จอกล้องวงจรปิด

จอกล้องวงจรปิด กับจอมอนิเตอร์ที่ใช้กับ CCTV กล้องวงจรปิด

จอกล้องวงจรปิด กับจอมอนิเตอร์ที่ใช้กับ CCTV กล้องวงจรปิด

จอกล้องวงจรปิด กับ จอมอนิเตอร์ที่ใช้กับ CCTV กล้องวงจรปิด CCTV เป็นตัวแสดงผลที่อาจเป็นจอแบบโทรทัศน์ (Cathode ray tube : CRT) หรือจอผลึกเหลว (Liquid crystal display : LCD) พลาสมา (Plama) หรือออร์แกนิคแอลอีดี (Organic LED : OLED) ความแตกต่างของมอนิเตอร์กล้องวงจรปิดกับโทรทัศน์

ส่วนใหญ่ใหญ่จะอยู่ที่อิมพีแดนซ์ที่รับเข้ามา เพราะจอมอนิเตอร์อาจมาจากสายสัญญาณระยะไกลที่ต้องมีอิมพีแดนซ์สูง ในขณะที่สายระยะสั้นใช้สายอิมพีแดนซ์ต่ำได้ ส่วนสายนำสัญญาณของโทรทัศน์เป็นสายอิมพีแดนซ์ต่ำอย่างเดียว

จอกล้องวงจรปิด กับจอมอนิเตอร์ที่ใช้กับ CCTV กล้องวงจรปิด

จอนูนหรือจอแก้ว (CRT) ใช้การแสดงผลโดยหลอดภาพที่เป็นหลอดสุญญากาศ ด้วยการสแกนอนาล็อกดังแสดงแผนผังการทำงานไว้ในรูป ลักษณะเบื้องต้นเหมือนกับเครื่องรับโทรทัศน์ แต่ไม่มีภาครับสถานี (Tuner) รับสัญญาณภาพรวมเข้ามาทำการขยาย สัญญาณภาพนั้นส่งมากับสายนำสัญญาณซึ่งอาจเป็นชนิดมีอิมพีแดนซ์สูงหรือต่ำก็ได้ ที่ตัวเครื่องจึงต้องมีสวิตซ์เลือกอิมพีแดนซ์ไว้รองรับจากนั้นจึงส่งสัญญาณไปขยายส่งให้หลอดภาพ ยิงแสงออกไปยังหน้าจอ

เนื่องจากการเกิดภาพของมอนิเตอร์แบบนี้ใช้การสแกนสอดแทรกเส้นเว้นเส้น การที่เส้นภาพจะเรียงถูกต้องนั้นต้องอาศัยสัญญาณซิงโครไนซ์ควบคุม สัญญาณนั้นอาจมาจากภายนอกหรือเอมาจากสัญญาณภาพ ก่อนแยกเพื่อควบคุม 2 ทางคือแนวนอน (Horizontal) และแนวตั้ง (Vertical) นำไปบังคับขดลวดที่ติดไว้กับคอหลอด ให้การสแกนเส้นภาพแนวตั้งและแนวนอน (การเบี่ยงเบนอิเล็กตรอนกวาดลำแสง) ถูกต้อง

ส่วนของจอภาพนั้นหากเป็นจอสีจะมีแคโทด 3 อันเพื่อยิงอิเล็กตรอน 3 ลำ โดยมีคอนโทรลกริดเป็นตะแกรงบีบลำอิเล็กตรอน กระบอกสกรีนกริดทำหน้าที่เร่งการเดินทางอิเล็กตรอน โฟกัสกริดทำให้แสงยิงไปยังจุดสีถูกต้องคมชัด ที่หน้าจอลำอิเล้กตรอนจะยิ่งผ่านร่องสล๊อตหน้ากากไปยังฟอสเฟอร์สี 3 สี ทำให้เกิดการเรืองแสงจากการผสมของแม่สี 3 สี เป็นสีสันต่างๆขึ้น

จอแบน (Flat-screen digital) จอมอนิเตอร์แบบแบนที่นำมาใช้ ต้องใช้การสร้างภาพด้วยราสเตอร์กราฟิกส์ ดิจิทัลอิมเมจหรือไม่ก็บิตแม็ป รายละเอียดของภาพขึ้นอยู่กับจำนวนบิตในแต่ละพิกเซล (พิกเซลหมายถึงองค์ประกอบภาพ)

ในส่วนของสีก็เช่นเดียวกัน หากใน 1 พิกเซลใช้ข้อมูล 8 บิตจะให้สีได้ 256 เฉดสี หากใช้ข้อมูล 16 บิตได้เฉดสี (เรียกว่าไฮคัลเลอร์) ใช้ข้อมูล 24 บิต ให้เฉดสี 16,777,216 เฉดสี (เรียกว่าทรูคัลเลอร์)

จอแบนแบบ LCD แยกย่อยออกเป็น 2 ชนิด คือชนิดดูอัลสแกนทวิสต์เนเมติก (DSTN) หรือระบบแพสซีฟ และชนิดธินฟิล์มทรานซิสเตอร์ (TFT) หรือชนิดแอ็กตีฟแมตริกซ์ซึ่งมีหลอดไฟฟลูออเนสเซ็นต์แบ็คอั๊พอยู่ข้างจอ มีตุดเด่นที่ให้อัตราความเข้มภาพไม่น้อยกว่า 400 ต่อ 1 เนื่องจากไม่ต้องมีระบบปรับสี (คอนเวอร์เยนซ์) เหมือนจอ CRT มีความชัดเจนสูง

โดยมาตรฐานความชัดได้แยกออกเป็นรายระดับ เช่น VGA (600 x 480), SVGA (800 x 600), XGA (1024 x 768), HDTV (1280 x 720), HDTV (1920 x 1080), WUXGA (1920 x 1200) เป็นต้น ตัวเลขในวงเล็บหมายถึงจุดภาพในแนวนอนคูณจุดภาพในแนวตั้งของแต่ละพิกเซล

การมองภาพกล้องวงจรปิดจากมอนิเตอร์ต้องมีระยะพอเหมาะ ไม่ใกล้เกินไปเพราะจะทำให้สายตาเสีย องค์กรโทรคมนาคมนานาชาติ ITU จึงได้กำหนดระยะการมองมอนิเตอร์เอาไว้ เช่น 9 นิ้ว (23ซม.) ควรอยู่ที่ 0.9 เมตร จอ 12 นิ้ว (31 ซม.) อยู่ที่ 1.2 เมตร จอ 14 นิ้ว (36 ซม.) อยู่ที่ 1.6 เมตร จอ 17 นิ้ว (43 ซม.) อยู่ที่ 1.8 เมตร จอ 21 นิ้ว (53 ซม.) อยู่ที่ 2.2 เมตร เป็นต้น

Related link :กล้องวงจรปิดดูผ่านอินเตอร์เน็ต กับเครือข่ายในงานระบบ CCTV กล้องวงจรปิด

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *