CCTV จราจร

CCTV จราจร กล้องวงจรปิดไม่ชัด บก.จร.ยกเลิกประมูลติดตั้งระบบเลนเชนจ์

CCTV จราจร กล้องวงจรปิดไม่ชัด บก.จร.ยกเลิกประมูลติดตั้งระบบเลนเชนจ์

CCTV จราจร กล้องวงจรปิดไม่ชัด รองผู้บังคับตำรวจจราจรสั่งยกเลิกการประมูลติดตั้งกล้องตรวจจับผู้กระทำผิดที่ฝ่าฝืนกฎจราจรเปลี่ยนช่องทางเดินรถในเขตห้าม หลังผลการทดสอบไม่ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด มั่นใจหาผู้รับเหมาได้ภายในปีนี้เพื่อกวดขันจับกุมผู้กระทำผิดให้ได้ในเดือนมี.ค.ปี 58

CCTV จราจร กล้องวงจรปิดไม่ชัด บก.จร.ยกเลิกประมูลติดตั้งระบบเลนเชนจ์

พ.ต.อ.วันชัย อยู่แสง รองผู้บังคับตำรวจจราจร (บก.จร.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการติดตั้งระบบตรวจจับผู้ฝ่าฝืนกฎจราจรเปลี่ยนช่องทางเดินรถในเขตห้าม (Lane Change Management System) หรือ เลนเชนจ์ว่า บริษัท ซีเอ็มเอส คอนโทรลซิสเต็มส์ จำกัด ซึ่งเป็นเสนอราคาต่ำสุด 10,687, 500 บาท

โดยเอกชนที่ได้รับการคัดเลือก ติดตั้งระบบเลนเชนจ์ ได้ส่งผลการทดสอบจากเครื่องต้นแบบที่ติดตั้งบริเวณแยกสุทธิสารให้ บก.จร.แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างประเมินผล และ ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

CCTV จราจร กล้องวงจรปิดไม่ชัด บก.จร.ยกเลิกประมูลติดตั้งระบบเลนเชนจ์

สำหรับขั้นตอนต่อไป จะนัดเอกชนมาเซ็นสัญญาว่าจ้าง จากนั้นเอกชนจะต้องไปดำเนินการติดตั้งระบบพร้อมใช้ให้แล้วเสร็จ จำนวน 10 จุดตามที่กำหนดภายใน 180 วัน คาดว่าประมาณเดือน มี.ค.-เม.ย.2558 จะเริ่มกวดขันจับกุมผู้กระทำผิดได้

อย่างไรก็ตาม จากการทดลองติดตั้ง “กล้องวงจรปิด (CCTV)” ที่บริเวณสะพานข้ามแยกสุทธิสารตามที่กล่าวมาเพื่อทดสอบระบบก่อนจะมีการติดตั้งจริง 1 อาทิตย์เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เพื่อทำการทดสอบคุณภาพ และ ประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่ากล้องมีประสิทธิภาพ หรือ ไม่นั้นกล้องจะต้องสามารถตรวจจับผู้กระทำผิดได้ร้อยละ 80 ภาพมีความคมชัดสามารถอ่านทะเบียนรถที่กระทำความผิดได้ชัดเจน

กล้องวงจรปิด CCTV บทความ กล้องวงจรปิดไม่ชัด บก.จร.ยกเลิกประมูลติดตั้งระบบเลนเชนจ์

ซึ่งในเบื้องต้นพบว่า ผลการทดสอบไม่ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ทางบก.จร.จึงมีการยกเลิกเซ็นสัญญาจัดจ้างกับบริษัท ซีเอ็มเอส คอนโทรลซิสเต็มส์ จำกัด และ จะมีการเปิดประกวดราคาใหม่อีกครั้งโดยจะทำการทดสอบระบบก่อนที่จะมีการเปิดประกวดราคาเพื่อที่จะได้ผู้รับเหมาที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะเร่งหาผู้รับเหมาให้ได้ภายในปี 2557

CCTV จราจร กล้องวงจรปิดไม่ชัด บก.จร.ยกเลิกประมูลติดตั้งระบบเลนเชนจ์

ทั้งนี้หากได้บริษัทผู้รับเหมาอีกครั้ง และ สามารถติดตั้งกล้องได้โดยไม่ติดระบบสาธารณูปโภค ทางบริษัทผู้รับเหมาก็จะนำเสนอแบบแปลนแก่กรุงเทพมหานคร เพื่อขออนุญาตใช้พื้นที่ โดยขั้นตอนทุกอย่างจะใช้เวลาดำเนินการ 6 เดือน หรือ คาดว่าประมาณเดือนมีนาคม 2558 จะสามารถใช้งานกล้องเลนเชนจ์สำหรับควบคุมพฤติกรรมบนท้องถนนของประชาชน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการจราจรได้

ผู้ฝ่าฝืนจำนวนมากบริเวณแยก 15 จุด แต่จะติดตั้งจริงก่อน 10 จุด เพราะเกรงว่าบางจุดที่เสนออาจจะมีปัญหาทางกายภาพไม่สามารถติดตั้งได้ โดยจุดที่จะติดตั้ง เช่น สะพานไทย-เบลเยียม สะพานข้ามแยกรามคำแหง สะพานข้ามแยกมักกะสัน สะพานข้ามแยกบางเขน สะพานข้ามแยกรัชโยธิน สะพานข้ามแยกศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ สะพานข้ามแยกลาดปลาเค้า

กล้องวงจรปิด CCTV บทความ กล้องวงจรปิดไม่ชัด บก.จร.ยกเลิกประมูลติดตั้งระบบเลนเชนจ์

นอกจากนี้ยังมีบริเวณสะพานข้ามแยกเกษตร-พหลฯ สะพานทางข้ามเข้าทางด่วนพระราม 2 สะพานข้ามแยกประตูน้ำ สะพานข้ามแยกวงแหวนอุตสาหกรรม ทางลงอุโมงค์ลอดแยกห้วยขวาง สะพานไทย-ญี่ปุ่น สะพานข้ามแยกบรมราชชนนี และ สะพานข้ามแยกวงเวียนบางเขน.

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้าตำรวจก็มีการติดตั้งกล้องจับคนทำผิดที่ชอบฝ่าไฟแดงด้วยระบบตรวจจับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร หรือ Red Light Camera ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ติดตั้งอยู่ตามแยกต่าง ๆ 35 ทางแยกทั่วกรุงเทพฯ

ในการจับผู้กระทำความผิดฝ่าไฟแดงตามสี่แยกที่มีกล้องจับผิดนั้นจะมีการจับใน 3 กรณี ดังนี้

  1. ผ่าสัญญาณไฟแดง (นอกจากนี้พวกที่ฝ่าไฟเหลืองก็มีโทษเช่นเดียวกับฝ่าไฟแดง แต่จะไม่ตัดแต้ม)
  2. จอดติดสัญญาณไฟแดงทับเส้นขาวด้านหน้า
  3. จอดรถติดสัญญาณไฟคล่อมช่องทาง (คล่อมเส้นขาว)

CCTV จราจร กล้องวงจรปิดไม่ชัด บก.จร.ยกเลิกประมูลติดตั้งระบบเลนเชนจ์

สวนการเสียค่าปรับ ค่าปรับมีอัตราเดียว 500 บาท เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ข้อหาขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจรไฟสีแดง มาตรา 22 (2) มีโทษตามมาตรา 152 ปรับไม่เกิน 1,000 บาท และ ตัดแต้ม 40 คะแนนใครเลี่ยงความผิดเอากระดาษปิดป้ายทะเบียนหวังหลบเลี่ยง ก็จะโดนปรับเพิ่มละคาดว่ากล้องเหล่านี้จะติดเพิ่มในอีกหลาย ๆ จุดตามแยกทั่วกรุงเทพฯ เพื่อคอยดูแลความเรียบร้อย และ การจราจรบนท้องถนนเช่นเดียวกับการติดตั้ง Lane Change Management System ในเดือนเมษายนปีหน้า

Related link :ชุด CCTV ตรวจจับลูกโป่งหัวเราะ อันตราย มาก น้อย แค่ไหน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *