ติดตั้งกล้องวงจรปิด

ติดตั้งกล้องวงจรปิด การขออนุญาตทำงานในทีอับ

หน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาตให้ช่างติดตั้งกล้องวงจรปิดทำงานในที่อับอากาศก็คือนายจ้างของสถานประกอบกิจการที่มีที่อับอากาศ   

แต่นายจ้างอาจมอบหมายเป็นหนังสือให้ช่างกล้องวงจรปิดซึ่งได้รับการอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ   ตามหลักเกณฑ์  หลักสูตรที่อธิบดีประกาศเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาตแทนก็ได้  

ผู้ที่ได้รับมอบให้ทำหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาตให้ช่างทำงานในที่อับอากาศแทนนายจ้างนี้จะมีมากกว่าหนึ่งคนก็ได้    ต้องเก็บหลักฐานหนังสือมอบหมายไว้  

สถานประกอบกิจการพร้อมที่จะให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้      แต่ช่างติดตั้งกล้องวงจรปิด ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาตให้

ช่างทำงานในที่อับอากาศแทนนายจ้าง  จะต้องไม่ใช่ช่างที่ทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมงาน   ผู้ช่วยเหลือ   หรือเป็นช่างที่ทำงานในที่อับอากาศ

                  การบริหารจัดการระบบอนุญาตต้องปรับปรุงให้เหมาะสมกับงานแต่ละประเภท    ระดับความเสี่ยงและความสลับซับซ้อนของงานที่ทำ  หากต้องมีการบำรุงรักษาในสภาวะไม่ปกติ  

จำเป็นต้องทำภายใต้ระบบการอนุญาต  ระบบการทำงานเป็นระบบที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการควบคุมตรวจสอบเกี่ยวกับ ความปลอดภัยในการทำงานอย่างเป็นรูปธรรม  

และยังสามารถกำหนดมาตรการในการออกใบอนุญาตให้ทำงานได้  หรือสามารถหยุดการทำงานชั่วคราว  หรือยกเลิกการทำงานหากพบว่าสภาพแวดล้อมในการทำงานมีความผิดปรกติไม่ปลอดภัย หรืออาจเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นได้

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

ติดตั้งกล้องวงจรปิด

กล้องวงจรปิดแนวรั้ว

ประเภทการอนุญาตเข้าทำงานสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท

  1. การอนุญาตทำงานที่ก่อให้เกิดประกายไฟหรืองานที่ต้องใช้ความร้อน เมื่อมีการทำงานเหล่านี้ในสถานที่ที่มีเชื้อเพลิง ซึ่งนำไปสู่การเกิดเพลิงไหม้และระเบิดได้

  2. การอนุญาตทำงานที่ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟ

  3. การอนุญาตเข้าทำงานในที่อับอากาศ

ใบอนุญาตเข้าทำงานเป็นเอกสารที่สำคัญในการผ่านเข้าทำงาน กำหนดเขตพื้นที่ หรือสถานที่เข้าดำเนินการอันตรายที่อาจเกิดระหว่างการทำงาน

โดยมีมาตรการในการตรวจสอบควบคุมป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน และใช้เป็นระบบการสื่อสารกันระหว่างบุคคลในสถานประกอบการตามหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับระบบการขออนุญาตทำงาน

การขออนุญาตเพื่อเข้าทำงานในแต่ละพื้นที่หรืองานควรจะมีประเด็นต่างๆ ดังนี้

  1. ผู้ร่วมงานที่ทราบข้อมูลอย่างพอเพียง ข้อแนะนำ  การอบรม  และหัวหน้าที่สามารถลดความผิดพลาดที่เกิดจากคนระหว่างการปฏิบัติงานตามระบบการอนุญาตทำงาน

  2. ระบบอนุญาตทำงานมีข้อมูลความปลอดภัยพอเพียง ข้อแนะนำการซ่อมบำรุง   การเลือกอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล และอุปกรณ์ที่ต้องใช้อย่างถูกต้องปลอดภัย

  3. ใบอนุญาตมีข้อมูลพอเพียงพอเหมาะสมกับชนิดของงานที่ต้องการ

  4. ผู้ที่ทำงานทำหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมงานซ่อมบำรุงเป็นผู้กำหนดตามระบบการอนุญาตทำงาน และงานที่ทำโดยผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงอย่างเหมาะสม

  5. ระบบการอนุญาตทำงาน มีการจัดการ การตวจสอบเป็นระยะๆ  และทบทวน

  6. มีการเก็บใบอนุญาตทำงานทุกใบเข้าแฟ้มไว้

  7. ปัจจัยมนุษย์ เช่น ความเครียด ความเมื่อยล้า การทำงานเป็นกะ ทัศนคติ

  8. ข้อควรระวังของการขออนุญาตทำงาน เช่น การตัด การล้าง การเฝ้าระวัง การประเมินความเสี่ยง

  9. ผู้ร่วมงานทราบเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในระหว่างการทำงานที่ได้รับการอนุญาตให้ทำ

  10. พนักงานที่ทำงานฝ่ายผลิตทราบชนิดของการซ่อมบำรุงที่เกี่ยวข้อง  และระยะเวลาที่ต้องทำงานนั้น

  11. ระบบการอนุญาตทำงานเกี่ยวข้องกับขบวนการปกติ การบำรุงรักษาโรงงาน หรือ  อุปกรณ์จำเป็นต้องแจ้งไปที่การผลิตให้ทราบ

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

 

หลักการจัดการของระบบการขออนุญาตทำงาน

                  ระบบควบคุมการตรวจสอบให้เข้าทำงานกับผู้ขออนุญาตเข้าทำงาน  และผู้ที่คอยช่วยเหลือเพื่อความปลอดภัยของผู้ทำงาน  ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะต้องเป็นผู้ที่ผ่านการอบรม 

และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการขออนุญาตทำงานเป็นอย่างดี  เข้าใจบทบาทหน้าที่ในขั้นตอนการปฏิบัติและดำเนินการตรวจสอบต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องตามใบอนุญาตเข้าทำงาน  มีรายละเอียดดังนี้

  • ผู้เกี่ยวข้องในใบอนุญาตทำงานระบบการอนุญาตทำงาน  การกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องขององค์กร    

    หน้าที่ความรับผิดชอบในระบบการอนุญาตทำงานมีความแตกต่างกันออกไป    การบังคับบัญชาตามกระบวนการผลิตและความเหมาะสมของแต่ละโรงงาน  

    ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในระบบการอนุญาตทำงานในที่อับอากาศตามที่องค์กรมอบหมาย   ต้องมีความสอดคล้องกับกฎกระทรวง  ดังนี้

    • ผู้อนุญาต

    • ผู้ขออนุญาตเข้าปฏิบัติงาน

    • ผู้ปฏิบัติงาน

    • ผู้คอยเฝ้าระวังภัยและช่วยเหลือ

  • สถานที่ทำงานที่ต้องพิจารณาขอใบอนุญาตทำงาน  สถานที่ที่มีการทำงานไม่เป็นงานประจำ มีสภาพการณ์ที่ไม่ปกติ  มีบริเวณคับแคบหรือจำกัด

    มีการระบายอากาศไม่ดีพอ  มีปริมาณก๊าซออกซิเจนในบรรยากาศไม่เพียงพอต่อการหายใจ  หรือที่นั้นมีอันตรายจากสารเคมี สารพิษ  สารไวไฟ หรืออื่นๆ   สะสมอยู่ได้แก่สถานที่ดังนี้

    1. การทำงานในถังเก็บผลิตภัณฑ์

    2. การทำงานในแท็งก์เก็บสารเคมี

    3. การทำงานในท่อระบายน้ำ

    4. การทำงานในภาชนะบรรจุวัตถุดิบ

    5. การทำงานในหลุม/บ่อที่ลึก

    6. การทำงานในเตาปฏิกิริยา

    7. การทำงานในอุโมงค์ / ถ้ำ

    8. การทำงานในไซโลเก็บผลิตภัณฑ์

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

 

สถานที่เหล่านี้เป็นที่อับอากาศ  ผู้ที่เข้าไปทำงานมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ง่ายจากการขาดอากาศ  หรือการหายใจเอาก๊าซพิษเข้าไปยังมีภัยจากการระเบิดและอัคคีภัย

การทำงานในที่อับอากาศ  หัวหน้างานหรือผู้ควบคุมงานและผู้ที่เกี่ยวข้องจึงควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ กำหนดมาตรการด้านความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ 

ผู้ที่เข้าไปทำงานให้เกิดความปลอดภัย ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องชี้บ่งอันตราย  และประเมินสภาพงานอันตรายว่ามีความไม่ปลอดภัย ตามประเภทของงานที่อันตรายที่เกี่ยวข้อง   

  • ประเภทของงานอันตราย  พื้นที่โรงงานที่มีสถานที่ทำงานที่มีอัตราการเสี่ยงต่ออันตรายสูง  มีผลกระทบต่อผู้ทำงาน หากเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุผิดปกติที่ก่อให้เกิดผลกระทบ

    ต่อกระบวนการผลิต และความสูญเสียต่อร่างกายหรือชีวิต สถานประกอบกิจการหรือโรงงานอุตสาหกรรม จำเป็นอย่างยิ่งในการกำหนดลักษณะงานที่มีอัตราเสี่ยงต่ออันตราย

    โดยเฉพาะการเข้าไปทำงานในที่อับอากาศ  ต้องพิจารณาขอใบอนุญาตทำงาน   มีลักษณะงานที่อันตรายอาจแบ่งได้ดังนี้     
      
    1. งานที่มีสารตกค้าง มีค่าความเข้มข้นเกินมาตรฐานที่กำหนดตามกฎกระทรวง

    2. งานที่มีบรรยากาศอันตราย เช่น มีปริมาณออกซิเจนต่ำกว่าหรือมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

    3. งานที่เกี่ยวข้องกับ สารเคมีซึ่งมีสภาพเป็นของเหลว ของแข็ง ก๊าซ ไอระเหย

    4. งานที่เกี่ยวข้องกับสารกัมมันตภาพรังสี

    5. งานที่ก่อให้เกิดความร้อนหรือประกายไฟ ในบริเวณที่เก็บสารไวไฟและวัตถุการเกิดระเบิด

    6.  งานที่เกี่ยวข้องกับระบบเครื่องจักรกลในที่อับอากาศ

    7. งานที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งประกอบนั่งร้านในที่อับอากาศ

    8. งานที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้าง

    9. งานที่เข้าตรวจสอบ แก้ไข ซ่อมบำรุงสภาพของอุปกรณ์ต่างๆ   ที่เกี่ยวข้องกับที่อับอากาศ

  • ส่วนประกอบพื้นฐานของใบขออนุญาตทำงาน ประกอบด้วยข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ  ที่ชัดเจน ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถอ่านและเข้าใจได้ง่าย

    ใบอนุญาตทำงานในที่อับอากาศต้องมีการกำหนดเป็นไปตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย

    กล้องวงจรปิดไฮวิว

    และสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ การอนุญาตหมวดที่ 3 ตามกฎกระทรวงมีรายละเอียดดังนี้

    1. ที่อับอากาศที่อนุญาตให้ลูกจ้างเข้าไปทำงาน

    2. วัน  เวลา ในการทำงาน

    3. งานที่ให้ลูกจ้างเข้าไปทำ

    4. ชื่อลูกจ้างที่อนุญาตให้เข้าไปทำงาน

    5. ชื่อผู้ควบคุมงาน

    6. ชื่อผู้ช่วยเหลือ

    7. มาตรการความปลอดภัยที่เตรียมไว้ก่อนการใช้ลูกจ้างเข้าไปทำงาน

    8. ผลการตรวจสอบสภาพอากาศและสภาวะที่อาจเกิดอันตราย

    9. อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิต

    10. อันตรายที่ลูกจ้างอาจได้รับในกรณีฉุกเฉินและวิธีการหลีกหนีภัย
  • ประโยชน์ของใบอนุญาตทำงานเป็นการประกันความปลอดภัยให้มีการควบคุมอันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดระหว่างการทำงาน และลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บ 

    เจ็บป่วยจากการทำงาน การทำงานตามใบอนุญาตเข้าทำงานในขณะที่มีการทำงานอื่นๆ เป็นปกติ ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย  ประโยชน์ของการขอใบอนุญาตทำงานมีดังนี้

    1. ป้องกันความผิดพลาดในการตัดแยกระบบต่างๆ  ที่เกี่ยวข้อง

    2. กำหนดขั้นตอนการทำงานของผู้ที่เกี่ยวข้องในแต่ละขั้นตอนได้อย่างชัดเจน

    3. ให้ความมั่นใจที่ปลอดภัยต่อผู้ทำงาน

    4. ป้องการเกิดไฟไหม้ อันตรายและอุบัติเหตุที่จะเกิดแก่ผู้ทำงาน

    5. มีการกำหนดหน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้องไว้อย่างชัดเจน

    6. ป้องกันบุคคลภายนอกที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนรวม

    7. เป็นการส่งข้อมูลและข่าวสารให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบ

    8. มีการชี้บ่งอันตรายและมีมาตรการควบคุมตรวจสอบความปลอดภัยทั้งก่อนเริ่มงานขณะปฏิบัติงาน และหลังจากสิ้นสุดการทำงาน อันตรายแฝงที่ร้ายแรงอาจเกิดขึ้น

      • ใช้ใบอนุญาตทำงานผิดประเภท

      • ข้อมูลไม่ถูกต้องเกี่ยวกับงานที่ต้องทำตามใบอนุญาตทำงาน

      • การคาดผิดพลาดเกี่ยวกับอันตรายแฝงภายหลังได้มีการทำงานไปแล้ว

      • การแนะนำแหล่งก่อให้เกิดประกายไฟในพื้นที่ควบคุมการก่อให้เกิดไฟ

      • อุปกรณ์ที่ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟ การใช้อุปกรณ์เฉพาะสำหรับโซนที่กำหนดไว้เพื่อความปลอดภัย

      • ทีมงานไม่ยึดเกี่ยวกับ เช่น ความบกพร่องการแยกโรงงาน  และแนวถ่ายสารอันตรายทิ้งความผิดพลาด

      • ผู้ที่ไม่มีหน้าที่ตามใบอนุญาตเข้าทำงาน

      • ระบบการอนุญาตที่การบริหารจัดการที่ไม่ดี

      • การเฝ้าระวังของระบบการอนุญาตทำงานไม่เหมาะสม

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

 

วิธีการปฏิบัติงานและขั้นตอนการขออนุญาตทำงาน

                   หลักการขออนุญาตเข้าทำงานภายในโรงงานนั้นเป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นหลังจากที่ได้มีการกำหนดรายละเอียดของงาน  จากฝ่ายซ่อมบำรุงรักษา หรือหน่วยงานอื่นๆ 

ภายในสถานประกอบการ   ตามลักษณะงานสำหรับใช้ประกอบการพิจารณางานที่เป็นอันตราย   เพื่อนำมาวางแผนความพร้อมก่อนที่จะเข้าไปทำงาน   

ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องจะต้องประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาค้นหาแหล่งอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ  ของงานที่ระบุไว้ในรายละเอียด 

จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องชี้บ่งได้ว่ามีอันตรายระบุระดับความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ  หรืออันตรายในระดับมากน้อยแค่ไหน และมีระบบหรือมาตรการควบคุมป้องกัน

หรือตรวจสอบด้านความปลอดภัยพอเพียง เหมาะสมกับอันตรายที่ชี้บ่งหรือไม่ กำหนดวิธีการทำงานที่ถูกต้องปลอดภัย การควบคุมอันตราย

โดยแบ่งขั้นตอนการขออนุญาตทำงานไว้เป็น 3  ขั้นตอน ก่อนเริ่มปฏิบัติงาน  ระหว่างการทำงานและสิ้นสุดการทำงาน ในแต่ละขั้นตอน ดังนี้

ก่อนเริ่มปฏิบัติงาน ผู้ขออนุญาตเข้าทำงานต้องจัดเตรียมใบอนุญาตทำงานแนบกับใบรายละเอียดของงานที่กรอกข้อความโดยผู้ขออนุญาต   ข้อความที่กรอกลงในใบรายละเอียดของงาน   ควรประกอบด้วยข้อมูลดังนี้

  1. ชื่อและนามสกุล   ตำแหน่งงาน  ของผู้ขออนุญาต

  2. รายละเอียดของงานที่จะทำ  

  3. รายละเอียดสถานที่ซึ่งจะทำงานโดยละบุให้ชัดเจน

  4. เครื่องมือและอุปกรณ์ช่วยในการทำงานที่ต้องใช้

  5. ระยะเวลาที่จะใช้ในการทำงานจนแล้วเสร็จ

  6. จำนวนแรงงานรวมทั้งผู้ควบคุมงาน

  7. รายชื่อผู้ทำหน้าที่คอยเฝ้าระวังและช่วยเหลือ

  8. เครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉินที่ต้องใช้

  9. วิธีการปฏิบัติกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

  10. ระบบการระบายอากาศรวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับระบายอากาศ

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

 

ผู้อนุญาตพิจารณารายละเอียดของงานที่จะทำว่าเป็นงานประเภทใด และมีความเสี่ยงในระดับใดความเป็นอันตรายแบบใดต้องระบุลงในใบขออนุญาตเข้าทำงาน

เพื่อจะพิจารณาดำเนินการควบคุมและตรวจสอบด้านความปลอดภัยตามลักษณะต่างๆ  ดังนี้

  1. การเตรียมการด้านการตัดแยกระบบในกรณีที่อับอากาศต้องมีการระบายอากาศ

  2. ตรวจสอบเครื่องมือไฟฟ้าและเครื่องมือกล  รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ

  3. การจัดเตรียมอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

  4. การเตรียมพร้อมของอุปกรณ์ดับเพลิง

  5. การจัดเตรียม  Stand by man

  6. การเตรียมใบอนุญาตต่างๆ การเข้าไปทำงาน

  7. ตรวจสอบความปลอดภัยในพื้นที่การทำงานร่วมกับผู้ขออนุญาต

  8. การเตรียมแผนผังแสดงระบบต่างๆ  ในกระบวนการผลิต

  9. การเตรียมอุปกรณ์สำหรับตรวจวัดและประเมินสภาพบรรยากาศและบันทึกผล

  10. ป้ายเตือนอันตราย และปิดกั้นพื้นที่

  11. ออกใบอนุญาตทำงานแล้วให้นำสำเนาเอกสารไปติดแสดงไว้ที่บริเวณหน้างานที่ได้รับอนุญาต

บริการหลังการขายกล้องวงจรปิด

เมื่อผู้ขออนุญาตได้รับใบขออนุญาตทำงานจากผู้มีอำนาจอนุญาต ผู้ควบคุมงานเป็นผู้ถือใบอนุญาตทำงานเพื่อใช้นำทีมงานเข้าสู่เขตโรงงานไปสถานที่ทำงานที่อับอากาศ 

ก่อนเริ่มงานหัวหน้างานต้องนำใบอนุญาตทำงานไปติดแสดงไว้ที่หน้างานให้เห็นอย่างชัดเจน  และต้องสอนเพื่อความปลอดภัย  เพื่อให้ผู้ที่ทำงานเกิดความตระหนักและเข้าใจในการสร้างความปลอดภัยในการทำงาน  ดังนี้

  • รายละเอียดของงานที่ทำในที่อับอากาศและลักษณะอันตราย

  • มาตรการตรวจสอบและควบคุมด้านความปลอดดภัยที่ต้องใช้

  • การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบ

  • อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

  • ข้อปฏิบัติในกรณีเกิดเหตุภาวะฉุกเฉิน

  • การใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่ถูกต้องเหมาะสมกับงานที่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปทำ

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

 

ระหว่างปฎิบัติงาน ในระหว่างที่ทำงานผู้ทำหน้าที่หัวหน้างานหรือผู้ควบคุมงานและผู้ช่วยเหลือดำเนินการตรวจสอบการทำงานและความปลอดภัยเป็นระยะๆ

โดยหัวหน้างานหรือผู้ควบคุมงานจะต้องปฏิบัติ   ดังนี้

  • ควบคุมผู้ทำงานให้อยู่ในเฉพาะพื้นที่ที่ขออนุญาตเข้าทำงานไว้เท่านั้น

  • ตรวจสอบระบบการระบายอากาศว่าทำงานปกติหรือไม่

  • ตรวจวัดสภาพอากาศ และบันทึกผลเป็นระยะ ๆ และประเมินสภาพอากาศในที่อับอากาศว่ามีบรรยากาศที่เป็นอันตรายหรือไม่

  • ตรวจสอบความพร้อมและความเรียบร้อยขณะทำงาน

  • ต้องมีการลงลายมือชื่อในบันทึกการผ่านเข้าหรือออกในที่อับอากาศ

  • ต้องสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ตลอด

  • ควบคุมการทำงานให้มีความปลอดภัย ทั้งผู้ที่ทำงานและอุปกรณ์ที่ทำอยู่

  • ห้ามทำงานนอกเหนือจากที่ขอไว้ในหนังสือขออนุญาตทำงาน

  • ห้ามบุคคลภายนอก  ซึ่งไม่ได้ทำงานในกลุ่มที่รับผิดชอบเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นอันขาด

  • เมื่อมีสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย  สามารถสั่งหยุดงานได้

  • เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินต้องสั่งหยุดงานโดยเร็ว  และจัดเก็บอุปกรณ์เครื่องมือให้เรียบร้อยก่อนออกจากพื้นที่ทำงาน

  • ปิดกั้นพื้นที่การทำงานหรือนำป้ายเตือนมาตั้งไว้  “ที่อับอากาศ  อันตราย  ห้ามเข้า”

  • ควบคุมดูแลให้มีการทำความสะอาดพื้นที่ทำงานก่อนเสร็จงานทุกครั้ง

  • ห้ามบุคคลที่อยู่ในสภาพมึนเมา หรือติดยาเสพติดเข้าไปทำงานในเขตหวงห้ามโดยเด็ดขาด

  • ควบคุมผู้ที่ทำงานให้ทำตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด

เงื่อนไขในระหว่างการทำงานต้องขออนุญาตจากผู้มีอำนาจอนุญาตทุกครั้ง  หัวหน้างานหรือผู้ควบคุมงานจะต้องควบคุมและทำตามอย่างเคร่งครัด  ดังนี้

  1. การหมดช่วงเวลาทำงาน

  2. การขอขยายเวลาทำงาน

  3. การขอขยายเขตพื้นที่ทำงาน

  4. การหยุดทำงานและการเข้าทำงานใหม่
  • การเปลี่ยนแปลงแรงงาน การสิ้นสุดการทำงานและการสั่งหยุดงานตามเงื่อนไขการสิ้นสุดการทำงานของระบบการอนุญาตทำงาน   มีดังนี้

    • การสิ้นสุดงานเนื่องจากการเสร็จสิ้นภารกิจ

    • การสิ้นสุดงานเนื่องจากใบอนญาตทำงานหมดอายุ

    • การสิ้นสุดงานเนื่องจากมีปัญหาอื่นหรือเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน


 

Related link : ระบบรั้วไฟฟ้ากันขโมย    สัญญาณกันขโมยไร้สาย

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *