วิธีการติดตั้งกล้องวงจรปิด

วิธีการติดตั้งกล้องวงจรปิด เพื่อไม่ให้เกิดอันตราย

การวางแผนการปฏิบัติงานและการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานในที่อับอากาศ การทำงานในที่อับอากาศที่มีความเสี่ยงสูงจะก่อให้เกิดอันตรายจากการทำงานมากกว่าการทำงานในพื้นที่ทั่วไป   

กฎหมายได้กำหนดให้เป็น  หน้าที่ของผู้ควบคุมงาน   ที่จะต้องทำการวางแผนการทำงานและการป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงานในที่อับอากาศ   

แต่ภาระหน้าที่ในการวางแผนการทำงานและป้องกันอันตรายในที่อับอากาศควรเป็นหน้าที่ของทุกคนที่เกี่ยวข้องที่จะต้องร่วมกันวางแผนในการทำงาน  

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

วิธีการติดตั้งกล้องวงจรปิด

การเลือกซื้อกล้องวงจรปิด

เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ  ผู้ที่เกี่ยวข้องได้แก่

  1. นายจ้างหรือผู้ที่นายจ้างมอบหมาย   นายจ้างมีหน้าที่รับผิดชอบโดยรวมในการบริหารจัดการความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ

  2. จป.   วิชาชีพ   หรือ  จป.  เทคนิคชั้นสูง

  3. ผู้ปฏิบัติงาน

  4. ผู้ควบคุมงาน  

  5. หัวหน้างานในพื้นที่   กรณีผู้ควบคุมงานไม่ใช่หัวหน้างานในพื้นที่

  6. ผู้ช่วยเหลือ

  7. ผู้อนุญาต

  8. ทีมฉุกเฉิน


การวางแผนปฏิบัติการหรือแผนปฏิบัติงาน

                 การจัดทำแผนโดยมีการวิเคราะห์สถานการณ์    การกำหนดวัตถุประสงค์  และเป้าหมายของงานที่จะต้องทำ    รวมทั้งจัดทำรายละเอียดของกรดำเนินงานไว้ด้วย    โดยต้องสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์และนโยบายขององค์กร

สาเหตุที่ต้องวางแผนการปฏิบัติงาน

  1. เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติงาน

  2. เพื่อกำหนดลำดับความสำคัญของการปฏิบัติงาน

  3. เพื่อเชื่อมโยงงานที่ต้องการปฏิบัติให้มีความสอดคล้องนำไปสู่การปฏิบัติหรือการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ลดการซ้ำซ้อนของงาน

  4. บรหารทรัพยาการ  /  เวลาที่จะใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  5. ช่วยให้เกิดความปลอดภัยและลดความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้น

  6. ผู้บริหารสามารถตรวจสอบความสำเร็จของโครงการเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

 

แผนปฏิบัติงานที่ต้องจัดทำ

                โดยทั่วไปในการจัดทำแผนปฏิบัติงาน บุคคลที่ต้องเกี่ยวข้องจะต้องร่วมกันวางแผนจะต้องเริ่มต้นด้วยการกำหนดการทำงานขึ้นมาเพื่อให้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนการทำงาน 

ผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมกันวางแผนในการทำงานได้แก่

  1. จป.  วิชาชีพ  หรือ  จป.  เทคนิคชั้นสูง

  2. ผู้ควบคุมงานการปฏิบัติงานในที่อับอากาศ

  3. หัวหน้างานในพื้นที่นั้น   กรณีผู้ควบคุมงานไม่ใช้หัวหน้างานในพื้นที่นั้น

  4. ผู้ช่วยเหลือ

  5. ผู้ปฏิบัติงาน

  6. ผู้อนุญาต

แผนปฏิบัติงานประกอบด้วย

  1. ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติงาน

  2. งานที่ได้รับมอบหมายคืองานอะไร   และจะต้องทำอะไรบ้าง

  3. สถานที่ปฏิบัติงาน

  4. กำหนดวิธีการดำเนินงาน

  5. ต้นทุน  /  ค่าใช้จ่าย  /  บุคลากร  /  เครื่องมือในการดำเนินการ   มากน้อยเท่าไหร

  6. หลักการและเหตุผล    สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนโยบายขององค์กร

  7. วัตถุประสงค์

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

 

แผนปฏิบัติงานที่จัดทำไว้แล้วเมื่อนำไปปฏิบัติจะรู้ได้อย่างไรว่าดีเพียงพอหรือไม่

                       การดำเนินการตามแผนก่อนลงมือจะต้องมีการซักซ้อมแผน  เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันในระหว่างผู้รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอนเพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้เกี่ยวข้องว่าสามารถทำงานนั้นได้อย่างไร 

และถูกต้อง ในระหว่างการทำงานจะต้องมีมาตรการการควบคุมให้มีการทำงานตามแผนงานที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด   เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด

การจัดเตรียมแผนปฏิบัติงานที่ดีจะต้องดำเนินการใน  6  เรื่อง  ดังนี้

  1. การวิเคราะห์สถานการณ์  โดยใช้หลักวิเคราะห์ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและปัจจุบันของหน่วยงานว่ามีจุดแข็งหรือศักยภาพอย่างไร   มีจุดอ่อนหรือปัญหาอะไรที่ต้องแก้ไข  

    ตลอดจนวิเคราะห์ขีดความสามารถในการขยายตัวหรือการพัฒนา   รวมทั้งอุปสรรคหรือข้อจำกัดที่เกิดขึ้น   การรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์  

    จึงมีความสำคัญและจำเป็นมากในการวิเคราะห์ให้นำผลการชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยงในการทำงานในที่อับอากาศมาใช้  

  2. การกำหนดวัตถุประสงค์  เมื่อทราบปัญหา โอกาสและข้อจำกัด  ผู้วางแผนจะกำหนดวัตถุประสงค์ หรือทิศทางที่จะดำเนินการ โดยการกำหนดวัตถุประสงค์ ดังนี้ 

    จะต้องชัดเจน, สาเหตุวัดได้,  และสามารถปฏิบัติได้,   และตลอดจนสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

  3. กำหนดกลยุทธ์  ขั้นตอนนี้ประกอบด้วยการคิดค้นวิธีการหรือแนวทางปฏิบัติ เพื่อทำให้วัตถุประสงค์บรรลุ อาจมีทางเลือกได้หลายแนวทาง 

    มีข้อดีและข้อเสีย และผลตอบแทนที่แตกต่างกัน จึงต้องเลือกแนวทางหรือกลยุทธที่เหมาะสมที่สุด

  4. กำหนดแผนการดำเนินงาน  กำหนดวัตถุประสงค์และกลยุทธแล้ว  จะกำหนดแผนการดำเนินงาน คือ การกำหนดว่าจะทำอะไรใครเป็นผู้ดำเนินการ ทำเมื่อไร เสร็จเมื่อไร  ทำที่ไหนใช้ทรัพยากร หรืองบประมาณเท่าไร

  5. กำหนดทรัพยากรที่ต้องการ กำหนดแผนการดำเนินงานแล้ว ต้องพิจารณาทรัพยากรที่ต้องการใช้ ไม่ว่าทรัพยากรด้านการเงิน หรือ ทรัพยากรบุคคล 

    จึงเป็นข้อจำกัดและกำหนดขอบเขตของแผน แผนที่ปราศจากทรัพยากร หรืองบประมาณก็เหมือนกับร่างกายที่ปราศจากเลือดหล่อเลี้ยงร่างกาย

  6. การประเมินและอนุมัติแผน  ก่อนมีการใช้ทรัพยากรในกิจกรรมใด หรือโครงการใดก็ตามจะต้องมีการวิเคราะห์และประเมิน

    เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า จะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพ หรือคุ้มค่า บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้ดีที่สุด

    การวิเคราะห์และประเมินโครงการ ยังสามารถนำมาใช้เพื่อการคัดเลือก และจัดลำดับความสำคัญของโครงการเพื่อบรรจุไว้ในแผนอีกด้วย

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

 

ลักษณะของแผนที่ดี

  • ความครอบคลุม ควรครอบคลุมไปถึงหน้าที่ต่างๆ   และระดับต่างๆ ทั่วทั้งองค์การเพื่อเป้าหมายขององค์การเดียวกัน

  • ความสัมพันธ์ ต้องลดความซ้ำซ้อน  มีการประสานสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานต่างๆ  ที่มาร่วมกันทำงาน

  • ความชัดเจน  แผนที่จัดทำขึ้นจะต้องชัดว่าใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร อยู่ในความรับผิดชอบของใคร

  • ระยะเวลาของแผน จะต้องกำหนดให้แน่นอนว่าเริ่มต้นและสิ้นสุดเมื่อใด

  • ความเป็นพิธีการ การจัดทำแผนต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ ตามลำดับตั้งแต่การเตรียมการวิเคราะห์ข้อมูล ทำแผน นำแผนไปปฏิบัติ และประเมินผล

  • ความมีเหตุผล ควรกำหนดขึ้นอย่างมีเหตุมีผล สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง  มีแนวทางที่จะนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้

  • ความสอดคล้อง แผนที่ดีควรอยู่ในกรอบหรือสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนโยบายสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้

  • ความต่อเนื่อง หมายถึง ความต่อเนื่องกับแผนอื่น และต่อเนื่องในกระบวนการจัดองค์การด้วยรวมทั้งมีการประเมินแผนที่ปฏิบัติไปแล้วและนำผลประเมินมาปรับปรุงใหม่

 

กล้องราคาถูก

แผนปฏิบัติงานในที่อับอากาศ

                    การกำหนดมาตรฐานตามกฎกระทรวงในการบริหารและจัดการความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ 

ห้ามนายจ้างให้   “ลูกจ้างหรือบุคคลใดเข้าไปในที่อับอากาศ” เว้นแต่นายจ้างได้ดำเนินการให้มีความปลอดภัยตามกฎกระทรวงแล้ว

กรณีที่นายจ้างให้  “ลูกจ้างทำงานในที่อับอากาศให้นายจ้างแต่งตั้งลูกจ้างที่มีความรู้ความสามารถและได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงาน”   

ในที่อับอากาศให้เป็นผู้ควบคุมงานหนึ่งคนหรือหลายคนตามความจำเป็นเพื่อทำหน้าที่   “วางแผนการปฏิบัติงานและการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานและปิดประกาศ

หรือแจ้งให้ลูกจ้างทราบเป็นลายลักษณ์อักษร” เพื่อให้หน่วยงานได้ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้ และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายความปลอดภัย 

อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงานที่ต้องการให้ไม่ให้ผู้ทำงานทุกคนที่เกี่ยวข้องได้รับอุบัติเหตุจากการทำงาน

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานในที่อับอากาศ

  2. เพื่อให้พนักงานและผู้รับเหมามีความมั่นใจในระบบการบริหารความปลอดภัยขององค์กร

  3. เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย

มาตรการป้องกันอันตรายในที่อับอากาศ

                  หลักการป้องกันอันตรายจากการทำงานในที่อับอากาศ  เป็นมาตรการหลักเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติงานที่ปลอดภัยในที่อับอากาศ

สำหรับการป้องกันอันตรายในแต่ละกิจกรรมของงานที่ทำในที่อับอากาศนั้นจะต้องได้จากการชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยง

ผู้ที่ต้องเข้าไปทำงานในที่อับอากาศ ต้องตรวจสอบว่ามี 6  สิ่งนี้หรือไม่

  1. ได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ  สอดคล้องกับหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ผู้ปฏิบัติงาน, ผู้ควบคุมงาน, ผู้ช่วยเหลือ, ผู้อนุญาต

  2. เข้าใจวิธีการปฏิบัติตามแผนการทำงานที่ผู้ควบคุมงานกำหนดไว้และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

  3. มีการตรวจสอบสภาพแวดล้อมในการทำงานเพื่อประเมินอันตราย ทั้งก่อนเข้าไป  และตรวจเป็นระยะ  ตลอดเวลาที่มีผู้ทำงาน  

    เพื่อหาประมาณก๊าซ/สารพิษ ว่าไม่เกินมาตรฐานความปลอดภัย มีก๊าซออกซิเจนในระดับที่เพียงพอ และไอระเหยของสารไวไฟอยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดการลุกไหม้ หรือระเบิดขึ้นได้

  4. มีและใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลอย่างเหมาะสมและครบถ้วนตามข้อกำหนด

  5. จัดให้มีผู้ช่วยเหลือที่มีคุณสมบัติพร้อมอยู่ด้านนอกตลอดเวลาที่จะสามารถติดต่อสื่อสารกัน พร้อมใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือที่จัดเตรียมไว้อย่างครบถ้วน

    และมีทักษะที่ได้รับการฝึกฝนเป็นอย่างดี ที่จะช่วยเหลือได้ทันทีเมื่อเกิดเหตุผิดปกติขึ้น

  6. มีระบบการจัดการระบายอากาศในสถานที่อับอากาศนั้น เพื่อให้สภาพอากาศนั้นไม่เป็นอันตรายรวมทั้งมีมาตรการป้องกันอันตรายจากภายนอก เข้าสู่ที่อับอากาศด้วย

 

 

Related link : ช่างติดตั้งรั้วไฟฟ้า    ร้านจำหน่ายสัญญาณกันขโมย

 

สอบถามข้อมูล  สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา

Line: @cctvbangkok.com
ติดต่อทางเมลส์
ติดต่อเฟสบุค
ติดต่อยูทูป

HOT LINE : 081-700-4715, 089-815-7321, 081-721-5542

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *