กล้องวงจรปิดต่อคอม

กล้องวงจรปิดต่อคอม Cybercrime จ้องโจมตีผู้ใช้งาน Cloud ทั้งคอมพิวเตอร์องค์กร-ส่วนตัว

กล้องวงจรปิดต่อคอม Cybercrime จ้องโจมตีผู้ใช้งาน Cloud ทั้งคอมพิวเตอร์องค์กร-ส่วนตัว

กล้องวงจรปิดต่อคอม ถึงแม้ว่าบริการจัดเก็บข้อมูลในระบบคลาวด์ (Cloud) จะได้รับความนิยมมาอย่างช้านานในบรรดาผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ด้วยความสะดวกสบายจากการใช้งานที่หลากหลาย แต่หารู้ไม่ว่าอาจกลายมาเป็นการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงโดยไม่รู้ตัว เช่น ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตบางคนที่มักทำตามคำแนะนำของกูรูด้านไอที ด้วยการสแกนหลักฐานสำคัญ หรือ พาสปอร์ตต่าง ๆ แล้วอัพโหลดขึ้นเก็บไว้ในคลาวด์ ซึ่งอาจจะสะดวกสบาย แต่ในอีกแง่หนึ่งการกระทำดังกล่าวอาจกลายเป็นช่องโหว่ที่จะนำไปสู่ความไม่ปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลได้ Cybercrime จ้องโจมตีผู้ใช้งาน Cloud ทั้งคอมพิวเตอร์องค์กร และ ส่วนตัว

กล้องวงจรปิดต่อคอม Cybercrime จ้องโจมตีผู้ใช้งาน Cloud ทั้งคอมพิวเตอร์องค์กร-ส่วนตัว

ขณะเดียวกันการใช้งานเทคโนโลยีคลาวด์สำหรับวัตถุประสงค์อื่น ๆ ที่นอกเหนือจากความสามารถโดยทั่วไปของคลาวด์อาจยิ่งนำพาความอันตรายมามากกว่าเดิม เช่น ในปัจจุบันการใช้ หรือ หาชุดคำสั่งที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของคอมพิวเตอร์ให้ทำงานได้ผลมากยิ่งขึ้นไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อการควบคุมระยะไกล และ การตรวจสอบการทำงานของเครื่อง และ การควบคุมการดาวน์โหลดต่าง ๆ เป็นต้น

ด้วยการกระทำที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ผู้ใช้งานอาจสร้างช่องโหว่ที่ก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยในหลายรูปแบบโดยไม่รู้ตัว หนึ่งในนั้นคือ การก่อให้เกิดอาชญากรรมไซเบอร์ (Cybercrime) นั่นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นกรณีที่อาชญากรไซเบอร์มีการกำหนดเป้าหมายในการโจมตีอย่างชัดเจน เพราะฉะนั้น “แคสเปอร์สกี้ แลป” จึงตัดสินใจที่จะติดตามปัญหาที่เกิดขึ้นในเครือข่ายของบริษัท ซึ่งเกิดขึ้นจากการใช้งานคลาวด์

กล้องวงจรปิด CCTV บทความ Cybercrime จ้องโจมตีผู้ใช้งาน Cloud ทั้งคอมพิวเตอร์องค์กร-ส่วนตัว

หนึ่งในสถานการณ์อันเป็นสาเหตุที่ทำให้อาชญากรรมไซเบอร์เพิ่มขึ้นในคอมพิวเตอร์ส่วนตัวของบรรดาพนักงานบริษัทคือ การติดไวรัสมาจากการใช้งาน Dropbox เมื่อใช้คอมพิวเตอร์จากที่ต่าง ๆ นอกจากบ้านของตนเอง หากไฟล์เอกสารที่อัพโหลดขึ้นไปในคลาวด์โฟลเดอร์มีไวรัส Dropbox จะคัดลอกไฟล์อัตโนมัติไปยังไฟล์อื่น ๆ ที่เชื่อมต่อกันอยู่ในเครือข่าย

การแพร่กระจายลักษณะนี้ไม่จำกัดเฉพาะ Dropbox เท่านั้น แต่ยังรวมถึงแอพพลิเคชั่นสำหรับคลาวด์สตอเรจอื่น ๆ ด้วย เช่น Onedrive (หรือ Skydrive), Google Disk, Yandex Disk เป็นต้น แอพพลิเคชั่นเหล่านี้มีความสามารถในการซิงค์ข้อมูลอัตโนมัติ ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้ แลป จึงมุ่งมั่นหาวิธีการแพร่กระจายมัลแวร์ที่อาชญากรไซเบอร์ใช้

จากการรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้งานของแคสเปอร์สกี้ แลป นักวิเคราะห์ระบุว่า มัลแวร์ (Malware) ที่พบในคลาวด์โฟลเดอร์จากคอมพิวเตอร์ในบ้านกว่า 30% เกิดจากการกลไกการทำงานของระบบซิงค์ข้อมูลในคลาวด์ และ พบในคอมพิวเตอร์ของบริษัทสูงถึง 50% ซึ่งแสดงถึงข้อแตกต่างระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์บริษัท และ คอมพิวเตอร์ตามบ้าน กล่าวคือ คอมพิวเตอร์บริษัทจะมีการแพร่กระจายมัลแวร์ในโฟลเดอร์ของคลาวด์จาก Microsoft Office ขณะที่คอมพิวเตอร์ตามบ้านได้รับมัลแวร์จากแอพพลิเคชั่นมัลแวร์แฝงในระบบแอนดรอยด์เสียส่วนมาก

กล้องวงจรปิดต่อคอม Cybercrime จ้องโจมตีผู้ใช้งาน Cloud ทั้งคอมพิวเตอร์องค์กร-ส่วนตัว

การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติพบว่าอันตรายจากเครือข่ายข้อมูลคอมพิวเตอร์ภายในองค์กรมีการแพร่กระจายผ่านทางคลาวด์สตอเรจในระดับที่ค่อนข้างต่ำ กล่าวคือ ภายในช่วง 1 ปี พบการแพร่กระจายมัลแวร์ หรือ ไวรัสจากผู้ใช้งานในองค์กรบริษัทเพียง 1 ใน 1,000 คนเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม การแพร่กระจายไวรัสจากคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เครือข่ายทั้งระบบเกิดความเสียหายรุนแรงได้ วิธีการป้องกันคือ การกำหนดค่าไฟร์วอล (firewall) ให้มีการจำกัดการเข้าถึงจากการให้บริการเหล่านี้ โดยต้องให้อัพเดทการตั้งค่าของไฟร์วอลอยู่ตลอดเวลา

“คำแนะนำทั่วไปสำหรับผู้ดูแลระบบในกรณีนี้คือ ในคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายต้องมีการติดตั้งโปรแกรมระบบความปลอดภัยตัวเต็มที่ มีการให้คำแนะนำในการใช้งานที่ถูกต้องเหมาะสม การป้องกันไวรัส การควบคุมการเข้าถึง การควบคุมระบบปฏิบัติการ และ การป้องกันการแพร่มัลแวร์ผ่านช่องโหว่ ฯลฯ”

ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สูงสุดรวมถึงการแก้ไขปัญหาในแต่ละองค์กร ควรเพิ่มในส่วนของซอฟต์แวร์ที่สามารถบล็อกการรันโปรแกรมที่ไม่ได้รับอนุญาตการติดตั้งจากผู้ดูแลระบบด้วย โดย Application Control จะป้องกันระบบเครือข่ายในระดับองค์กรจากการจู่โจมของมัลแวร์ หรือ ไวรัสต่าง ๆ ผ่านทาง Dropbox ที่ผู้ใช้งานไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยนั่นเอง

ส่วนระบบคลาวด์เกี่ยวข้องกับ “กล้องวงจรปิด (CCTV)” อย่างไรนั้นเป็นการเกี่ยวพันในงานด้านระบบความปลอดภัย เนื่องจากธุรกิจ หรือ บริษัทที่เกี่ยวข้องกล้องวงจรปิดหลายแห่งได้มีการพัฒนาโซลูซั่น (Solution) ของกล้องไอพีให้รองรับการทำงานร่วมกับคลาวด์ คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ในการจัดเก็บข้อมูลจากกล้องวงจรปิด ทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องกังวลเรื่องการสูญหาย หรือ ถูกทำลายของข้อมูลอีกต่อไป

Related link :เว็บขายกล้อง รายได้เข้า ตำรวจเน้นใช้กล้อง CCTV วงจรปิดจับภาพจับจริง 5 จอมทั่วประเทศ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *