การทำงานของกล้องวงจรปิด

การทำงานของกล้องวงจรปิด และอันตราย กับความเสี่ยงในการขับรถ

การทำงานของกล้องวงจรปิด ในขณะที่ขับรถน้้นมี อันตราย และ ความเสี่ยง ที่สามารถทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ตลอดเวลา จะเห็นได้จากภาพกล้องวงจรปิด

ดังนั้น ในขณะขับรถ ผู้ขับขี่จะต้องควมคุมสติ และ สมาธิให้ดี เพื่อที่จะได้ประเมินสถานการณ์ และ ตัดสินใจเลือกทางแก้ไขปัญหาขณะนั้นได้อย่างถูกต้อง และ ปลอดภัย

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

การทำงานของกล้องวงจรปิด

 

การทำงานของกล้องวงจรปิด และอันตราย กับความเสี่ยงในการขับรถ

 

อันตราย (Hazard) หมายถึง สภาวการณ์ที่ไม่ปลอดภัย เช่น

  • ขับรถในเวลากลางคืน
  • ขับรถในขณะฝนตก
  • ขับรถในขณะหมอกลง
  • ขับรถเข้าเขตชุมชน
  • ขับรถขึ้น-ลงทางลาดชัน
  • ขับรถเข้าทางร่วมทางแยก
  • ขับรถเข้าโค้ง

ความเสี่ยง (Risk) เกิดจาการกระทำที่ไม่ปลอดภัยของตัวผู้ขับขี่เอง ซึ่งผู้ขับขี่ไม่สามารถควบคุมผลแห่งการกระทำนั้นได้ เช่น

ขับรถในเวลากลางคืน อันตรายกว่าในเวลากลางวัน เพราะในเวลากลางคืน จะมองเห็นได้เฉพาะเท่าที่แสงไฟหน้ารถส่องไปถึงเท่านั้น ถ้าผู้ขับขี่ขับรถด้วยความเร็วสูง ก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูง

ขับรถในขณะฝนตก ก็ถือว่าอันตรายอยู่แล้ว และ ถ้าผู้ขับขี่ยังคงใช้ความเร็วสูง อาจทำให้รถเหินน้ำ ถือว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากขึ้น ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยง ผู้ขับขี่ควรชะลอความเร็ว

ดังนั้น ในขณะขับรถ ผู้ขับขี่จะต้องประเมินสถานการณ์ และ แยกแยะอันตราย และ ความเสี่ยงให้ได้ตลอดเวลา อย่าลืมว่าท่านจะต้องฝึกให้ชินจนติดเป็นนิสัย เมื่อท่านชินแล้ว

พร้อมทั้งมี กล้องติดรถยนต์ อยู่ในรถ เพียงเท่านี้ ท่านก็จะขับรถได้อย่างปลอดภัยตลอดชีวิต

การทำงานของกล้องวงจรปิด และอันตราย กับความเสี่ยงในการขับรถ

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

 

มูลเหตุที่ทำให้ผู้ขับขี่เสียสมาธิขณะขับรถ

  1. สภาพร่างกาย และ จิตใจไม่พร้อม
    • อ่อนเพลีย หลับใน เนื่องจากร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ อุบัติเหตุร้ายแรงส่วนมากจึงเกิดจากผู้ขับขี่หลับใน หลักสากลกำหนดไว้ว่า ถ้าขับรถ 2 ชั่วโมงติดต่อกัน หรือ ประมาณ 150 กิโลเมตร

      ควรพักอย่างน้อย 15 นาที และ ขับ 4 ติดต่อกัน หรือ ประมาณ 300 กิโลเมตร ควรพักอย่างน้อย 30 นาที ถ้าผู้ขับขี่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ควรพักนานกว่านี้

    • การขับขี่ที่รีบร้อน กลัวว่าจะไปไม่ทันนัด กลัวว่าจะไม่ทันเครื่องบิน หรือ กลัวอะไรต่าง ๆ ทำให้การขับรถขาดความระมัดระวัง ใช้ความเร็วค่อนข้างสูง อารมณ์หงุดหงิด

      ไม่รักษาวินัยในการใช้ช่องทาง ฝ่าฝืนกฎหมาย เห็นไฟเหลืองอ้างว่าติดพันทุกแยก และ การขับรถเอาชีวิตเป็นเดิมพัน สิ่งเหล่านี้เป็นตัวเร่งเร้าให้นำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย

    • เจ็บป่วย เป็นไข้ ไม่ควรรับประทานยาแก้ไข้ในขณะขับรถ

    • โรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคลมชัก หรือ โรคลมบ้าหมู

    • เสพยาบ้า เมาสุรา อุบัติเหตุส่วนมากเกิดจากผู้ขับขี่เมาสุรา

    • หิว หรือ อิ่มเกินไป ดังนั้นจึงควรรับประทานอาหารแค่รองท้องเท่านั้นขณะขับรถ

    • ทุกข์หนัก ทุกข์เบา ก่อนที่ท่านจะออกรถต้องปลดปล่อยสิ่งเหล่านี้ออกไปให้หมด

    • อารมณ์ดีใจ เสียใจ โกรธ และ อิจฉาริษยา ท่านอาจอารมณ์เสีย เนื่องจากพฤติกรรมที่ไม่ดีของผู้ขับขี่คนอื่น อย่าพยายามตอบโต้ โดยเด็ดขาด ถ้าจำเป็น ท่านควรลดความเร็วลง และ

      ควบคุมอารมณ์ให้ได้ ถ้าตอบโต้จะอันตรายมาก ขณะที่ท่านอารมณ์เสีย ท่านจะขาดสมาธิ ขาดการสังเกตการณ์ และ ขาดการคาดการณ์ล่วงหน้า สิ่งที่จะตามมาก็คืออุบัติเหตุ

  2. ผู้โดยสารที่นั่งในรถ ได้แก่ เด็ก เจ้านาย เพื่อน ภรรยา และ คนรัก

    คำแนะนำในกรณีที่มีเด็กนั่งในรถ

    • ถ้ามีเด็กนั่งในรถควรให้เด็กนั่งที่เบาะหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถที่มีถุงลมนิรภัย 2 ลูก
    • อย่าลืมล็อคประตูด้านหลัง เพื่อกันไม่ให้เด็กเปิด
    • อย่าให้เด็กยืนอยู่บนเบาะ หรือ โผล่หน้ามาระหว่างซอกเบาะหน้า เพราะถ้าเกิดเบรกฉุกเฉินขึ้นมา หน้าเด็กจะสวมเข้ากับคันเกียร์จนอจทำให้บาดเจ็บสาหัสได้
    • ไม่ควรให้เด็กนั่งตักผู้ขับขี่ในขณะขับรถโดยเด็ดขาด

  3. เครื่องแต่งกาย ไม่ควรสวมใส่เสื้อผ้าคับ หรือ หลวมเกินไป และ ควรสวมรองเท้าในขณะขับรถ

    สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

    Line: @cctvbangkok.com
    ติดต่อทางเมลส์
    ติดต่อเฟสบุค
    ติดต่อยูทูป

    HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542



  4. เปิดวิทยุเสียงดัง ดูโทรทัศน์ขณะขับรถ คุยโทรศัพท์มือถือ เพราะจะทำให้เสียสมาธิ และ จิตใจไม่อยู่กับการขับรถ ซึ่งจะเป็นอันตรายมาก

    หมายเหตุ กฎหมายห้ามใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2551 เป็นต้นไป เจ้าหน้าที่ตำรวจจะใช้กล้องถ่ายรูปผู้กระทำผิดเพื่อป้องกันกรโต้แย้ง โดยตัดแต้ม 10 คะแนน ปรับ 400-1,000 บาท

    คำแนะนำสำหรับผู้ที่นั่งรถแท็กซี่

    • ใช้โทรศัพท์มือถือให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง โดยเฉพาะสุภาสตรีที่ใช้บริการรถแท็กซี่ ให้ทำทีว่าพูดคุยกับตำรวจ หรือ ทหารก็ได้ว่า

      ขณะนี้นั่งอยู่บนรถแท็กซี่สีอะไร ขอให้สารวัตร หรือ ผู้พันมารอที่นั่นที่นี่ เมื่อคนขับรถแท็กซี่ได้ยินก็จะเกิดความกลัว และ ไม่กล้าที่จะคิดไม่ดีกับเรา ทำให้เรามีความปลอดภัยมากขึ้น

  5. สูบบุหรี่ กินขนม และ ดูแผนที่ สิ่งเหล่านี้ทำให้เสียสมาธิทั้งสิ้น

  6. ยุง แมลงวัน ผึ้ง และ สุนัข สิ่งเหล่านี้ถ้าอยู่ในรถจะทำให้เสียสมาธิได้ หนังสือพิมพ์เคยลงข่าวยุงตัวละ 3 หมื่น ขณะที่กำลังขับรถอยู่ ในช่วงจังหวะที่ตบยุง

    ทำให้รถชนคันหน้าพอดี เสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถ 3 หมืนบาท หรือ ข่าวสุนัขที่อยู่บนรถปิกอัพตกลงมาทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อย ๆ

  7. ทัศนวิสัย และ สิ่งแวดล้อมได้แก่ ฝนตกหนัก ขับรถในเวลากลางคืน หมอกหนาทึบ และ เผาหน้าข้างทาง ซึ่งปัจจุบัน เราจะพบเห็นันบ่อยมาก หรือ มีผู้หญิงสวยยืนข้างถนน และ ป้ายโฆษณาต่าง ๆ

  8. สภาพรถยนต์ไม่พร้อม ได้แก่ ยางบวม พวงมาลัยสั่นขณะขับ หรือ ไฟแสงสว่างติดไม่ครบ เช่น ไฟเบรก ไฟเลี้ยว เครื่องยนต์เบาดับ เครื่องยนต์เร่งไม่ขึ้น คันเร่งค้าง เบรกปัด และ เบรกมือใช้งานไม่ได้ เป็นต้น

 

 

Related link :ประโยชน์รั้วไฟฟ้ากันขโมย    งานติดตั้งสัญญาณกันขโมย

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *