เรื่องแล้ว
เจ้าของบ้านก็อาจจะมีความผิดได้ ซึ่งผู้ที่ติดตั้งใช้งานอยู่แล้ว ก็ควรจะหมั่นตรวจสอบ หรือดูแลความเรียบร้อยว่าป้าย ลวด และเครื่องมีสภาพพร้อมใช้งานอยู่หรือป่าว หรือจะเรียกใช้บริการช่างติดตั้งทำการตรวจสอบปีละครั้งก็ยังดีครับ
ตรวจเช็คจำนวนสินค้า | ข้อมูลสินค้า | ขอใบเสนอราคา
6. ไซเรน แรงอัด 120dB (SIREN)
ไซเรน ส่งเสียงร้องเมื่อเกิดการสับผัสของลวดรั้วไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์อีกชิ้นที่ช่วยให้เจ้าของบ้านทราบ หากมีอะไรเกิดขึ้นกับลวดรั้วไฟฟ้าของเรา เบื้องต้นหากเกิดเสียงร้อง ก็แนะนำให้นำอุปกรณ์ตัวเปิดปิดลักษณะคล้ายเหรียญมาทาบเพื่อปิดระบบก่อน หรือหากไม่แน่ใจก็ปล่อยให้เกิดเสียงร้อง
แล้วเจ้าของบ้านก็ทำการเดิดดูตามแนวรั้วทุกด้านว่าเกิดอะไรกับรั้วของเรา ก่อนทำการปิดระบบ เพื่อทำการแก้ไขเป็นลำดับต่อไป ตัวไซเรนจะส่งเสียงร้องดังมาก และจะดังอยู่นานเกือบ 2 นาที หลังจากนั้นเสียงก็จะเงียบและจะมีแต่ไฟกระพริบตลอดเวลาจนทำการปิดระบบ
ปัญหาส่วนใหญ่ที่เจอสำหรับลูกค้าที่ติดตั้งรั้วไฟฟ้ารอบๆ บ้าน คนร้ายจะไม่เข้าบ้านแน่นอนครับ ที่เจอบ่อยๆ ก็จะเป็นพวกกิ่งก่า จิ้งจก หรืองู จะทำการบุกรุกแทนครับ ทำให้รั้วของเราทำงานส่งเสียงร้องเกิดขึ้น เจ้าของบ้านก็สังเกตุดีๆ นะครับบางครั้งอาจมองไม่เห็นว่าเสียงที่ร้องเกิดจากอะไร
ทำให้ต้องเข้าใจผิดว่าระบบของเครื่องควบคุมรั้วไฟฟ้ามันร่วน หรือไม่ดีหรือป่าว เพราะตัวจิ้งจก หรือกิ้งกา จะตัวเล็กหากมองไม่ดี ไม่สังเกตุอาจมองไม่เห็นเหมือนกัน ต่อมาก็จะเป็นพวกกิ่งไม้หล่นใส่ ก็มีให้เห็นบ่อยๆ ครับ
7. แสดงสภาวะการทำงานของรั้วไฟฟ้า FENCE LIGHT
ไฟแจ้งเตือนการทำงานของรั้วไฟฟ้า อันนี้สำคัญครับ ต้องติดให้เจ้าของบ้านสังเกตุเห็นได้ชัด ส่วนใหญ่แล้วทางเราจะติดตั้งเอาไว้บริเวณประตูทางเข้าออกหน้าบ้าน ลักษณะการติดตั้งต้องหันตัวไฟกระพริบเข้าหาบ้าน เพื่อให้เจ้าของบ้านสังเกตุไฟกระพริบได้ง่าย โดยในแต่ละงานก็จะทำการติดตั้งได้แค่ตัวเดียว
อุปกรณ์แสดงสถานะตัวนี้มันจะทำการกระพริบตามกระแสไฟฟ้าที่ทำการปล่อยออกมาตามระยะๆ ทุกๆ 2 วินาที ทำให้เจ้าของบ้านสังเกตุเห็นได้ง่าย หากเมื่อไหรที่ไม่กระพริบให้ทำาการตรวจเช็คที่เครื่องควบคุมอีกครั้ง
ตรวจเช็คจำนวนสินค้า | ข้อมูลสินค้า | ขอใบเสนอราคา
แนะนำดูข้อมูลเพิ่มเติม : คำถามเรื่องรัวไฟฟ้า
สรุป
อุปกรณ์ติดตั้งรั้วไฟฟ้า มีอีกหลายอย่างที่ต้องใช้งานเพื่อความสวยงาม เพื่อความเป็นมาตรฐานในการติดตั้ง สำหรับท่านไหนที่กำลังมองหาอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยที่ดี ให้ประสิทธิภาพสูง สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการทราบราคาค่าใช้จ่าย ก็ลองติดต่อเข้ามาได้เลยครับ ทางเรายินดีให้บริการและทำราคาเสนอก่อนตัดสินใจหรือเปรียบเทียบกับระบบอื่นๆ ได้