ระบบกล้องวงจรปิด

ระบบกล้องวงจรปิด กับการให้การช่วยเหลือการทำงานในที่อับอากาศ

ความช่วยเหลือการทำงาน ถือเป็นงานช่วยเหลือที่ท้าทายทางด้านเทคนิคเนื่องจากที่อับอากาศมีสภาพแวดล้อมที่เป็นอันตรายที่มีลักษณะเฉพาะและต่างกัน เป็นที่ที่มีทางเข้าออกจำกัดสำหรับผู้ให้การช่วยเหลือ

ลและยังเป็นที่ที่มีแสงสว่างน้อยหรือแทบจะไม่มีเลย ผู้ให้การช่วยเหลือจะต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ที่ให้แสงสว่างและยังเป็นที่ที่มีสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายอาจอยู่ในรูปของก๊าซหรือของเหลวที่เป็นอันตรายหรือทำให้ผู้ทำงานเสียชีวิตได้  

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

ระบบกล้องวงจรปิด

กล้องวงจรปิ ไร้สาย

 

เนื่องจากที่อับอากาศมีปากทางเข้าออกจำกัดและยากลำบากในการช่วยเหลือ ผู้ทำงานและผุ้ทำการช่วยมีเลาจำกัดเพียงไม่กี่นาทีไม่เช่นนั้นผู้ประสบภัยจะหมดสติเป็นผลให้สมองถูกทำลายหรือเสียชีวิตได้

การพยายามช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนในที่อับอากาศจะนำไปสู่การช่วยเหลือที่ไม่ดีพอ ผู้ประสบภัย 2ใน 3 อาจเสียชีวิตในระหว่างรอการช่วยเหลือในที่ที่อับอากาศได้

ประเภทการช่วยเหลือในที่อับอากาศ

                   การให้การช่วยเหลือแบ่งตามประเภทความรุนแรงของสถานการณ์ฉุกเฉิน   ออกเป็น 3  ประเภท ได้แก่

  1. การอพยพหนีด้วยตนเอง

  2. การให้การช่วยเหลือจากภายนอกที่อับอากาศ

  3. การให้การช่วยเหลือโดยการเข้าไปในที่อับอากาศ

สาเหตุผู้ปฏิบัติงานเสียชีวิตในที่อับอากาศ

                  บริเวณที่อับอากาศเหมือนไม่มีอันตรายใดๆ ไม่มีสัญญาณใดๆ บอกถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ทำให้ผู้ทำงานเพิกเฉยที่จะบริหารจัดการและกำหนดมาตรการควบคุมก่อนเข้าไปทำงานในที่อับอากาศ

ในที่อับอากาศไม่อาจที่จะคาดการณ์ได้ว่าบรรยากาศหรือสถานการณ์ภายในที่อับอากาศไม่มีการเปลี่ยนแปลงและมีความปลอดภัยเพียงพอที่จะเข้าไปทำงานได้

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

 

สถานการณ์ฉุกเฉิน

                     เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกที่อับอากาศทำให้เกิดความล้มเหลวในการควบคุมอันตราย ความผิดดพลาดของเครื่องมือตรวจวัด ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวก่อมให้เกิดอันตรายต่อผู้ทำงานในที่อับอากาศ

เหตุที่มีผู้เสียชีวิตจากการช่วยเหลือ

                 การเข้าไปช่วยเหลือแล้วทำให้มีผู้เสียชีวิตในที่อับอากาศ เนื่องจากผู้ให้การช่วยเหลือไม่รู้เกี่ยวกับอันตรายที่เกิดขึ้นในที่อับอากาศ, ไม่มีแผนปฏิบัติการช่วยเหลือ, ขาดการฝึกอบรม ซักซ้อมแผนการช่วยเหลือ  

                 ความจำเป็นที่จะต้องแจ้งให้ผู้ปฏิบัติงานและผู้ให้การช่วยเหลือทราบว่าคุณมีเวลาจำกัดแค่ 4 นาทีในการช่วยเหลือ ถือว่าจำเป็นอย่างแน่นอน

เพราะว่าระยะเวลาที่ให้การช่วยมีจำกัดมากๆ ไม่เช่นนั้นแล้วการช่วยเหลือจะกลายเป็นการกู้ภัย หลังจาก 4  นาทีแล้ว 

ถ้าไม่มีออกซิเจนผู้ทำงานอาจจะหมดสติและเป็นผลทำให้สมองถูกทำลายหรือเสียชีวิตได้       เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ช่วยเหลือได้รับอุบัติเหตุรุนแรง

โดยมีการเตรียมการวางแผนการปฏิบัติการช่วยเหลือ,  การมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบของสมาชิกในทีม,  ซักซ้อมความเข้าใจในการทำการช่วยเหลือ

เพื่อให้เกิดทักษะในการช่วยเหลือเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในที่อับอากาศ

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

 

ประเด็นสำคัญที่จะต้องพิจารณาในการวางแผนให้การช่วยเหลือ

                     ในการเข้าปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ให้การช่วยเหลือจะต้องคาดการ์ว่า ในที่อับอากาศนั้นมีอันตรายถึงชีวิตและการเข้าไปช่วยเหลือจะต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด                                                       

                     ผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือ  จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมให้ทำหน้าที่ช่วยเหลือและไม่ใช่ผู้ที่ทำหน้าที่อื่นๆในการทำงานในที่อับอากาศ 

หรือเป็นผู้เชี่ยวชาญในการช่วยเหลือ แต่อย่างน้อยที่สุดจะต้องมีหนึ่งคนที่อยู่ในบริเวณสถานที่เกิดเหตุที่พร้อมจะให้การช่วยเหลือในขณะที่คนอื่นๆ ที่เป็นทีมงานช่วยเหลือทุกคนจะต้องผ่านการฝึกอบรมคุ้นเคยกับการช่วยเหลือ 

คุณสมบัติของผู้ช่วยเหลือยังรวมถึงการมีความรู้และประสบการณ์การทำงานกับอันตรายที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือและการทำการช่วยเหลือนที่อับากาศ

                    ผู้ที่ทำหน้าที่ให้การช่วยเหลือจะต้องรู้ถึงจำนวนของผู้ประสบอันตรายและพื้นที่เกิดเหตุ  ระยะเวลาที่ผู้ประสบอันตรายได้สัมผัสกับอันตรายในที่อับอากาศ

สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ  ข้อมูลในการขออนุญาตเข้าทำงานในที่อับอากาศทั้งหมด  รวมถึงผลการตรวจวัดบรรยากาศ  ขั้นตอนการตัดแยกระบบ  ข้อมูลรายละเอียดของสารเคมีอันตราย 

Hikvision cctv

ปัจจัยที่ใช้พิจารณาการเตรียมความพร้อมเพื่อตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน

                  ในการเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในที่อับอากาศได้มีข้อกำหนดว่าควรและไม่ควรปฏิบัติไว้  ดังนี้

  1. ไม่เข้าไปในที่อับอากาศถ้าไม่จำเป็นเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินในที่อับอากาศ ไม่ควรส่งคนลงไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยอันตราย ถ้าพิจารณาว่าสามารถใช้เทคนิคการช่วยเหลือ

    จากด้านนอกได้ไม่เสี่ยงโดยไม่จำเป็น  ปัจจุบันมีอุปกรณ์ที่ช่วยเหลือที่สามารถติดตั้งไว้ล่วงหน้า ถ้าเกิดเหตุการณ์ขึ้นก็จะสามารถดึงคนออกมาจากจุดที่เกิดเหตุได้ทันที

  2. ไม่ใช้อากาศหายใจจากแหล่งเดียวกับผู้ทำงานทีมช่วยเหลือ ไม่ควรใช้แหล่งอากาศสำหรับอุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจชนิดท่ออากาศจากแหล่งเดียวกับผู้ทำงานที่กำลังได้รับการช่วยเหลือ

    เพื่อป้องกันความผิดพลาดหรือปัญหาที่เกิดจากระบบส่งอากาศจะต้องแยกชุดส่งอากาศของทีมช่วยเหลือเป็นการเฉพาะ

  3. ไม่ปล่อยให้การช่วยเหลือเป็นหน้าที่ของทีมช้วยเหลือจากภายนอกหน่วยงาน   ประสิทธิภาพของทีมช่วยเหลือจากภายนอกจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ได้รับ

    จากเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานในที่เกิดเหตุ ปัจจัยสำคัญในการเมินสภาพอันตรายในที่อับอากาศเพื่อการกำหนดวิธีการช่วยเหลือที่เหมาะสม

  4. ควรรอความพร้อมก่อนทำการช่วยเหลือ จำเป็นต้องส่งทีมเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยอันตรายในที่อับอากาศจะต้องมั่นใจว่าทีมช่วยเหลือและอุปกรณ์ที่มีครบถ้วนและมีความพร้อมเพียงพอแล้ว 

    เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายแก่ผู้ให้การช่วยเหลือ

  5. ควรคำนึงถึงว่าบรรยากาศในที่อับอากาศจะทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและสขภาพได้ทุกเวลา  ถ้าไม่มีผลการตรวจวัดแสดงให้เห็นว่าปลอดดภัย จำเป็นต้องเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบอันตรายจะต้องใส่ SCEA ตลอดเวลา

  6. ควรจำกัดจำนวนผู้ที่เข้าไปในที่อับอากาศ จำเป็นต้องเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบอันตรายจะต้องส่งคนเข้าไปช่วยเหลือให้น้อยที่สุดเท่าที่ทำได้

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

 

การกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่อับอากาศในกรณีฉุกเฉิน   ดังนี้

  • ต้องมั่นใจว่าทางเข้าออกในที่อับอากาศมีขนาดเพียงพอที่จะเข้าไปช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉินได้

  • จะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางทางเข้าออก

  • อุปกรณ์ เครื่องมือ และอุปกรณ์ป้องกันนอันตรายส่วนบุคคลจะต้องมีเพียงพอสำหรับการใช้ในการปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือกรณีฉุกเฉินและต้องรักษาให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานได้ดี

การจัดทำขั้นตอนการช่วยเหลือกรณีฉุกเฉิน ปัจจัยที่จะต้องพิจารณานั่นก็คือ การบริหารความเสี่ยงได้สอดคล้องกับที่อับอากาศ ได้แก่

  • งานที่จะทำนั้น สามารถหลีกเลี่ยงการทำงานในที่อับอากาศได้หรือไม่

  • ธรรมชาติของที่อับอากาศเป็นอย่างไร

  • การเปลี่ยนแปลงของอันตรายที่สอดคล้องกับความหนาแน่นของก๊าซออกซิเจนหรือความหนาแน่นของสารปนเปื้อนในที่อับอากาศ

  • งานที่จะทำในที่อับอากาศ ช่วงระยะเวลาในการทำเป็นอย่างไร และวิธีการทำงานเป็นอย่างไร

  • ลักษณะของขั้นตอนการช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉินที่ต้องจัดเตรียมไว้เป็นอย่างไร

                          การปฐมพยาบาลและขั้นตอนการช่วยเหลือจะต้องได้รับการปรึกษากับผู้ทำงานที่เกี่ยวขอ้งเพื่อให้มั่นใจว่าการปฐมพยาบาลและขั้นตอนการช่วยเหลือมีประสิทธิภาพเละประสิทธิผล 

ถ้าเป็นไปได้การช่วยเหลือควรทำในพื้นที่ภายนอกของที่อับอากาศ ผู้ช่วยเหลือจะต้องได้รับการฝึกอบรมที่เพียงพอและเหมาะสมและต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมเมื่อเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย    

ผู้ปฏิบัติงานหมดสติเพราะเหตุว่าขาดออกซิเจน  หรือเพราะสารปนเปื้อน  ผู้ช่วยเหลือควรคิดไว้เสมอว่าทางเข้าในที่อับอากาศก็ไม่ปลอดดภัย  เว้นเสียแต่ว่าผู้ช่วยเหลือได้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจ 

ส่วนประเด็นที่สำคัญคือทางเข้าออกที่อับอากาศจะต้องนำมาพิจารณาในการจัดทำขั้นตอนการช่วยเหลือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ถ้าพบว่าปากทางเข้าออกมีขนาดไม่เพียงพอ    

ควรปรับขนาดปากทางเข้าออกให้กว้างมากขึ้น วิธีการที่ปลอดภัยที่เป็นทางเลือกอื่นๆ   ที่ควรจะจัดเตรียมไว้

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

 

แผนช่วยเหลือต้องประกอบด้วย

  • กันพื้นที่เพื่อป้องกันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณที่เกิดเหตุ

  • เพิ่มการระบายอากาศ

  • ควบคุมอันตรายอื่นๆ  เช่น   อันตรายจากการจราจร   เป็นต้น

  • อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

  • อุปกรณ์แสงสว่งชนิดป้องกันการระเบิด

  • วิธีการสื่อสาร

  • ทีมช่วยเหลือสำรอง

  • ขั้นตอนการเคลื่อนย้ายผู้ประสบอันตรายออกจากพื้นที่แลเครื่องมืออุปกรณ์ในการเคลื่อนย้าย

  • ยานพาหนะที่จำเป็นต้องใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน

  • บุคลากรทางการแพทย์

ทีมฉุกเฉินจำเป็นต้องซักซ้อมในสถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริงอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

แผนการช่วยเหลือจำเป็นต้องมีการทบทวนก็ต่อเมื่อ

  • สภาพการณ์ในที่อับอากาศเปลี่ยนแปลง

  • ผู้ปฏิบัติงานพบว่ามีอันตรายใหม่เกิดขึ้น

  • มีการเปลี่ยนตัวผู้ให้การช่วยเหลือในทีมฉุกเฉิน

  • มีการสั่งซื้อเครื่องมืออุปกรณ์ใหม่ในการช่วยเหลือเข้ามาใช้

  • ผลการประเมินประสิทธิภาพการฝึกอบรมไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

  • พบว่าแผนการช่วยเหลือยังไม่สมบูรณ์  เช่น  พบความผิดพลาดจากการซักซ้อมแผนช่วยเหลือ

นายจ้างจะต้องเตรียมความพร้อมในการโต้ตอบฉุกเฉิน

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

 

จัดตั้งทีมฉุกเฉินภายในหน่วยงาน

  • นายจ้างจะต้องสร้างทีมโต้ตอบฉุกเฉินของสถานประกอบกิจการเอง แต่ก็อาจขอความช่วยเหลือจากทีมภายนอกได้

  • ทีมฉุกเฉินภายในหน่วยงานจะต้องมีหนึ่งคนที่ปฏิบัติงานในพื้นที่บริเวณที่อับอากาศจะต้องได้รับการฝึกอบรมเรื่องการปฐมพยาบาล 

    และ CPR และทีมฉุกเฉินทุกคนจะต้องซักซ้อมการใช้และการบำรุงรักษา PPE และอุปกรณ์ช่วยชีวิตชนิดอื่นๆ  ต้องทำการซักซ้อมในสถานการณ์จำลองฉุกเฉินทุกปี

    การซักซ้อมบทบาทสมมติของแต่ละคนในทีมฉุกเฉินและการโต้ตอบภาวะฉุกเฉิน

การขอความช่วยเหลือจากทีมฉุกเฉินภายนอก

  1. ถ้าทีมฉุกเฉินภายนอกไม่สามารถให้การช่วยเหลือได้ทันท่วงที  ก็ไม่มีประโยชน์ใด  ๆ  ที่จะต้องรอขอความช่วยเหลือ

  2. จงจำไว้ว่าโอกาสของการช่วยเหลือมีเพียงระยะเวลาจำกัด  ประมาณ  4  นาที  เวลาในการช่วยเหลือจากหน่วยงานฉุกเฉินภายนอกอาจจะต้องใช้เวลายาวนาน   ถ้า  4  นาที

    ผ่านไปแล้วผู้ประสบอันตรายอาจจะหมดสติ  สมองถูกทำลายหรือเสียชีวิต

  3. จัดลำดับเวลาในการช่วยเหลือและมั่นใจว่าทีมช่วยเหลือจากภายนอกมีความสามารถในการช่วยเหลือคุณได้ทันที   ให้ข้อมูลจำนวนผู้ที่ทำงานในที่อับอากาศและลักษณะอื่น  ๆ 

    ของที่อับอากาศแก่หน่วยงานฉุกเฉินภายนอกล่วงหน้า

  4. จงเปิดเผยอันตรายทั้งหมดที่มีอยู่ในที่อับอากาศที่พอจะรู้ได้เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการให้ความช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม

  5. บอกเส้นทางเข้าออกที่อับอากาศเพื่อหน่วยงานฉุกเฉินภายนอกจะได้สร้างความคุ้นเคยกับสถานที่เกิดเหตุ   พัฒนาแผนช่วยเหลือล่วงหน้าและการจำลองฝึกช่วยเหลือเสมือนในสถานการณ์จริง

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

 

อุปกรณ์ช่วยเหลือประกอบด้วย

  1. เข็มขัดรัดชนิดเต็มตัวพร้อมสายช่วยชีวิต

  2. สายรัดข้อมือใช้ช่วยเหลือสำหรับผู้ประสบภัยที่ยังไม่รู้สึกตัวและเป็นวิธีการช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดเนื่องจากไม่ต้องเข้าไปในที่อับอากาศ

  3. ชุดขาตั้งสามขาจำเป็นในที่อับอากาศที่มีความลึกมากกว่า  5  ฟุต

  4. บันได

  5. อุปกรณ์แสงสว่างชนิดป้องกันการระเบิด

  6. SCBA / Air  line  respirator

  7. เปล

  8. หมวกกันกระแทก

หลักการค้นหาและช่วยชีวิต  มีอยู่   3   ประการหลักๆ   คือ

  1. ผู้ประสบภัย  /  ผู้ช่วยเหลือต้องมีชีวิตรอดปลอดภัย

  2. ช่วยเหลือผู้ประสบภัยออกมาสู่พื้นที่ปลอดภัย

  3. กู้สถานการณ์ให้กลับสู่สภาพปกติ

กล้องวงจรปิดราคาประหยัด

วิธีการค้นหาในห้องมืด

                โดยปกติทั่วไปในห้องมือจะทำให้สายตาของเรานั้นมองไม่เห็นแม้จะมีไฟฟ้าส่องหรือมีสปอตไลท์ส่องอยู่ก็ตาม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาวิธีการช่วยเหลือตัวเองไม่ให้เกิดอันตราย

และไม่ให้หลงทางจนออกไม่ถูก  โดยการใช้มือและเท้าในการช่วยค้นหา,  การให้สัญญาณต่างๆ   เป็นต้น

                 เจ้าหน้าที่กู้ภัยต้องผ่านการฝึกอบรมเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเป็นอย่างดี สิ่งแรกที่จำเป็นอย่างยิ่งก่อนที่จะนำผู้ประสบภัยออกจาสถานที่เกิดเหตุ คือการทำให้ผู้ประสบภัยอยู่ในสภาพที่ปลอดภัย ซึ่งจะต้องพิจารณาดำเนินการต่อไปนี้

  1. การทำให้ผู้ประสบภัยฟื้นคืนชีพ

  2. การพันแผล

  3. การเข้าเฝือก

  4. การดูแลกระดูกสันหลัง

  5. การแก้ไขอาการช็อค

การจัดทีมกู้ภัย แบ่งออกตามหน้าที่  ดังนี้

  • หัวหน้าทีม

  • หัวหน้าชุด

  • เจ้าหน้าที่กู้ภัย

  • ทีมสนับสนุน

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

 

หน้าที่ของหัวหน้าทีมกู้ภัย

  1. รายงานสถานการณ์ของการปฏิบัติงานให้กับผู้บังคับัติงานให้กับผู้บังคับบัญชา
  2. ประเมินสถานการณ์และสำรวจสภาพพื้นที่เกิดเหตุ
  3. ตัดสินใจและสั่งการปฏิบัติงาน
  4. มั่นใจว่าวิธีการช่วยเหลือนั้นถูกต้อง
  5. เตรียมกำลังสำรองสนับสนุน
  6. ร้องขอกำลังคน  เครื่องมือ  อุปกรณ์สนับสนุน
  7. จัดเวลาพักให้ทีมปฏิบัติการ
  8. แต่งตั้งผู้ทำหน้าที่แทนกรณีไม่อยู่
  9. จัดเตรียมอาหาร  เครื่องดื่ม  และที่พัก
  10. จด  บันทึกการปฏิบัติงาน
  11. จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน

หน้าที่ของหัวหน้าชุดกู้ภัย

  1. รับคำสั่งจากหัวหน้าทีม
  2. กำกับดูแลความพร้อมของทีมกู้ภัยสำรอง
  3. ควบคุมการปฏิบัติงานของชุดกู้ภัยตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
  4. ดูแลความปลอดภัยของทีม
  5. ควบคุมการใช้อุปกรณ์กู้ภัย   รถสนับสนุนต่าง  ๆ   ให้เป็นไปตามคำสั่ง
  6. รายงานหัวหน้าทีม    เมื่อลูกทีมบาดเจ็บ   อุปกรณ์ชำรุดและต้องการทดแทน
  7. ขอรับการสนับสนุนเมื่อต้องการ

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

 

การกู้ภัย

                  งานที่ต้องปฏิบัติอยู่ภายใต้สถานการณ์อันเลวร้ายความสับสนจากความร้อน  ความมือ  เสียง  ควัน  และสิ่งกีดขวางทั้งหลายๆ  สิ่งจะทำให้นักกู้ภัยทั้งหลายตื่นตระหนก   สับสน 

จนอาจทำให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยไม่มีประสิทธิภาพ ขั้นตอนการปฏิบัติต่อไปนี้ช่วยให้หัวหน้าทีมกู้ภัยได้ลำดัยขั้นตอนของการนำทีมเข้าปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

ขั้นตอนในการเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัย

  1. ประเมินสถานการณ์
  2. เหตุเกิดเมื่อไร
  3. พื้นที่เกิดเหตุปลอดภัยหรือไม่   มีอันตรายอย่างไร
  4. ทีมกู้ภัยพร้อมปฏิบัติการหรือไม่
  5. มีทีมกู้ภัยสนับสนุนอีกเท่าไร  จากไหน
  6. อุปกรณ์ป้องกันอันตราย   เครื่องมือ  เครื่องใช้
  7. พื้นที่ปลอดภัยอยู่ที่ใด
  8. เคลื่อนย้ายอย่างไร
  9. การส่งทีมเข้าค้นหา
  10. ต้องส่งเข้าค้นหาอย่างน้อย  2  นายเสมอ
  11. ก่อนเข้า  ทีมจะต้องศึกษาลักษณะพื้นที่  ทางเข้า –  ออก
  12. การตกลงสัญญาณ  การติดต่อสื่อสารของทีม
  13. การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสม
  14. อุปกรณ์ส่องสว่าง  อุปกรณ์เชือกช่วยชีวิต
  15. วางแผนเข้าปฏิบัติการ
  16. พิจารณาวิธีการผูกมัดผู้บาดเจ็บ
  17. พิจารณาวิธีการเคลื่อนย้ายว่าจะขึ้น  /  จะลง
  18. พิจารณาถึงกำลังคน   อุปกรณ์  ขอจากที่ใด
  19. มอบหมายหน้าที่เฉพาะให้แต่ละคนภายในทีม
  20. นำผู้บาดเจ็บมาสู่ที่ปลอดภัยและส่งต่อไป
  21. เสนอแนะผลการปฏิบัติการของทีมหลังเสร็จสิ้นภารกิจเพื่อปรับปรุงทีม

 

 

Related link :   ป้องการอันตรายจากรั้วไฟฟ้ากันขโมย    ระบบสัญญาณกันขโมยไร้สาย

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *