กล้องติดรถยนต์

กล้องติดรถยนต์ และความพร้อมของรถ

ปัจจุบันกล้องวงจรปิดในรถยนต์กลายเป็นสิ่งจำเป็น และรถยนต์ทุกคันควรจะมีติดตั้งเอาไว้ใช้งาน เพื่อช่วยเป็นหลักฐานในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ต่างด้านหน้า ด้านหลังรถของเรา

หรือบางครั้งก็เป็นประโยชน์ให้กับเพื่อนร่วมเดินทางในท้องถนนได้ด้วย และช่วยเจ้าหน้าที่ บริษัทประกันได้เป็นอย่างดี จึงเห็นได้ว่ากล้องวงจรปิในรถยนต์กลายเป็นพระเอกช่วยเราได้เป็นอย่างมาก

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

กล้องติดรถยนต์

มีให้เราเลือกใช้งานเป็นจำนวนมาก ทั้งราคาถูกและราคาแพงและความคมชัดของภาพที่จะได้รับ ควรมีติดเอาไว้ใช้งานกับรถทุกๆ คัน นอกจากจะต้องดูแลความพร้อมของรถทั้งภายในและภายนอกตัวรถ

นอกจากรถของท่านจะมี กล้องติดรถยนต์ หรือ กล้องวงจรปิด แล้ว ยังเป็นนักขับรถที่ดี และ รู้วิธีขับรถเชิงป้องกันอุบัติเหตุแล้ว การตรวจสภาพ และ

บำรุงรักษารถยนต์เป็นประจำ เพื่อ ความพร้อมของรถ  ก็เป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ทั้งค่าซ่อม และ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงได้มาก

ติดกล้องในรถ

การตรวจสอบสภาพรถยนต์ก่อนใช้งาน ด้วยคำนิยามง่าย ๆ คือ BE-WAGON

  • B (Brake) ตรวจระกับ น้ำมันคลัตช์ และ เบรกมือ

  • E (Electricity) ตรวจระดับน้ำกลั่นในแบตเตอรี่ และ ระบบไปแสงสว่าง

  • W (Water) ตรวจระดับน้ำในหม้อน้ำ และ หม้อพัก ระดับน้ำในถังน้ำฉีดกระจก ท่อยาง ฝาหม้อน้ำ และ สายพานทุกเส้น

  • A (Air) ตรวจลมยาง สภาพดอกยาง และ ยางอะไหล่

  • G (Gasoline) ตรวจน้ำมันเชื้อเพลิงในถัง และ ไส้กรองอากาศ

  • O (Oils) ตรวจระดับน้ำมันเครื่อง น้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์ และ น้ำมันเกียร์อัตโนมัติ

  • N (Noise) ตรวจเสียงดังต่าง ๆ ได้แก่ เสียงลูกปืนดัง เสียงสายพานดัง และ เสียงท่อไอเสียรั่ว


กล้องในรถ

การตรวจสภาพรถยนต์ก่อนใช้งาน

ท่านในฐานะผู้ขับขี่จำเป็นต้องตรวจสภาพรถก่อนใช้งานทุกครั้ง อุบัติเหตุทางรถยนต์ส่วนหนึ่งเกิดจากสภาพรถไม่พร้อม เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจ ผู้เขียนขอใช้คำว่า  Be-WAGON แปลง่าย ๆ ว่าทำให้เป็นรถเสียก่อน

  1. ตรวจระบบเบรก (B = Brake)

    • ระดับน้ำมันเบรก และ สภาพ น้ำมันเบรกที่ใช้ DOT 3 หรือ DOT 4

    • ระดับน้ำมันคลัตช์ และ สภาพ

    • รอยรั่วซึมของน้ำมันเบรก และ น้ำมันคลัตช์

    • เบรกมือ

  2. ตรวจระบบไฟฟ้า (E-Electricity)

    • ระดับน้ำกรดในแบตเตอรี่

    • ขั้วแบตเตอรี่ สายรัด และ ยางรอง

    • ไฟสูง / ไฟต่ำ / ไฟท้าย / ไฟเบรก / ไฟเลี้ยว / ไฟถอยหลัง / ไฟฉุกเฉิน / ไฟตัดหมอก / ไฟเก๋ง

    • แตร สภาพใบปัดน้ำฝน ที่ฉีดน้ำล้างกระจก และ ระดับน้ำฉีดกระจก

  3. ตรวจระบบน้ำหล่อเย็น (W = Water)

    • ระดับน้ำในหม้อน้ำ และ ถังพักน้ำสำรอง

    • สภาพท่อยางหม้อน้ำ

    • สภาพฝาปิดหม้อน้ำ

    • ความตึงของสายพาน (ขณะติดเครื่องยนต์)

  4. ตรวจลมยาง  (A = Air)

    • ความลึกของดอกยาง

    • การสึกหรอของดอกยาง และ สภาพแก้มยาง

    • ความดันลมยางตามคู่มือ

    • ฝาปิดจุ๊บเติมลม

    • วันผลิตยาง


      สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

      Line: @cctvbangkok.com
      ติดต่อทางเมลส์
      ติดต่อเฟสบุค
      ติดต่อยูทูป

      HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

       

  5. ตรวจระบบน้ำมันเชื้อเพลิง (G = Gasoline)

    • รอยรั่วซึมของน้ำมันเชื้อเพลิงตามจุดต่าง ๆ

    • ระดับน้ำในหม้อกรองดักน้ำ (เครื่องยนต์ดีเซล)

    • สภาพไส้กรองอากาศ

    • สีควันไอเสีย (ติดเครื่องยนต์)

  6. ตรวจน้ำมันหล่อลื่น (0= Oils)

    • ระดับน้ำมันเครื่อง

    • ระดับน้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์

    • ระดับน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ

    • รอยรั่วซึมของน้ำมันเครื่องตามจุดต่าง ๆ

  7. ตรวจเสียงดังต่าง ๆ (N = Noise)

    • เสียงดังผิดปกติตามจุดต่าง ๆ

    • สภาพยางแท่นเครื่อง (ติดเครื่องยนต์)

    • สภาพท่อไอเสีย

  8. อื่น ๆ ได้แก่ ตรวจช่วงล่าง แล้วติดเครื่องยนต์ จากนั้นหมุนพวงมาลัยไปทางซ้ายสุด และ ขวาสุด

    • ตรวจสอบสภาพท่ออ่อนเบรก

    • ตรวจสภาพยางหุ้มเพลาขับ / ยางหุ้มระบบบังคับเลี้ยว (ยางหุ้มแรค) / ยางกันกระแทก / ยางรองรับเหล็กกันโคลง

    • ตรวจสภาพลูกหมาก และ ยางกันฝุ่น

    • ตรวจสภาพโช้กอัป

กล้องติดรถยนต์ไร้สาย

การเตรียมตัวก่อนออกรถ

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

 


การเตรียมตัวก่อนออกรถ หรือ เรียกง่าย ๆ ว่าบัญญัติ 9 ประการก่อนออกรถ มีขั้นตอนต่อไปนี้

 

  1. เช็ดกระจกทุกบ่นให้ใสสะอาด ก่อนขับรถทุกครั้งจะต้องเดินดูรอบรถ สังเกตความดันลมยางแต่ละล้อ ตรวจดูว่าตัวถังมีรอยบุบ รอยถลอกตรงจุดไหนบ้าง โคมไฟสัญญาณแตกร้าว หรือ ไม่

    บางท่านนำรถไปจอดไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ โดนชน หรือ โดนเบียด บางทียังไม่รู้ว่ารถตัวเองถูกชนตั้งแต่เมื่อไร ? และ ที่สำคัญก็คือ ต้องเช็คกระจกทุกบานให้ใสสะอาด เพราะกระจกมีผลต่อการสังเกตการณ์

    ทดลองใช้นิ้วมือเขียนชื่อของท่านที่กระจก ถ้าเขียนแล้วอ่านชื่อท่านไม่ออก ถือว่าใช้ได้ แต่ถ้าอ่านชื่อท่าออกก็ต้องเช็ดให้สะอาด

  2. ล็อคประตูทุกบาน รถบางคันเหยียบเบรก แล้วประตูล็อค  บางคันขณะวิ่งแล้ว ล็อคอัตโนมัติ แต่เพื่อความไม่ประมาท ควรล็อคด้วยมือจะดีกว่า

  3. ปรับเบาะที่นั่งให้เหมาะสม เพื่อให้มองเห็นทัศนวิสัยข้างหน้าได้อย่างชัดเจน

  4. ปรับกระจกส่องข้าง และ กระจกส่องหลัง เพื่อขจัดจุดบอดก่อนเริ่มทำการขับขี่

  5. .คาดเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง หรือ ก่อนออกรถ


    กล้องติดรถยนต์รุ่นไหนดี

  6. เตรียมตัวสตาร์ทเครื่องยนต์

    ก่อนสตาร์ทเครื่องยนต์ ให้ดึงเบรกมือ เข้าเกียร์ว่าง และ เหยียบคลัตช์ ถ้าเป็นเกียร์อัตโนมัติเข้า N หรือ P แล้วเหยียบเบรกเท้า จากนั้นปิดสวิตช์กุญแจไปที่ตำแหน่ง ON ตรวจเกจวัด และ ไฟเตือนต่าง ๆ แล้วจึงสตาร์ตเครื่อง

    คำเตือน ขณะสตาร์ทรถ ไม่ควรยืนอยู่ภายนอก และ ใช้มือล้วงเข้าไปบิดสวิตช์กุญแจ เพื่อสตาร์ตเครื่องโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ เนื่องจากผู้ขับขี่บางท่าน

    จอดรถคาเกียร์ไว้ และ ไม่ได้ดึงเบรกมือ พอสตาร์ทเครื่องจะทำให้รถวิ่งได้  รถในต่างประเทศ เขาบังคับให้ผู้ขับขี่ต้องเหยียบคลัตช์ขณะสตาร์ท และ ถ้าเป็นรถเกียรอัตโนมัติ ผู้ขับขี่จะต้องเหยียบเบรกเท้า มิฉะนั้นเครื่องยนต์จะสตาร์ทไม่ติด

  7. ตรวจเกจวัด และ ไฟเตือนต่าง ๆ อีกครั้ง

 

สรุป

กล้องติดรถยนต์ เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องมีเอาไว้ใช้งานในรถยนต์ นอกจากเราจะต้องดูแลความพร้อมของสภาพรถยนต์แล้ว เราต้องพร้อมให้กล้องทำงานตลอดเวลาที่อยู่บนท้องถนนด้วยเช่นกัน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *