กล้อง IP CAMERA

กล้อง IP CAMERA เป็นแหล่งกำเนิดอัคคีภัยได้หรือไหม

เรื่องการดับเพลิงขั้นต้น สาเหตุของการเกิดและแหล่งกำเนิดอัคคีภัย

                    ทฤษฏีการเผาไหม้ กระบวนการเผาไหม้ของไฟนั้นเป็นสิ่งที่สามารถคาดการณ์ได้เฉพาะการเผาไหม้นั้นเป็นไปตามกฏเกณฑ์  “ธรรมชาติของไฟ”    

                    “ไฟ” เป็นปฏิกิริยาเคมีชนิดหนึ่งที่เรารู้จักกันคือ “การเผาไหม้”  ซึ่งปฏิกิริยาร่วมระหว่างองค์ประกอบ 3 สิ่ง  คือ  เชื้อเพลิง  ออกซิเจน  และความร้อน

ในสภาวะที่เหมาะสมแล้ว ให้พลังงานออกมาในรูปของพลังงานความร้อนและพลังงานแสงสว่างซึ่งส่วนประกอบของไฟนั้นแสดงโดยใช้รูปสามเหลี่ยมของไฟ     

องค์ประกอบจะต้องมีปฏิกิริยาของการสันดาป  คือ เชื้อเพลิงได้รับความร้อนจากก๊าซที่ไอที่ผิวมากพอที่จะติดไฟได้  และเมื่อออกซิเจนอากาศไม่ต่ำกว่าร้อยละ 16 ไฟก็จะติดขึ้น  

โมเลกุลของเชื้อเพลิงจะแตกตัวเป็นโมเลกุลที่มีขนาดเล็กลงๆ จนแปรสภาพเป็นก๊าซแล้วลุกไหม้ต่อเนื่องกันไปเป็นลูกโซ่  ซึ่งสามารถแสดง องค์ประกอบของการเผาไหม้เป็นรูปปิรามิดของไฟ

แต่เมื่อปฏิกิริยาลูกโซ่ขาดตอนลงเมื่อใดการสันดาบก็จะหยุดลง

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

กล้อง IP CAMERA

กล้องตรวจจับความร้อน

                เชื้อเพลิง  วัตถุใดก็ตามที่สามารถทำปฏิกิริยากับออกซิเจนได้อย่างรวดเร็วในการเผาไหม้ เชื้อเพลิงที่อยู่สถานะก๊าซจะสามารถลุกไหม้ไฟได้

แต่ถ้าอยู่ในสถานะของแข็งและของเหลวจะไม่ลุกไหม้ไฟ  ถ้าโมเลกุลที่ผิวของเชื้อเพลิงไม่อยู่ในสภาพที่เป็นก๊าซ

การที่โมเลกุลของแข็งหรือของเหลวนั้นจะสามารถแปรสภาพกลายเป็นก๊าซได้นั้นจะต้องอาศัยความร้อนที่แตกต่างกันตามชนิดของเชื้อเพลิงแต่ละชนิด

ความแตกต่างของลักษณะการติดไฟของเชื้อเพลิงขึ้นอยู่กับคุณสมบัติ 4 ประการ  ดังนี้ ความสามารถในการติดไฟของสาร, จุดวาบไฟ,  จุดติดไฟ, ความหนาแน่นไอ

              ออกซิเจน  อากาศที่อยู่รอบๆ   มีก๊าซ ออกซิเจนเป็นองค์ประกอบประมาณ 21 %   การเผาไหม้แต่ละครั้งนั้นจะต้องการออกซิเจนประมาณ 16 % เท่านั้น

จะเห็นว่าเชื้อเพลิงทุกชนิดที่อยู่ในบรรยากาศรอบๆ  ตัวเรานั้นจะถูกล้อมรอบด้วยออกซิเจน  ซึ่งมีปริมาณเพียงพอสำหรับการเผาไหม้ยิ่งถ้าปริมาณออกซิเจนยิ่งมาก

เชื้อเพลิงก็จะยิ่งติดไฟได้ดีขึ้น และเชื้อเพลิงบางประเภทจะมีออกซิเจนในตัวเองอย่างเพียงพอที่จะทำให้ตัวเองไหม้ได้โดยไม่ต้องใช้ออกซิเจนที่อยู่โดยรอบเลย

แหล่งกำเนิดอัคคีภัยที่พบเห็นอยู่เสมอ ๆ    คือ    

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

 

การควบคุมแหล่งกำเนิดอัคคีภัย   

                    เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างความร้อน เชื้อไฟ  และออกซิเจนในอากาศ เมื่อรู้ว่าอะไรที่สามารถผลิคความร้อนสูงพอที่จะติดไฟได้   จำเป็นที่จะต้องควบคุม

ไม่ให้มีองค์ประกอบอีก  2  ประการเข้าไปร่วมด้วย แต่ถ้าควบคุมไม่ได้ทั้งสองอย่าง เราก็ต้องคอยดูและควบคุมไม่ให้มีเชื้อไฟเข้าไปสัมผัสกับสิ่งที่ทำให้เกิดความร้อนสูง

                   ข้อแนะนำสำหรับการดูแลควบคุมแหล่งกำเนิดอัคคีภัย ทำได้โดยการลดความร้อน  และ/หรือการกำจัดหรือป้องกันไม่ให้มีเชื้อไฟจะปสัมผัสความร้อน   ซึ่งมีดังนี้

  1. อุปกรณ์ไฟฟ้า ควรใช้สายไฟ มอเตอร์  สะพานไฟ ฯลฯให้เหมาะสมกับงาน  ควรตรวจสอบสายไฟ  และรอยต่อสายไฟอยู่เสมอๆ 

    เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่เกิดการช๊อต การทำความสะอาดอุปกรณ์ไฟฟ้าควรใช้น้ำยาเฉพาะ  และควรเป็นชนิดที่ไม่ไวไฟ

  2. การลดความเสียดทาน  ทำได้โดยการใช้สารสำหรับหล่อลื่นที่ไม่ไวไฟฟและเป็นชนิดที่ได้รับการแนะนำจากผู้สร้างอุปกรณ์หรือฝ่ายวิศวกรรม

    ควรมีการทำความสะอาดอุปกรณ์เสมอๆ เพื่อไม่ให้เกิดการสะสมของฝุ่นซึ่งอาจเป็นเชื้อไฟ

  3. วัสดุไวไฟชนิดพิเศษ ควรเก็บรักษาให้ถูกต้อง ซึ่งควรเป็นการเสนอแนะจากฝ่ายวิศวกรรมหรือผู้เชี่ยวชาญ

  4. การเชื่อมและการตัดโลหะ ควรจัดเป็นบริเวณแยกต่างหากจากอื่นๆ  ควรอยู่ในบริเวณที่มีการถ่ายเทอากาศสะดวกและพื้นที่จะต้องเป็นชนิดทนไฟ

    แต่ถ้าหากจัดให้อยู่แยกต่างหากไม่ได้ก็ควรจะทำตามวิธีดังนี้ ต้องเป็นบริเวณที่ฝ่ายป้องกันอัคคีภัยรับรองว่าใช้ได้, ต้องมีการจัดเตรียมบริเวณและหลักปฏิบัติสำหรับการป้องกันอัคคีภัยอันอาจเกิดขึ้นจากเหตุต่างๆ

  5. การใช้เตาเผาแบบเปิดหรือเปลวไฟที่ไม่มีสิ่งปิดคลุม จะต้องมีการป้องกันเพื่อไม่ให้การกระเด็นของลูกไฟและต้องไม่เก็บสารที่เป็นเชื้อไฟไว้ในบริเวณที่ใกล้เคียง    

    รวมทั้งต้องมีการถ่ายเทอากาศที่เหมาะสม ส่วนหัวแร้งสำหรับเชื่อมหรือสิ่งที่ให้เปลวไฟโดยไม่มีสิ่งปิดคลุมไม่ควรทิ้งให้ติดไฟโดยไม่มีการดูแล

  6. การสูบบุหรี่และการจุดไฟ ควรจัดให้มีบริเวณสำหรับพนักงาน และถ้าบริเวณใดที่ห้ามสูบบุหรี่ควรจัดให้มีป้ายแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน  และเตรียมบริเวณสำหรับป้องกันการเกิดอัคคีภัย

    ที่เกิดจากความประมาทเลิ่นเล่อ รวมทั้งประกาศหลักปฏิบัติในการใช้บรเวณเพื่อให้พนักงานเข้าใจและให้ความร่วมมือป้องกันอัคคีภัย ในบริเวณใดที่ห้ามการสูบบุหรี่ควรห้ามจุดไฟด้วย  

  7. วัตถุที่ผิวร้อนจัด  กรณีของไฟ  ท่อไอน้ำ  ท่อน้ำร้อน ฯลฯ ไม่ควรเดินท่อเหล่านี้ผ่านส่วนที่เป็นพื้นหรือเพดาน  ควรจัดให้ผ่านผนังทนไฟหรือมีการหุ้มห่อด้วยสารทนไฟและถ่ายเทความร้อนได้ 

    สำหรับพวกโลหะที่ถูกทำให้ร้อนควรบรรจุในภาชนะและผ่านไปตามอุปกรณ์ที่จัดไว้โดยเฉพาะเท่านั้น

  8. ไฟฟ้าสถิต ประจุไฟฟ้าสถิตส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการเสียดสีของสารที่ไม่เป็นตัวนำ  เมื่อเกิดการถ่ายเทประจุไฟฟ้า จะทำให้เกิดประกายไฟ  และประกายไฟสัมผัสกับเชื้อไฟก็อาจเกิดการลุกไหม้ 

    การป้องกันไม่ให้เกิดไฟฟ้าสถิตเป็นไปไม่ได้   วิธีแก้ไขที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป  เช่น  การต่อสายลงดิน,  การต่อกับวัตถุที่ทำหน้าที่เป็นตัวประจุไว้,  รักษาระดับความชื้นสัมพัทธ์ที่ระดับที่เหมาะสม,

    การทำให้บรรยากาศรอบๆ เป็นประจุไฟฟ้า  ทำหน้าที่เป็นตัวนำประจุไฟฟ้าออกจากวัตถุที่เก็บประจุไฟฟ้าสถิตไว้ในตัว เป็นต้น

  9. เครื่องทำความร้อน เชื้อเพลิงที่ใช้ ควรมีจุดติดไฟที่อุณหภูมิสูงบริเวณที่ติดตั้งเครื่องควรมีการระบายอากาศที่ดี เชื้อเพลิงถ้าเกิดการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์จะเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  

    ซึ่งเป็นอันตรายต่อคน ควรอยู่ห่างจากสารไวไฟในกรณีที่มีเปลวไฟ ควรมีฝาปิดกั้นที่ทนไฟและไม่ติดไฟ มีปล่องสำหรับปล่อยอากาศร้อนหรือก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้

    พวกขี้เถ้าที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ไม่ควรตักออกจนกว่าไฟจะมอดหมดแล้ว พวกเครื่องทำความร้อนที่หิ้วหรือย้ายเปลี่ยนที่ได้ ควรมีที่สำหรับหิ้วหรือสำหรับการขนย้ายมี่เหมาะสม

  10. การลุกไหม้ด้วยตนเอง  เนื่องจากก๊าซออกซิเจนทำปฏิกิริยาการสันดาปขึ้นกับเชื้อไฟจนกระทั่งติดไฟและเกิดการลุกไหม้ มักจะเกิดขึ้นในบริเวณที่มีอากาศพอที่จะเกิดการสันดาป

    แต่ไม่มากพอที่จะถ่ายเทอากาศซึ่งจะทำให้เกิดความร้อนสูงในที่ที่เก็บสารที่อาจเกิดการสันดาปได้ควรมีการถ่ายเทอากาศที่เหมาะสม และปราศจากเชื้อไฟที่อาจเร่งปฏิกิริยาการสันดาป 

    การใช้ถังขยะชนิดที่มีฝาปิดมิดชิดสำหรับขยะที่เปื้อนน้ำมันหรือสีจะช่วยป้องกันการลุกไหม้ด้วยตนเองได้

milesight cctv

การระงับอัคคีภัย

                      การเกิดอัคคีภัยย่อมแตกต่างกันไปตามลักษณะทางเคมีและทางกายภาพที่เกี่ยวกับการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงหรือประเภทของไฟ  ตามลักษณะโครงสร้างของอาคาร  

การส่งผ่านความร้อนที่จะทำให้เกิดการติดต่อลุกลามและทิศทางของลมที่จะช่วยให้เกิดการกระจายตัวของไฟ  เกิดการลุกไหม้รุนแรงขึ้น  เพื่อเป็นการระงับความรุนแรงของไฟ   ต้องพิจารณาโดยการแยกองค์ประกอบของการเผาไหม้ ดังนี้ 

การกำจัดเชื้อเพลิง,  การเคลื่อนย้ายเชื้อเพลิงที่ติดไฟออกจากเพลิง, การทำให้ปริมาณของสิ่งที่จะไหม้ไฟน้อยลง ,  การลดปริมาณออกซิเจนให้น้อยลง, การเติมออกซิเจนให้มากขึ้น, 

การทำให้สารที่เป็นเชื้อเพลิงมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดวาบไฟ,  การทำให้เย็นลงโดยการถ่ายเทความร้อนออกจากสารที่กำลังลุกไหม้, การทำให้เย็นตัวลงโดยการให้สารทำปฏิกิริยาดูดกลืนความร้อน

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

 

การใช้เครื่องดับเพลิง

                      ระบบการป้องกันที่สมบูรณ์จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการดับเพลิง ไม่ว่าจะมีระบบป้องกันที่ดีอย่างไร อุบัติเหตุอาจเกิดขึ้นได้เสมอ เมื่อเกิดแล้วสิ่งที่สำคัญสองสิ่งที่จะต้องคิดถึงเสมอ  คือ

  • กดปุ่มเตือนอัคคีภัยทันที ไม่ว่าขนาดของเพลิงนั้นจะเล็กหรือใหญ่

  • พยายามดับเพลิงหรือควบคุมเพลิง  ด้วยเครื่องมือดับเพลิงที่เหมาะสมเพื่อลดภัยอันเกิดจากเพลิงไหม้ให้เหลือ

                     ผู้ควบคุมงานควรรู้ถึงชนิดของเพลิง ซึ่งอาจเกิดขึ้นบริเวณความรับผิดชอบและรวมทั้งชนิดของเครื่องดับเพลิงที่จะต้องใช้สำหรับแต่ละชนิดของเพลิง ชนิดของเครื่องดับเพลิงนั้นต้องใช้ตามชนิดของเพลิงที่เกิดขึ้นนั้นๆ ด้วย

                    การติดตั้งเครื่องดับเพลิงควรอยู่ในที่เห็นได้ง่ายและชัดเจน  และติดตั้งในลักษณะที่ใช้ได้สะดวก และอยู่สูงจากพื้นไม่เกิน 5 ฟุต ผู้ควบคุมงานถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องดูแล

ไม่ให้มีสิ่งใดไปขัดขวางการเข้าไปใช้เครื่องดับเพลิง  บริเวณที่ติดตั้งเครื่องดับเพลิงควรทาสีแดงเพื่อให้สังเกตุเห็นได้ง่าย  

ควรมีการตรวจสอบการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างสม่ำเสมอ  เพราะเครื่องดับเพลิงบางชนิดจะต้องมีการบรรจุน้ำยาใหม่ทุกๆ ระยะ และการละเลยนั้นอาจหมายถึงความสูญเสียจากอัคคีภัยได้อย่างมหาศาล

 

 

Related link : รั้วไฟฟ้ากันขโมย    ระบบสัญญาณกันขโมยไร้สาย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *