ระเบียบการขอข้อมูลกล้องวงจรปิด

ระเบียบการขอข้อมูลกล้องวงจรปิด ปชช.ขอข้อมูลจาก กล้องโทรทัศน์วงจรปิด CCTV

ระเบียบการขอข้อมูลกล้องวงจรปิด ปชช.ขอข้อมูลจาก กล้องโทรทัศน์วงจรปิด CCTV พุ่ง

กทม.สบช่องจ้างเหมาติดตั้งเพิ่มหลายพื้นที่

ระเบียบการขอข้อมูลกล้องวงจรปิด สำนักการจราจร และ ขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ กทม.โดย สจส.อยู่ระหว่างจ้างเหมาเชื่อมโยงสัญญาณภาพ “ กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV)” พร้อมติดตั้งสายเคเบิ้ลเส้นใยนำแสงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ CCTV กล้องวงจรปิดไปยังกองบังคับการตำรวจนครบาล ทั้ง 9 แห่ง และ ศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์ตามร่างขอบเขตของงาน และ ร่างเอกสารการประมูลจ้าง (วันที่ประกาศ 30 พฤษภาคม 2557 วันสิ้นสุดรับฟังคำวิจารณ์ 4 มิถุนายน 2557) วงเงิน 11,764,000 ล้านบาท

ระเบียบการขอข้อมูลกล้องวงจรปิด ปชช.ขอข้อมูลจาก กล้องโทรทัศน์วงจรปิด CCTV

นอกจากนี้ กทม.ยังจ้างเหมาปรับปรุงระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด พร้อมระบบบริหารการจัดการบริเวณโดยรอบเขตพระราชฐาน วงเงิน 57,636,00 ล้านบาท แบ่งเป็นพื้นที่

  1. บริเวณพระบรมราชวัง ติดตั้ง CCTV พร้อมอุปกรณ์ขนาด จำนวน 54 ชุด
  2. พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ติดตั้ง CCTV พร้อมอุปกรณ์ 102 ชุด
  3. วังสระปทุม ติดตั้ง CCTV พร้อมอุปกรณ์ 39 ชุด

โดยความละเอียดขอลงกล้องอยู่ที่ 5 Mega Pixe แบบ Fix IP Camera ชนิด Day/Night Mode

ทางด้านนายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าฯกทม. เปิดเผยว่า กทม. ได้เปิดให้ประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ต่าง ๆ เข้ามาขอดูข้อมูล ภาพจาก CCTV นั้นว่า ปรากฏว่าตั้งแต่เดือน มิ.ย.-ธ.ค.2556 มีผู้ที่ขอข้อมูลภาพทั้งหมด 2,741 ราย ได้รับข้อมูลภาพ 1,972 ราย คิดเป็น 71.94% และไม่ได้รับข้อมูลภาพ 796 ราย คิดเป็น 28.06%

ส่วนสาเหตุที่ไม่ได้รับภาพ เนื่องจากบางจุดเป็นกล้องติดตั้งใหม่ ยังไม่บรรจบไฟฟ้า มุมมองภาพไม่ได้ หรือ ภาพถูกบันทึกทับไปแล้ว ระบบจ่ายกระแสไฟฟ้าขัดข้อง หรือ Hard disk สูญหาย

กล้องวงจรปิด CCTV บทความ ปชช.ขอข้อมูลจาก กล้องโทรทัศน์วงจรปิด CCTV

อย่างไรก็ดี จากสถิติที่มีประชาชนมาขอข้อมูลมีสัดส่วนของผู้ได้รับข้อมูลเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากกทม.ได้ทยอยติดตั้งกล้องเพิ่มเติมตามนโยบายกรุงเทพฯ มหานครปลอดภัย ของ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการฯกทม.

โดยปัจจุบันกรุงเทพมหานคร มีกล้อง CCTV ที่ติดตั้งไปทั้งหมด 47,668 กล้อง พร้อมทั้งจัดเตรียมเจ้าหน้าที่ดูแลระบบกล้อง CCTV และ ทีมบำรุงรักษาประจำตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความปลอดภัยในชีวิต และ ทรัพย์สินของประชาชน

ระเบียบการขอข้อมูลกล้องวงจรปิด ปชช.ขอข้อมูลจาก กล้องโทรทัศน์วงจรปิด CCTV

สำหรับสถิติการขอข้อมูลภาพจากกล้อง CCTV แต่ละเดือนมีดังนี้ เดือน มิ.ย.56 ขอข้อมูลภาพ 264 ราย ได้รับข้อมูลภาพ 174 ราย ไม่ได้รับข้อมูลภาพ 90 ราย เดือน ก.ค.56 ขอข้อมูลภาพ 434 ราย ได้รับข้อมูลภาพ 264 ราย ไม่ได้รับข้อมูลภาพ 170 ราย เดือนส.ค.56 ขอข้อมูลภาพ 383 ราย ได้รับข้อมูลภาพ 239 ราย ไม่ได้รับข้อมูลภาพ 144 ราย เดือน ก.ย.56 ขอข้อมูลภาพ 439 ราย ได้รับข้อมูลภาพ 271 ราย ไม่ได้รับข้อมูลภาพ 168 เดือน ต.ค.56 ขอรับข้อมูลภาพ 461 ราย ได้รับข้อมูลภาพ 374 ราย ไม่ได้รับข้อมูลภาพ 87 ราย เดือน พ.ย.56 ขอรับข้อมูลภาพ 383 ราย ได้รับข้อมูลภาพ 314 ราย ไม่ได้รับข้อมูลภาพ 47 ราย และ เดือน ธ.ค.56 ขอข้อมูลภาพ 377 ราย ได้รับข้อมูลภาพ 314 ราย ไม่ได้รับข้อมูลภาพ 63 ราย

กทม. โดยกองพัฒนาระบบจราจร สังกัด สจส. ได้ดำเนินการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) แล้วเสร็จ 20,345 กล้อง อยู่ในความรับผิดชอบของ สจส. แบ่งเป็นกล้อง CCTV เพื่อการจราจร จำนวน 438 กล้อง กล้อง CCTV เพื่อความปลอดภัย 13,923 กล้อง อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักการศึกษา ภายในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 4,022 กล้อง อยู่ในความรับผิดชอบหน่วยงานอื่น ๆ ของกรุงเทพมหานคร ภายในอาคารสำนักงานต่าง ๆ 623 กล้อง

กล้องวงจรปิด CCTV บทความ ปชช.ขอข้อมูลจาก กล้องโทรทัศน์วงจรปิด CCTV

และ อยู่ในโครงการรถไฟฟ้า BTS และ โครงการเมล์ด่วนพิเศษ ( BRT) จำนวน 1,339 กล้อง นอกจากนี้ยังมีกล้อง CCTV ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการติดตั้งของสำนักการจราจร และ ขนส่ง 27,063 กล้อง แบ่งเป็นติดตั้งพร้อมเชื่อมโยงแล้ว 3,423 กล้อง อยู่ในระหว่างดำเนินการติดตั้ง 280 กล้อง ติดตั้งแบบ Standalone (บันทึกภาพที่ตัวกล้อง) 23,820 กล้อง ติดตั้งแล้วเสร็จ 19,524 กล้อง อยู่ในระหว่างดำเนินการติดตั้ง 4,296 กล้อง

“สำหรับการขอข้อมูลภาพจากกล้อง CCTV ผู้เสียหายสามารถแจ้งความประสงค์ขอดูภาพได้ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) โดยให้ผู้เสียหาย หรือ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาตรวจสอบภาพเหตุการณ์ก่อนได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่จะได้บันทึกภาพข้อมูลเหตุการณ์ช่วงที่เกิดเหตุไว้ก่อน เพื่อป้องกันการลบทับของข้อมูลหากเวลาล่วงเลยไป”

ทั้งหนี้ เจ้าหน้าที่จะจดรายละเอียดข้อมูลส่วนตัว บัตรประจำตัวประชาชน และ หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ของผู้ที่ตรวจสอบภาพเหตุการณ์ หากผู้เสียหาย หรือ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต้องการสำเนาบันทึกภาพจากกล้อง CCTV จะต้องมีหนังสือเป็นทางการจากสถานีตำรวจนครบาล ในพื้นที่เกิดเหตุ

โดยในหนังสือจะต้องระบุเหตุการณ์ สถานที่ วันเวลาที่เกิดเหตุ และ รายชื่อบุคคลที่จะมารับหลักฐานนั้น พร้อมทั้งเตรียมแผ่น CD/DVD มาบันทึกภาพ จำนวน 2 ชุด ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวประชาชนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น สอบถามเพิ่มเติมได้ที่กองพัฒนาระบบจราจร สำนักการจราจร และ ขนส่ง หรือ โทร. 0-2354-1237 ในวัน และ เวลาราชการ

Related link :IP camera โปรแกรม จับตาเทรนด์ไอทีปี 2014 ที่ผู้บริหารธุรกิจยุคดิจิตอลต้องไล่ตามให้ทัน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *